‘จะนะ’ ไม่ใช่แค่เรื่องของคนจะนะ…

"ถ้าครั้งนี้ไม่สำเร็จ ครั้งต่อไปจะยากขึ้น ทุกคนจะมีคดีติดตัว...จะนะไม่ใช่เรื่องของคนจะนะ" คือคำพูดของ "บังแกน" สมบูรณ์ คำแหง ที่ปรึกษาเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ที่เปิดใจว่าจะดันเพดานให้สุดในวันที่ 13 ธ.ค. เพราะ "เราจะกลับบ้านแล้ว" ขณะที่ก่อนหน้านี้ มีเครือข่ายภาคประชาชนทยอยออกแถลงการณ์ประกาศเข้าร่วมความเคลื่อนไหวกับเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นในวันนี้ ในนาม "ขบวนประชาชน 5 ภูมิภาค" เช่น ภาคี #Saveบางกลอย, เครือข่ายสลัม 4 ภาค, ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) และสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ฯลฯ . The Active ชวนดูภาพบรรยากาศ "เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น" ที่ปักหลักอยู่ริมถนนด้านหน้า UN ก่อนจะเคลื่อนขบวนอีกครั้งในวันนี้
ชาวบ้านในนาม "เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น" และแนวร่วมภาคประชาชน ใช้พื้นที่หน้า UN หรือ อาคารสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก เพื่อให้คนเมืองรู้จัก และเข้าใจความเป็น "จะนะ" ผ่านอาหาร ละคร เพลง วงเสวนา 
.
และใช้บ้านหลังใหม่ริมถนน เป็นที่รอเพื่อนมาสมบท เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ แล้วเริ่มต้นใหม่ในการดำเนินการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA
ชาวบ้านในนาม "เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น" และแนวร่วมภาคประชาชน ใช้พื้นที่หน้า UN หรือ อาคารสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก เพื่อให้คนเมืองรู้จัก และเข้าใจความเป็น "จะนะ" ผ่านอาหาร ละคร เพลง วงเสวนา 
.
และใช้บ้านหลังใหม่ริมถนน เป็นที่รอเพื่อนมาสมบท เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ แล้วเริ่มต้นใหม่ในการดำเนินการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA
โดยปกติ #เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จะละหมาด 5 ครั้ง/วัน โดยครั้งล่าสุด มีนักวิชาการมุสลิม และเครือข่ายสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้มาร่วมละหมาด เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา
.
ขณะที่วันนี้ (13 ธ.ค.) จะมีละหมาดฮายัตใหญ่หลังอาหารเที่ยง ก่อนเคลื่อนขบวนไปที่ ทำเนียบรัฐบาล
"บังแกน" สมบูรณ์ คำแหง ที่ปรึกษาเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เปิดใจ จะดันเพดานให้สุดในวันที่ 13 ธ.ค. เพราะ "เราจะกลับบ้านแล้ว" เงื่อนไข คือ รัฐบาลต้องทำตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อ 
.
1) รัฐบาลต้องตรวจสอบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ หรือ ศอ.บต. อีกครั้ง 
2) รัฐบาลจะต้องจัดให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วนตามหลักวิชาการ 
3) รัฐบาลต้องยุติการดำเนินคดีกับเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นทั้ง 37 คน ที่เกิดจากการสลายการชุมนุมหน้าทำเนียบฯ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา 
. 
"ถ้าครั้งนี้ไม่สำเร็จ ครั้งต่อไปจะยากขึ้น ทุกคนจะมีคดีติดตัว... จะนะไม่ใช่เรื่องของคนจะนะ แต่ทุกคนต้องช่วยกัน"
'กอเฉม สะอุ' ครูสอนศาสนาใน อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นหนึ่งในแกนนำทางศาสนาที่ถูกจับเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2564 และเขายังเป็นตัวแทนชาวบ้านที่ทำ MOU ร่วมกับตัวแทนรัฐบาล ในปี 2563
.
เขามองว่าการใช้ความรุนแรง การผิดสัญญา ผิดหลักศาสนา หากชาวมุสลิมเพิกเฉยต่อความไม่ถูกต้องถือเป็นบาป และสิ่งนี้ไม่ทำให้ชาวมุสลิมจะนะเจ็บปวดเท่านั้น ชาวมุสลิมทั่วประเทศก็เจ็บปวดเช่นกัน
หากนิคมอุตสาหกรรมจะนะเดินหน้าได้สำเร็จ ก็จะขยายไปสู่พื้นที่อื่น 
.
เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ย้ำว่าพวกเขาไม่ได้ขัดขวางการพัฒนา การให้ทำ SEA คือการยอมให้พัฒนา แต่ต้องศึกษาบนฐานข้อมูลเชิงวิชาการอย่างรอบด้าน และมีคนกลางที่เชื่อมั่นได้ว่า ทำได้ผลประโยชน์ตกอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ และส่วนรวม
วันนี้ (13 ธ.ค.) เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และแนวร่วมเครือข่ายภาคประชาชน ทยอยรื้อเต็นท์ที่พักหน้า UN และเก็บสัมภาระขึ้นรถ เพื่อรอเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล ในช่วง 15.00 น.
ขณะนี้ เริ่มปิดการจราจรบนถนนทุกสาย ที่มุ่งหน้าเข้าทำเนียบรัฐบาล ถ.พิษณุโลก ทั้งแยกสะพานชมัยมรุเชษฐ์ สะพานอรทัย และแยกมิสกะวัน แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์ ยังไม่ปิดการจราจร แต่มีตำรวจสแตนด์บาย
. 
เส้นทางสัญจรผ่านได้เฉพาะ ถ.ราชดำเนิน และ จากแยกนางเลิ้ง มาถึงได้ที่แยกถนนพระราม 5 
. 
การวางตู้คอนเทนเนอร์ครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่ ”เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” ประกาศเคลื่อนขบวนระดมรวมพลจากหลากหลายเครือข่ายที่จะเข้าร่วมสมทบการชุมนุมและจะเคลื่อนตัวไปหน้าทำเนียบรัฐบาล

Author

Alternative Text
AUTHOR

บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล

เรียนจบสายวิทย์-สังคมฯ-บริหารรัฐกิจฯ ทำงานไม่ตรงสาย และกลายเป็น "เป็ด" โดยไม่รู้ตัว สนใจการเมือง จิตวิทยาเด็ก วิธีคิดการมองสังคม และรักการสัมภาษณ์ผู้คน