จากมือถึงมือ: การแบ่งปันทางสังคม สู่นโยบายจ้างงานคนไร้บ้าน

รู้หรือไม่ว่า…คนไร้บ้านส่วนใหญ่มีงานทำ แต่เป็นงานที่ไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้ไม่มีเงินเก็บเพื่อยกฐานะของตัวเอง หรือการซื้อบ้าน – เช่าบ้าน



The Active ชวนอ่านบันทึกบทสนทนาในเวทีสาธารณะ “จากมือถึงมือ : การแบ่งปันทางสังคมสู่นโยบายการจ้างงานคนไร้บ้าน”

เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 คนไร้บ้านกลุ่มนี้ต้องตกงาน เพราะงานที่ทำส่วนใหญ่ เป็นงานรับจ้าง ร้านอาหาร และก่อสร้าง เมื่อตกงานก็ขาดรายได้ ไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อข้าวกิน

แม้เวลานี้วิกฤตโควิด-19 จะคลี่คลาย แต่คนตัวเล็กตัวน้อยยังตกงานและว่างงานอยู่จำนวนมาก นอกจากคนไร้บ้านแล้ว ยังมีคนจนตามพื้นที่ต่าง ๆ รอความช่วยเหลือจากรัฐ

โครงสร้างของรัฐจึงอยู่ในทุกมิติของประชาชน มีความจำเป็นต้องเข้าถึงความลำบากของประชาชนในทุกมิติ ทั้งคนตกงานที่กำลังรอเงินเยียวยา หรือว่าแรงงานในระบบประกันสังคม ที่ต้องการเงินชดเชยจากประกันสังคม หรือแม้แต่กระทั่งผู้ประกอบการอิสระ ยังคงต้องการแหล่งเงินกู้



‘มูลนิธิกระจกเงา’ เป็นที่รู้จักของสังคมในการตามหาคนหาคนหาย แต่ยังคงขับเคลื่อนงานเรื่องภัยพิบัติและคนไร้บ้านด้วย ช่วงวิกฤตโควิด จึงมีการระดมอาสาสมัครของมูลนิธิและรับสมัครทางออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือคนไร้บ้านกลุ่มนี้ โดยพิจารณาจากสิ่งที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อให้อยู่รอดได้ ก็คือ “อาหาร” มีการทำ “กล่องแบ่งปัน” ซึ่งเป็นอาหารสำหรับ 1 ครอบครัวสามารถอยู่ได้ 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ระยะยาว คนไร้บ้าน ควรต้องมีงานทำเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพ แคมเปญ “จ้างวานข้า” เป็นพื้นที่ให้คนไร้บ้านมีงาน เน้นงานทำความสะอาด ไม่ต้องใช้ทักษะสูงเพื่อสอดคล้องกับเกณฑ์อายุของคนไร้บ้าน ที่อยู่ประมาณ 50 ปี ไม่ค่อยแข็งแรง และไม่มีทักษะฝีมือ

จริง ๆ แล้วคนไร้บ้าน ก็เหมือนคนทั่วไปที่มีความต้องการหลากหลาย บางคนอยากมีงานทำ แต่บางคนไม่ได้อยากทำงาน เพียงแค่อยากมีชีวิตเพื่ออยู่รอดไปวันต่อวันเท่านั้น เพราะฉะนั้น การพยายามหาทางช่วยเหลือจึงต้องมีความหลากหลาย การแก้ไขปัญหาแบบเดียวไม่สามารถจะรองรับทั้งหมดได้

ส่วนโครงการบ้านปันสุข เป็นโครงการของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หนึ่งในกลไกที่เข้ามานับสนุนและช่วยเหลือคนไร้บ้าน ที่เดิมอาจกังวลเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ ของสถานสงเคราะห์ แต่บ้านปันสุขจะมีลักษณะยืดหยุ่นให้คนไร้บ้านเข้ามาทำกิจกรรมได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งนอนหลับ อาบน้ำ ซักผ้า ให้คนไร้บ้าน มีทางเลือกในการเข้าถึง ตอบสนองความต้องการได้


แม้วิกฤตโควิด-19 จะคลี่คลาย แต่คนตัวเล็กตัวน้อยยังตกงาน และว่างงานอยู่จำนวนมาก นอกจากคนไร้บ้านแล้ว ยังมีคนจนตามพื้นที่ต่าง ๆ รอความช่วยเหลือจากรัฐ

โครงสร้างของรัฐจึงอยู่ในทุกมิติของประชาชน ต้องเข้าถึงความลำบากของประชาชนในทุกมิติ ทั้งคนตกงานที่กำลังรอเงินเยียวยา หรือว่าแรงงานในระบบประกันสังคม ที่ต้องการเงินชดเชยจากประกันสังคม หรือแม้แต่กระทั่งผู้ประกอบการอิสระ ยังคงต้องการแหล่งเงินกู้

ความเดือดร้อนของประชาชนในหลายมิตินี้ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาสังคม จะต้องร่วมมือกันหาข้อต่อ ทำให้โครงสร้างตรงกลางแข็งแรงก็จะนำไปสู่นโยบายของรัฐที่ช่วยเหลือประชาชนได้

อีกประการหนึ่งคือต้องสื่อสารและสร้างช่องทาง การรับรู้ให้ชัดเจน ทำให้ความช่วยเหลือกระจายไปทั่วถึง


📌 ดูเพิ่ม

– จากมือถึงมือ : การแบ่งปันทางสังคม สู่นโยบายการจ้างงานคนไร้บ้าน https://www.facebook.com/theactive.net/videos/287057779393040/

– แจ้งพื้นที่ให้กลุ่ม “จ้างวานข้า” ไปทำความสะอาด
ได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา https://bit.ly/2BVbfqH

Author

AUTHOR