สร้างสมดุล…คน vs ลิง (ลพบุรี) กับ หมอเตย

ปัญหา ‘คน’ เดือดร้อนเพราะ ‘ลิง’ ที่ลพบุรี ยืดเยื้อกันมานาน สุดท้ายอาจใกล้ได้ข้อสรุปการแก้ปัญหา ที่คงหนีไม่พ้นการจัดที่ทางให้กับลิงได้ไปอยู่อย่างเหมาะสม

แต่อีกมุม ‘หมอเตย - จุฑามาศ สุพะนาม’ สัตวแพทย์ที่คลุกคลีกับลิงลพบุรีมายาวนาน ก็สะท้อนให้สังคมได้ร่วมกันฉุกคิด ว่า ไม่เคยมีสูตรสำเร็จ หรือไม่มีตำราใดที่บอกว่า ลิงที่เติบโตมาท่ามกลางเมืองหรือใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์ จะต้องมีวิถีชีวิตแบบไหน ?

เพราะธรรมชาติของลิงลพบุรี มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของคนที่กระทำต่อพวกมัน การที่ลิงได้รับอาหารแบบมนุษย์ ก็ทำให้การเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ จนทำให้ลพบุรีมีประชากรลิงมากขึ้น นำมาสู่ปัญหาการใช้พื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างลิงกับคน

การจับพวกมันทำหมันเพื่อควบคุมจำนวน อาจไม่ใช่หนทางที่จะจบปัญหานี้ แต่สำคัญคือต้องมีพื้นที่รองรับ และสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมให้กับลิงด้วย ซึ่งหมอเตยเองก็เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่เข้ามามีส่วนดูแลและแก้ไขเรื่องนี้

The Active ชวนหมอเตย ในฐานะสัตวแพทย์ที่ดูแลลิงมาตั้งแต่ปี 2546 เคยเป็นสัตวแพทย์คนแรกประจำโรงพยาบาลลิงในสวนสัตว์ลพบุรี จนในที่สุดต้องมาเปิดคลินิกรักษาลิงที่เจ็บป่วย เป็นที่มาของความผูกพัน เธอจึงเชื่อว่า การแก้ปัญหาลิงที่ยั่งยืน จำเป็นต้อง ‘สร้างสมดุล’ ระหว่างคนกับลิงให้เกิดขึ้นจริง
‘หมอเตย - จุฑามาศ สุพะนาม’ สัตวแพทย์หญิงที่ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการดูแลลิง โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.ลพบุรี ที่เธอมีความผูกพันธ์มากเป็นพิเศษ ตลอดชีวิตการทำงานหมอเตยพยายามศึกษา และสังเกตพฤติกรรมลิง เพื่อเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับพวกมัน
‘หมอเตย - จุฑามาศ สุพะนาม’ สัตวแพทย์หญิงที่ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการดูแลลิง โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.ลพบุรี ที่เธอมีความผูกพันธ์มากเป็นพิเศษ ตลอดชีวิตการทำงานหมอเตยพยายามศึกษา และสังเกตพฤติกรรมลิง เพื่อเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับพวกมัน
เราได้มาถึง ‘คลินิกหมอเตยสัตวแพทย์’ นอกจากรักษาสัตว์ทั่วไป พื้นที่ของคลินิกยังถูกแบ่งไว้เพื่อรับดูแลรักษาลิงที่ได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะ ทั้งลิงในลพบุรี และลิงที่ถูกส่งตัวมาจากพื้นที่อื่น ๆ โดยมีกรงสำหรับฟื้นฟูลิงที่รับมาดูแลจนกว่าจะหายเจ็บป่วย ก่อนนำส่งกลับคืนฝูง
เราได้มาถึง ‘คลินิกหมอเตยสัตวแพทย์’ นอกจากรักษาสัตว์ทั่วไป พื้นที่ของคลินิกยังถูกแบ่งไว้เพื่อรับดูแลรักษาลิงที่ได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะ ทั้งลิงในลพบุรี และลิงที่ถูกส่งตัวมาจากพื้นที่อื่น ๆ โดยมีกรงสำหรับฟื้นฟูลิงที่รับมาดูแลจนกว่าจะหายเจ็บป่วย ก่อนนำส่งกลับคืนฝูง
‘ลุง’ ลิงกังสูงวัยตัวนี้ หมอเตยรับมาดูแลที่คลินิก หลังจากที่มันประสบอุบัติเหตุถูกรถชน จนขาบาดเจ็บ
แต่ละเดือนจะมีลิงหมุนเวียนเข้ามารักษาในคลินิกหมอเตย เกือบ 10 ตัว โดยประชาชนที่พบเห็น พวกมันบาดเจ็บ จะนำมาส่งให้คลินิกนำไปดูแลรักษาต่อ
‘จ๊าบ’ ลิงน้อย กับ ‘แม่’ ซึ่งเป็นคำที่หมอเตยใช้เรียกแทนตัวเองกับเหล่าลิงทั้งหลาย จ๊าบถูกรับมารักษาตั้งแต่แรกเกิด หมอเตยเล่าให้ฟังว่า คนกวาดขยะเทศบาลเจอจ๊าบตกลงมาบนถนน ทั้งที่มีสายรกติดตัวอยู่ แต่ว่าตามหาแม่แท้ ๆ ไม่เจอ หมอเตยรับจ๊าบมาดูแลตั้งแต่นั้นมา จ๊าบติดหมอเตยมาก จะคอยดึงมือ ดึงเสื้อตลอด และหวงเวลามีคนมาเข้ามาใกล้หมอเตยที่เปรียบเสมือนแม่ของมัน
‘จ๊าบ’ ลิงน้อย กับ ‘แม่’ ซึ่งเป็นคำที่หมอเตยใช้เรียกแทนตัวเองกับเหล่าลิงทั้งหลาย จ๊าบถูกรับมารักษาตั้งแต่แรกเกิด หมอเตยเล่าให้ฟังว่า คนกวาดขยะเทศบาลเจอจ๊าบตกลงมาบนถนน ทั้งที่มีสายรกติดตัวอยู่ แต่ว่าตามหาแม่แท้ ๆ ไม่เจอ หมอเตยรับจ๊าบมาดูแลตั้งแต่นั้นมา จ๊าบติดหมอเตยมาก จะคอยดึงมือ ดึงเสื้อตลอด และหวงเวลามีคนมาเข้ามาใกล้หมอเตยที่เปรียบเสมือนแม่ของมัน
ลิงแสมตัวน้อยเหล่านี้ เมื่อร่างกายแข็งแรงแล้ว สักวันหนึ่งก็ต้องกลับคืนฝูง สิ่งที่หมอเตยเป็นห่วง คือ การส่งคืนแล้วพ่อแม่ลิงไม่ยอมรับลูกของมันคืน แต่การอยู่กับฝูงลิง ก็ควรปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน… ดังนั้นการหน้าที่ของหมอเตย คือการฟื้นฟูลิงให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ที่สุด
ลิงแสมตัวน้อยเหล่านี้ เมื่อร่างกายแข็งแรงแล้ว สักวันหนึ่งก็ต้องกลับคืนฝูง สิ่งที่หมอเตยเป็นห่วง คือ การส่งคืนแล้วพ่อแม่ลิงไม่ยอมรับลูกของมันคืน แต่การอยู่กับฝูงลิง ก็ควรปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน… ดังนั้นการหน้าที่ของหมอเตย คือการฟื้นฟูลิงให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ที่สุด
‘ลิงตึก’ ที่ปีนป่ายตามอาคารบ้านเรือนของชาวลพบุรี ย่านโบราณสถานอย่างพระปรางค์สามยอด กลายเป็นภาพชินตาของผู้คนในพื้นที่ไปแล้ว แต่อาจเป็นภาพที่คนภายนอกมองว่าไม่เหมาะสมที่ลิงจะใช้พื้นที่ร่วมกับคน แต่ด้วยปัญหาประชากรลิงที่สะสมมายาวนาน ทำให้หน่วยงานในท้องถิ่นต้องหามาตรการเข้ามาแก้ไข
“ใครบุกรุกใครกันแน่ ?” เป็นสิ่งที่สังคมตั้งคำถาม และถกเถียงกัน พื้นที่ใกล้แหล่งประวัติศาสตร์นี้ อาจเป็นถิ่นที่อยู่ของลิงมาก่อนคน… เพราะพฤติกรรมของลิงสร้างความรำคาญให้คน ในมุมนี้หมอเตย บอกว่า “ลิงก็เลียนแบบพฤติกรรมมาจากคนนั่นแหละ” เมื่อเราแสดงท่าทีต่อลิงแบบไหน ลิงก็จะแก้คืนแบบนั้น
ไม่เพียงเฉพาะลิงในตัวเมืองลพบุรี แต่ยังมีอีกหลายที่ ที่มีลิงอาศัยอยู่ หมอเตย เรียกลิงบางส่วนว่า ‘ลิงพลัดถิ่น’ คือ ลิงที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้นตั้งแต่ต้น แต่แอบถูกขนย้ายเข้าไป เมื่อลองไปสำรวจกลุ่มลิงที่ ‘วัดพระบาทน้ำพุ’ ปรากฎว่า มีลิงอาศัยอยู่ และวัดกลายเป็นที่พึ่งของลิงพลัดถิ่น
‘วัดพระบาทน้ำพุ’ กำลังจะเป็นอีกหนึ่งต้นแบบพื้นที่รองรับลิง ด้วยความเมตตาของ ‘พระราชวิสุทธิประชานาถ’ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ซึ่งหมอเตย ยังได้เข้าไปด้วยเหลือดูแลเรื่องการสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับพวกมัน เพื่อฝึกพฤติกรรมลิงทั้งเรื่องการกิน และการอยู่ร่วมกับคนอีกด้วย
‘วัดพระบาทน้ำพุ’ กำลังจะเป็นอีกหนึ่งต้นแบบพื้นที่รองรับลิง ด้วยความเมตตาของ ‘พระราชวิสุทธิประชานาถ’ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ซึ่งหมอเตย ยังได้เข้าไปด้วยเหลือดูแลเรื่องการสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับพวกมัน เพื่อฝึกพฤติกรรมลิงทั้งเรื่องการกิน และการอยู่ร่วมกับคนอีกด้วย
ลิงที่วัดพระบาทน้ำพุ มีพฤติกรรมที่ต่างจากลิงในตัวเมืองลพบุรี เพราะจะได้รับอาหารที่เป็นพืชผัก ซึ่งทางวัดตั้งใจว่า หากเตรียมความพร้อมได้ระดับหนึ่งแล้ว ก็อยากจะแก้ไขวิกฤตลิง ด้วยการรับลิงจาก 11 อำเภอในลพบุรีมาไว้ที่นี่ด้วย โดยโครงการอาจใช้เวลา 5 ปี กว่าจะถึงขั้นที่สมบูรณ์แบบ
อนาคตของ ‘ลิง’ กลายเป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นคนตัดสินใจ ว่า พวกมันควรอยู่ตรงไหน ? อยู่อย่างไร ? แต่สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงด้วย คือการทำความเข้าใจว่าลิง เป็นเพียงสัตว์ ที่ได้รับอิทธิพลและถูกแต่งแต้มลักษณะนิสัยจากมนุษย์

Author

Alternative Text
AUTHOR

เมธาวี ทวีผล

เรียนมานุษยวิทยา สนใจเรื่องราวทางสังคม อยากปล่อยใจสู่เสรี

Alternative Text
PHOTOGRAPHER

เชาวริน เกิดสุข

Alternative Text
GRAPHIC DESIGNER

วราพร อัมภารัตน์