ฟังเสียงจากชายแดนใต้: ยุติกฎหมายพิเศษ สร้างความเท่าเทียมเป็นธรรม

กระบวนการสร้างสันติภาพพื้นที่ชายแดนใต้” ที่ปรากฏอยู่ใน MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล หนึ่งในหลักการสำคัญคือคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สอดคล้องกับเสียงของคนสามจังหวัดชายแดนใต้ที่สะท้อนผ่านเวที Post Election: ภาพอนาคตหลังเลือกตั้งที่ต้องการให้ยุติกฎหมายพิเศษ ลดอำนาจทหาร สร้างความเท่าเทียมเป็นธรรม เปิดพื้นที่เรียนรู้หลากหลาย สร้างสรรค์เพื่อเยาวชน รับฟังคนเห็นต่าง และยังมีอีกหลายประเด็นที่พวกเขาคาดหวังให้เกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมผ่านการแก้ปัญหาในระดับโครงสร้างและการสร้างกลไกที่ทุกคนมีส่วนร่วมจริง The Active สรุป รวบรวมในรูปแบบ Visual note

ไทยพีบีเอส และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดเวที Post Election ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง จ.ปัตตานี โดยมีตัวแทนภาคประชาสังคม นักกิจกรรมในพื้นที่ชายแดนใต้ ไม่น้อยกว่า 50 คน มองภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง และภาพอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ใน 6 กลุ่มประเด็น ประกอบด้วย การศึกษา, สุขภาพ, เศรษฐกิจ, สังคม, สิ่งแวดล้อม และ รัฐ ราชการ ความมั่นคง

การศึกษา

1.การศึกษาที่เท่าเทียมกัน เข้าถึงทุกสังคม คนมีคุณภาพไปไกลระดับประเทศ เข้าถึงทุกหย่อมหญ้า เข้าถึงที่ทุรกันดาร ลดความเหลื่อมล้ำ จัดการงบประมาณเป็นธรรม เสมอภาค เน้นการพัฒนาพื้นที่ ด้านการศึกษาปฐมวัยมีคุณภาพมากขึ้น มีมาตรฐาน รัฐเอกชน เท่ากัน เน้นการพัฒนาคน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงทุน กลุ่มเปราะบางเด็กกำพร้าที่ขาดโอกาส ไม่หลุดออกจากระบบ โรงเรียนในพื้นที่ได้รับการสนับสนุน ไม่อิงรายหัว แต่อิงบริบทของพื้นที่ที่ต้องเน้นการพัฒนา เพื่อดึงดูดให้มีครูคุณภาพในพื้นที่ มีการดูแลเด็กพิเศษ เด็กพิการ เด็กกำพร้าไม่ให้หลุดจากระบบ 45% มีทุนการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส

2. ครูผู้สอนมีคุณภาพสามารถดึงศักยภาพและผลักดันผู้เรียนสู่สากล การผลิตครูทันสมัยทันโลก ระบบการประเมินครูและสถาบันการศึกษายุติธรรมเป็นไปตามจริงเพื่อการพัฒนา ไม่หมักหมมปัญหาและซุกไว้ใต้พรม มีระบบประเมินครูและสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ครูอาจารย์ที่มีศักยภาพดึงศักยภาพเด็ก ผลักดันเด็กสู่สากล อย่าคาดหวังกับระบบเดิมยอมรับปัญหาเพื่อแก้ปัญหา ปรับระบบการประเมินตามความจริง มีสภาวิชาชีพครู องค์กรอิสระปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตครูที่ทันสมัย มีความหลากหลาย

3. หลักสูตรเฉพาะพื้นที่มีความเป็นพื้นถิ่น วัฒนธรรมและภาษาถิ่นได้รับการยอมรับ ชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษา สนับสนุนการวิจัยในพื้นที่ การวัดประเมินผลผู้เรียนมีความหลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การดูแลความปลอดภัยของเนื้อหาสำหรับเยาวชน ผลักดันภาษามลายู ในแง่วัฒนธรรม ความสวยงาม การศึกษาที่พัฒนาคน พัฒนาทรัพยากรบุคคล คนทำงานในพื้นที่ที่ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เท่าทันเหตุการณ์ปัญหาในพื้นที่ การศึกษาไม่ตายตัว มีความยืดหยุ่น  ชุมชนมีส่วนร่วมกับสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นทักษะเฉพาะด้านที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนใช้ภาษาพื้นถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้เรียนในสิ่งที่สนใจ เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะตัว เฉพาะด้าน เลือกเรียนตามที่ตนสนใจได้เอง ไม่จำกัดเฉพาะในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย พัฒนาทักษะชีวิต ให้คนใช้ชีวิตในสังคมได้ มีการยอมรับภาษาที่หลากหลาย และภาษาพื้นถิ่น เช่น ภาษามลายูไม่มองว่าเป็นภัยคุกคามแต่เป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ การวัดผลการเรียน การวัดประเมินผลที่หลากหลาย ตามบริบทพื้นที่ หลักสูตรที่สอดคล้องกับชุมชน คนในชุมชนมีส่วนร่วม โครงสร้างเข้าใจ เห็นใจ ลดบทบาท กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)

สังคม 

1. สังคมสันติสุขของการอยู่ร่วมกันของคนในพื้นที่ มีความสุขและปลอดภัย ทุกคนเข้าใจกัน ประชาชนรู้สึกปลอดภัยเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมมือกันของคนทุกฝ่าย แม้จะขัดแย้งกัน สังคมที่เท่าเทียม คุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนไม่โดนเอารัดเอาเปรียบ ได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบโดยไม่เลือกปฏิบัติ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สังคมไม่ยากจน ยอมรับความจริง มีคุณภาพ พัฒนาทุกส่วน คุณภาพชีวิตดี และความอยู่รอดของคนในชุมชน เข้าถึงสวัสดิการ ลดความเหลื่อมล้ำ สิทธิของเด็ก สตรี เท่าเทียมกัน มีความปลอดภัยในชีวิต ความมั่นคงทางอาหาร ปากท้อง สังคมที่มีความสุข มีการยอมรับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ซึ่งกันและกัน คนจนมีที่อยู่อาศัย

2. สังคมที่ผู้คนมีทักษะองค์ความรู้และทัศนคติในการดูแลตนเองและครอบครัวให้ไม่เกิดปัญหาสังคม ลดความรุนแรงในครอบครัว ลดปัญหายาเสพติด และการถูกชักจูงไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ลดความรุนแรงจากการใช้เด็กที่ขาดความอบอุ่นสร้างความรุนแรง ลดการปลูกฝังความขัดแย้งทางอุดมการณ์ในเด็ก ลดการใส่ความเป็นอื่นในเด็ก จำกัดความรับรู้ของคน ช่องว่างทางความคิด พ่อแม่ทำงานต่างถิ่น ปัญหาครอบครัว พัฒนาการศึกษา  ความรุนแรง คนใช้ยาเสพติด ลดลง แก้ ปรับทัศนคติของคนในพื้นที่

3. สังคมภาคพลเมือง ประชาชนมีความเป็นพลเมืองขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงกล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องและต่อต้านการคอร์รัปชันซื้อสิทธิขายเสียง รัฐกระจายอำนาจ ชุมชนมีกติกาจัดการตนเอง ผู้นำท้องถิ่นรู้หน้าที่ทำเพื่อประชาชน ระบบเชิงโครงสร้าง กฎหมาย เหมาะสมกับบริบทชุมชน  ระบบการประเมินเชิงโครงสร้าง จากส่วนกลาง เจ้าหน้าที่พัฒนาแบบ bottom up สังคมมีความเป็นพลเมือง ชุมชนออกแบบการจัดการตนเองได้ในทุกเรื่อง ทุกระดับจัดการความขัดแย้งได้เองในระดับพื้นที่ มีนโยบายกระจายอำนาจ ฐานชุมชนเข้มแข็ง มีกฎหมายรองรับ ผู้คนกล้าเรียกร้อง ส่งเสียงสู่การเปลี่ยนแปลง ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง ชุมชนกำหนดวิถีชีวิตของตน พัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นให้มีมาตรฐาน จากต้นทาง มหาลัยร่วมทำงานในพื้นที่  พัฒนาความคิด การพัฒนาสำหรับชุมชน เพื่อชุมชน ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้บทบาทหน้าที่ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชน แผน ชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิด ร่วมมือ เชื่อมโยงกันทุกภาคส่วน การเลือกผู้นำระดับชุมชน ไม่เอื้อเครือญาติ ลดปัญหาคอร์รัปชัน ภาษีคุณธรรม (ภาษีศาสนา) ระบบ ซากาด มาช่วยคนที่ทำภารกิจทางศาสนา การจัดการทั่วถึง เพื่อการกระจายความมั่งคั่ง ให้มีในระบบกฎหมาย

เศรษฐกิจ 

ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากฐานรากอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ใช้เทคโนโลยี และ Startup ขับเคลื่อน พัฒนาการเกษตร  GI ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศูนย์กลางอาหารฮาลาล เชื่อมการค้าชายแดนใต้และอาเซียน ได้แก่

1. เศรษฐกิจชุมชนจากฐานราก ยกระดับเพิ่มมูลค่าการเกษตร ท่องเที่ยว การค้าชายแดน Culture Creative Economy เชื่อมมาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่งออกทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชน เศรษฐกิจสุขภาพ เพิ่มมูลค่าผลผลิตในพื้นที่ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า Startup ที่เกิดใหม่ขับเคลื่อนสังคม ภาคเอกชนเข้มแข็ง พัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตรสมัยใหม่ ฟื้นฟูชุมชนอย่างยั่งยืน การพัฒนาธุรกิจยุคใหม่ในพื้นที่ เศรษฐกิจดีขับเคลื่อนสังคม คนมีรายได้เพิ่มคน ลดความเหลื่อมล้ำ เมืองผลไม้ ใช้ต้นทุนที่มีในพื้นที่ ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ผลิตภัณฑ์ GI แหล่งผลิตอาหารฮาลาลโลก ส่งเสริมเกษตรสมุนไพร (ฮาลาล เช่น หญ้าฝรั่น พริกไทย) เพิ่มมูลค่าจากสมุนไพรพื้นถิ่นและพืชเศรษฐกิจฮาลาล ไม่จำเป็นต้องตามกระแสหลัก เช่น การปลูกยางเพียงอย่างเดียว ยกระดับด้านการเกษตร ใช้งานวิจัยมาพัฒนาเศรษฐกิจได้จริง

2. ชุมชนเข้มแข็งรวมกลุ่มสร้างงานสร้างอาชีพ รองรับแรงงานฝีมือในพื้นที่ คนมีความรู้มีทักษะ และทัศนคติด้านการเงินการลงทุนในการพัฒนาธุรกิจการงาน มีอำนาจต่อรองค่าแรง มีกองทุนส่งเสริม เข้าถึงสถาบันทางการเงินได้ ความรู้ ทักษะชุมชน ชาวบ้าน ทัศนคติชุมชนเข้มแข็ง ฐานผลิตชุมชน ครบวงจร การจ้างงานคนในพื้นที่ ดึงศักยภาพคนรุ่นใหม่มาพัฒนาพื้นที่ กลับมาทำงานในพื้นที่ เพิ่มการจ้างงานแรงงานในพื้นที่ สนันสนุน ยกระดับ ฝีมือแรงงานฝีมือ ไม่ยิ่งทำยิ่งจน มีการดูแลเรื่องแรงงานและค่าแรงให้เป็นมาตรฐาน ไม่กดทับ รวมกลุ่มเชื่อมโยง สถาบันการเงินในพื้นที่ที่ใช้งานได้จริง เข้าถึงได้ ให้องค์ความรู้ในเชิงพัฒนาได้ ปรับทัศนคติการเงินการลงทุน การหารายได้ เพิ่มความรู้ความเข้าใจเชิงพัฒนา ผลักดันความเป็นผู้ประกอบการ มีกองทุนที่ชาวบ้านเข้าถึงได้ financial literacy case ตัวอย่าง จาก อาจารย์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี คือ Hijab local enterprise (รวมกลุ่มสตรี แม่หม้าย คนที่เคยทำงานที่ซาอุดิอาระเบีย) คนยิ่งทำยิ่งจนไม่กล้ากู้ รวมกลุ่มต่อรองค่าแรง แยกกระเป๋าเงินในบ้านกับธุรกิจ ตอนไหนควรลงทุนตอนไหนควรนิ่ง พัฒนาทางการตลาด แฟชั่น เทรนด์ matching มีเครือข่ายตัดเย็บต่อรองค่าแรง พัฒนาทักษะ Young Designer App การเงินอย่างง่าย  ลูกหลานต่อยอด ผ้าไหม ความเชื่อผิด ๆ เช่น ผ้าไหมมาจากน้ำลาย ซึ่งไม่ใช่ มีความบริสุทธิ์ ที่แก้ไขความคิดทางธุรกิจ BMC (รับ OEM ค่าแรงแค่ไหนที่รับได้) 

3. ภาครัฐทำงานจริงจังเชิงรุก โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีนโยบายค่าแรงเป็นธรรม สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนในพื้นที่ และป้องกันนายทุนเอาเปรียบประชาชน มีระบบกันการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา การทำงานที่จริงจังของภาครัฐ รัฐ/องค์กรทำงานเชิงรุก นโยบายค่าแรงเป็นธรรม รัฐสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน Fair economic นายทุนไม่เอาเปรียบ เกษตรกรไม่โดนกดราคา ไม่เน้นการพึ่งพารัฐ รัฐเข้าใจประเด็นการพัฒนาอย่างแท้จริง และส่งเสริมอย่างใส่ใจไม่มองข้าม หน่วยงานที่มีอยู่ทำงาน แก้ปัญหาได้จริง เปิดโอกาสให้มีนักลงทุนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ทำงานจริงจังร่วมกับคนในพื้นที่ได้ มีระบบรองรับ มีสิทธิทางปัญญา เข้าใจความต้องการของชาวบ้าน การสื่อสารของเจ้าหน้าที่รัฐ ชาวบ้าน ให้มีเยาวชนเป็นคนกลางในการสื่อสารเชื่อมโยงความร่วมมือ การทำงาน บูรณาการความร่วมมือประชาชน/องค์กรอิสระ / กลไกการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐอย่างโปร่งใส

รัฐ / ราชการ / ความมั่นคง 

1. กระจายอำนาจในทุกมิติ ชุมชนมีอำนาจจัดการตนเองตามหลักประชาธิปไตย มีกฎหมายรองรับผ่าน 4 เสาหลัก (ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ) มีสภาประชาชน ลดอำนาจทหารให้การเมืองนำ รัฐยอมรับอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างสมดุลระหว่างการเมือง การทหาร และเสรีภาพ การกระจายอำนาจในทุกมิติ ไม่คลุมเครือ พื้นที่กำหนดตัวเองในการพัฒนา มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ลดอำนาจทหาร ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตย เอื้อต่อการพูดคุยสันติภาพ นักการเมืองเห็นพลังของคนทำงานจริง รับฟังประชาชน และพัฒนาไปร่วมกันได้ นักการเมืองทำงานเพื่อประชาชน หนุนพลังประชาชน ปรับโครงสร้าง สภา รัฐ ไม่ใช่ทหารควบคุม มีความเป็นอิสระ ไม่มีอำนาจฝ่ายเดียวกระจายอำนาจทุกกลุ่ม สันติภาพ อิสรภาพ ไม่ถูกครอบงำ โครงสร้างของรัฐที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาคนในภาพรวม เครื่องมือของรัฐในการจัดการบริหารที่ลดความขัดแย้ง มีเป้าหมายร่วม ทำโดยเห็นภาพบริบทพื้นที่ (ตัวอย่างพื้นที่ยะหริ่ง มีสภาประชาธิปไตย สร้างด้วยการมีส่วนร่วมของทุกคน ผ่านสี่เสาหลัก- ผู้นำท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) -ท้องถิ่น (อบต.) -ผู้นำศาสนา – ผู้นำธรรมชาติ (คนที่เป็นที่เคารพของคนในชุมชน) มีสภาองค์กรชุมชน

2.ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขับเคลื่อนนโยบาย/พ.ร.บ.กระบวนการสันติภาพให้มีความสเถียรมั่นคง กฎหมายรับรอง ใช้งานได้จริง กระบวนการพูดคุยต่อเนื่องและมีทางออกด้วยการบูรณาการความร่วมมือ การปรับความคิดของทุกฝ่าย ไม่กดทับ มีนโยบายกระบวนการเจรจาเป็นที่รับรู้ของสภา ออกมาเป็น พ.ร.บ.กระบวนการสันติภาพ เป็น public มีกรรมาธิการ อัปเดต ออกเป็นมาตรฐานระดับประเทศ ให้เรื่องไม่หาย ใช้ได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย การเจรจาสันติภาพที่เสถียร ต่อเนื่อง มีกฎหมายรองรับ เกิดขึ้นจากเสียงประชนอย่างแท้จริง สมช.ปรับกระบวนการพูดคุย ผลักดันกระบวนการสันติภาพ การปรับของคนทุกฝ่าย ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถอนกฎหมายพิเศษ ถอนกำลังทหาร เพื่อให้สังคมองค์รวมพัฒนาขึ้น ลดอำนาจทางการทหาร การเมืองนำการทหาร บูรณาการความร่วมมือ กระบวนการยุติธรรมชุมชน ปรับปรุง กฎหมายไม่กดทับประชน

3. รัฐบริหารราชการอย่างจริงใจ บุคลากร เจ้าหน้าที่รัฐ มีความรู้ความสามารถเข้าถึงยอมรับ และรับฟังประชาชนตามบริบทวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ไม่ดึงคนที่มีปัญหามาดูแลประชาชน พัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องเป็นมีความสามารถ ไม่ดึงแต่คนมีปัญหามาลงในพื้นที่ การบริหารราชการเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง รัฐจริงใจ ไม่ให้เกิดการกดขี่ประชาชน  ความโปร่งใสในทุกมิติ รับฟังประชาชน เป็นธรรม สร้างให้เกิดการยอมรับ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของคนในพื้นที่สามจังหวัด

สุขภาพ 

1. หลักประกันสุขภาพตั้งแต่แรกเกิด ระบบสุขภาพมาตราฐานเดียวไม่เหลื่อมล้ำ คนทุกกลุ่มเข้าถึงสิทธิ การบริหารจัดการการเข้าถึงสวัสดิการสุขภาพไร้รอยต่อ มีระบบการบริการและส่งต่อที่ดี ยกระดับ รพ.สต. สาธารณสุขชุมชนมีอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน การบริหารจัดการ ระบบนโยบายเข้าถึงสวัสดิการการบริการไร้รอยต่อ (ไปรับการบริการที่สังกัดไหนก็ได้) มีความเป็นธรรม รักษาฟรี  มีสุขภาวะ สุขภาพดี ระบบหลักประกันสุขภาพ มีความเท่าเทียมไม่เหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม หน่วยบริการทางสาธารณสุขมีมาตรฐาน รัฐบริการฟรีด้านสุขภาพ ศูนย์บาท คนทุกกลุ่มเข้าถึงสิทธิ ระบบสุขภาพมาตราฐานเดียว หลักประกันสุขภาพตั้งแต่เกิด สวัสดิการผู้สูงอายุ ที่ไม่ถูกกำหนดด้วยอายุ แต่ตามจำนวนเงินที่คนอยู่ได้ ระบบการส่งต่อมีระบบดี มีการบริการ และอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานในชุมชน

2. ประชาชนตื่นตัวในการดูแลสุขภาพตนเองไม่เน้นการพึ่งหมอ กระบวนการส่งเสริมป้องกันโรคได้รับการสนับสนุนทำงานร่วมภาคประชาสังคม องค์ความรู้ทางสุขภาพและโภชนาการถูกนำไปปฏิบัติในระดับครอบครัวและบุคคล ลดภาวะทุพโภชนาและโรค NCDs การให้องค์ความรู้ งานวิจัยขับเคลื่อน คนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพที่ดี ประชาชนตื่นตัวสุขภาพของตนเอง ชุมชน ตำบล จัดการสุขภาพ มีนโยบายที่ต่อเนื่อง ประเด็นสุขภาพจิตของเด็ก จิตเวช ที่พ่อแม่ได้รับผลกระทบ ประชาชนตื่นตัว ดูแลสุขภาพตนเองได้ดี ประเด็นยาเสพติดที่คนในชุมชนต้องตื่นตัว กระบวนการส่งเสริมป้องกันโรค ผ่านการสนับสนุนภาคประชาสังคม ยกระดับแพทย์ทางเลือกให้มีคุณภาพ ขึ้นทะเบียนให้มีมาตรฐาน เติมความรู้ให้คนในพื้นที่ได้ จัดการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานได้ เช่น คลอดกับหมอตำแยได้ ทัศนคติของพ่อแม่ การเลี้ยงดูคือเหตุปัจจัยสำคัญต่อโภชนาการเด็ก พ่อแม่มีวิธีคิดในการดูแลเรื่องอาหารของลูก การเอาใจใส่ของครอบครัว (ปัญหาจากความยากจน พื้นที่การเข้าไม่ถึงอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ) โครงการโภชนาการในโรงเรียน ลดปัญหาเด็กขาดสารอาหาร ทุพโภชนาการ ป้องกันโรคNCD ความมั่นคงทางอาหาร

3. กระจายอำนาจได้จริง ทั้งเรื่องคน งาน งบประมาณ คำนึงถึงความพร้อมและความต้องการของคนทำงาน ชุมชนร่วมออกแบบระบบสุขภาพ องค์กรในพื้นที่เข้มแข็ง มีพื้นที่สุขภาวะสำหรับชุมชนที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบระบบสุขภาพ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดเมืองสุขภาวะ กติกาชุมชน องค์กรในพื้นที่เข้มแข็ง เมืองแห่งสุขภาวะ พื้นที่สุขภาวะของชุมชน พร้อมเอื้อต่อการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน กระจายอำนาจได้จริงคุยกันได้ทั้งเรื่องคนเรื่องงาน ตามความพร้อมและความต้องการของคนทำงาน กองทุน EMS การแพทย์ฉุกเฉิน กระจายงาน งบฯ และคน

สิ่งแวดล้อม 

1. นโยบายการพัฒนาและดูแลสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน รักษาความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ การจัดการของเสียและขยะในระดับท้องถิ่นถูกหลักปฏิบัติและหลักวิชาการ ธรรมชาติสะอาด บริสุทธิ์ ดิน น้ำอากาศ อุดมสมบูรณ์ การพัฒนาที่ดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ปลอดสารเคมี  นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ปฏิบัติได้จริง (แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง) รัฐพัฒนาอุตสาหกรรมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ท้องถิ่นมีกระบวนการจัดการขยะ ของเสีย อย่างถูกหลักปฏิบัติวิชาการ 

2. ประชาชนมีจิตสำนึก เกิดการตระหนักรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล จนขยายวงกว้างไปยังชุมชน สังคม นโยบายเร่งด่วนเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างทันท่วงที ให้ระบบนิเวศน์กลับมาอุดมสมบูรณ์ การปลูกจิตสำนึกการดูแลสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เยาวชน ผู้คนตระหนักด้านผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  ประชาชน รู้ว่าโลกกำลังเกิดปัญหาที่ต้องการการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วนอย่างไร รู้ว่ามีเวลาจำกัด และเราต้องทำอะไรบ้าง เช่น ประเด็นคาร์บอน คนเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อขยายเป็นสโนว์บอลเป็นประเด็นขยายวงกว้างมากขึ้น จนเกิดการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง เกิดนโยบายที่จัดการปัญหาได้ ระบบนิเวศดี

3. ท้องถิ่นและประชาชาชนมีส่วนร่วมกำหนดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการเข้าถึงทรัพยากรอย่างทั่วถึงเสมอภาค ประชาชนกล้าลุกขึ้นสู้ รัฐดูแลให้ทุนเอกชนไม่คุกคามชาวบ้านและไม่เอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนกำหนดในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงทรัพยากรอย่างเสมอภาค คนไม่กลัว กล้าลุกขึ้นมาสู้ ประชาชนเลือกผู้นำที่ไม่กดทับคนในพื้นที่ มีการจัดการที่คำนึงถึงคนในพื้นที่ ไม่เอื้อเอกชน จัดการให้ดี Case การระเบิดภูเขา บาตั๋น (หมู่บ้านคลุกฝุ่น คนต้องอพยพออกนอกพื้นที่โดยไม่มีใครดูแล) ทรัพยากรถูกส่งออกไปต่างประเทศ รายได้ไม่ถึงชาวบ้าน

Author

Alternative Text
AUTHOR

อรวรรณ สุขโข

นักข่าวที่ราบสูง ชอบเดินทางภายใน ตั้งคำถามกับทุกเรื่อง เชื่อในศักยภาพมนุษย์ ขอเพียงมีโอกาส

Alternative Text
VISUAL NOTE TAKER

วรรวิสาข์ อินทรครรชิต

นักออกแบบ และนักการศึกษา ผู้สนุกกับประเด็นและเรื่องราวรอบโลก ชอบทำเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย ผ่านศิลปะและการสื่อสารด้วยภาพแบบ Visual note, Visual Recording และวิดีโอ เป็นนักเจื้อยแจ้วแห่ง FB: Mairay May