PM 2.5 กับร่างกฎหมายอากาศสะอาดในบริบทของประเทศไทย

การระเบิดที่โรงงานเม็ดพลาสติก ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายกับชุมชนโดยรอบแต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ในกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers หรือ PRTR)

นอกจากอุบัติภัยครั้งล่าสุดแล้ว ประเทศไทยยังประสบปัญหามลพิษทางอากาศเป็นประจำ เมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลเดือนธันวาคมปี 2563 มลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครติดอันดับต้น ๆ เมืองมลพิษอากาศย่ำแย่ที่สุดของโลกจากรายงานขององค์การอนามัยโลกรายงานว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางอากาศถึงปีละ 7 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศจากภาคพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และการเผาในที่โล่ง

ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์มลพิษทางอากาศให้ได้ผลและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน โครงการ “สร้างพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย” จึงได้จัดเวทีการเสวนาของนักวิชาการจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสาเหตุ ปัญหา อุปสรรค และทางออกเพื่อนำไปสู่การการร่างกฎหมายอากาศสะอาด นโยบายและแผนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง PM 2.5 ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศให้ดีขึ้นและยั่งยืนในอนาคตต่อไป

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00-16.00 น. ทางเพจ ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active