
รถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา แล่นผ่านชุมชนบุญร่มไทร พาผู้โดยสารจากภาคกลางไปภาคตะวันออก ช่วงเย็น ๆ ก่อนตะวันตกดิน

ที่นอนเก่าเก็บได้ ขนาดราว ๆ 5 ฟุต ใหญ่พอดีที่ซุกตัวนอน แต่ห้องพักขนาดนี้ก็เล็กไปสำหรับตู้เก็บของหรือแม้แต่ตู้เสื้อผ้า

แม้จะเป็นแค่ซอกมุมเล็ก ๆ แต่อิงอาศัยได้ทั้งคน ทั้งต้นไม้ จนกลายเป็นที่พึ่งทางใจและทางการเงิน (ขูดเลขขอหวย)

ฟาร์มเป็ด-ห่าน ที่มุมหลังบ้านสังกะสี โลเคชันริมน้ำราคาดี กับชานไม้ไผ่ที่ผุผัง

เดินออกจากบ้านก็เจอทางรถไฟ แต่ชาวชุมชนบุญร่มไทรยังไร้ที่ไป จากนโยบายไล่รื้อบ้านริมทางรถไฟ “จะอยู่ก็ไม่ได้ จะออกไปก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน”

แปะภาพบ้านในฝันไว้ที่ข้างฝา หวังว่าวันหนึ่งจะได้มีเป็นของตัวเอง แต่วันนี้ทำดีที่สุดแค่เพียงปูกระเบื้องและทาสี

บ้านสีครีมที่มีขนาดเท่าห้องน้ำ ส่วนห้องน้ำไม่มี... ล้างจานเสร็จก็อาบน้ำตรงนี้ ที่ข้างทางรถไฟ

ตากผ้าสาธารณะ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นที่เขตรถไฟ และทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามีบ้านพร้อมที่ดินขายอยู่ใกล้ ๆ แต่คนจนเมืองไม่มีเงินซื้อ

แม่ลูกสี่ – เรียนออนไลน์ผ่านทีวี ในบ้านที่ไม่มีแม้ช่องระบายอากาศ/หายใจ

ป้ายหาเสียงที่เอามาใช้ปะฝาบ้าน ยืนยันว่า มีแต่คนหาเสียง แต่ไม่มีใครใยดี

ร้านเย็บปักถักร้อยชื่อดังของชุมชนริมทางรถไฟ ราคาถูกกว่าร้านริมถนนหลายเท่าตัว

“รูปที่มีทุกบ้าน” ปล.ขอบคุณผู้สนับสนุนการปูพื้นบ้านโดยไม่ได้ตั้งใจ

ยุ้งนอนของหญิงชรากับความกังวลว่า “พรุ่งนี้จะไม่มีที่ซุกหัวนอน”

ห้องครัวยังมีไฟ ที่นี่มีคนอยู่ ชาวชุมชนหวังว่ารัฐจะมองเห็น และไม่ทิ้งพวกเขาไว้ข้างหลัง

กลางตึกสูงศิวิไลซ์ในเมืองใหญ่ ยังมีซอกหลืบที่ซ่อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมเอาไว้