ต้องรอด

ในวันที่เศรษฐกิจเร่ิมฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 แต่สำหรับครอบครัวยากจนและเปราะบาง มันอาจสายเกินไป เมื่อเด็กสาวชาวอาข่าวัย 18 ปี ตัดสินใจทิ้งความฝันที่จะเรียนจนจบปริญญาตรี หันหน้าเข้าโรงงาน ทำงานแลกค่าแรงขั้นตำ่ เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว . กลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก ละทิ้งดอยสูง มุ่งหน้าสู่เมืองใหญ่ ด้วยความหวังว่าจะมีรายได้ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น . แต่จำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารถก้าวผ่านความยากจนได้ ต้องกลายมาเป็นคนจนเมือง
“เห็นเพื่อนไปโรงเรียน เราก็ยากไป” เสียงสะท้อนของ “กระต่าย” เด็กสาวชาวอาข่าวัย 18 ปี
.
เธอเพิ่งจบการศึกษา ระดับชั้น ปวช. ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.79 แต่เพราะต้องหารายได้เลี้ยงครอบครัว เธอตัดสินใจไม่เรียนต่อ ทำให้ความฝันที่จะเรียนจนจบปริญญาตรี ต้องหยุดชะงักลง
สำหรับ “กระต่าย” การมีปริญญา หรือ ประกาศนียบัตร เปรียบเสมือนใบเบิกทาง สำหรับครอบครัวยากจน
.
“ถ้าเราไม่มีการศึกษา ก็จะถูกคนดูถูกว่าเรียนจบแค่นี้จะมีปัญญาไปทำอะไรได้ ก็เลยรู้สึกว่าอยากเรียนให้สูง”
แต่ละวัน “อรทัย มาเยอะ" หรือ กระต่าย ต้องขี่มอเตอร์ไซค์จากบ้านใน อ.เมืองเชียงใหม่ ไปทำงานในโรงงานที่ อ.สารภี ระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร เพื่อแลกกับค่าแรงขั้นต่ำ
.
แม้ระยะทางจะไกล แต่เพราะปัญหาเป็นช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้เลือกงานไม่ได้
“อามือ มาเยอะ” แม่ของกระต่าย ทิ้งชีวิตบนดอย มาเช่าบ้านในเมืองเชียงใหม่ อยู่กับลูก ๆ และแม่วัยชรา หาเลี้ยงชีพด้วยการขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว เคยมีรายได้คืนละกว่า 1,000 บาท
.
แต่ทุกอย่างหยุดชะงักเพราะโควิด-19 ระบาด รายได้กลายเป็นศูนย์
“อามือ มาเยอะ” แม่ของกระต่าย ทิ้งชีวิตบนดอย มาเช่าบ้านในเมืองเชียงใหม่ อยู่กับลูก ๆ และแม่วัยชรา หาเลี้ยงชีพด้วยการขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว เคยมีรายได้คืนละกว่า 1,000 บาท
.
แต่ทุกอย่างหยุดชะงักเพราะโควิด-19 ระบาด รายได้กลายเป็นศูนย์
น้ำตาแห่งความเจ็บปวดของผู้เป็นแม่ ที่ต้องให้ลูกสาวหยุดเรียนกลางคัน
.
สำหรับครอบครัวที่ยากจนและเปราะบาง พวกเธอไม่มีทางเลือกมากนัก
อามือ พยายามดิ้นรนหารายได้เพิ่ม จากการปลูกผักขาย เธอทำทุกอย่างเพื่อพยุงครอบครัวให้มีชีวิตรอด ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19
“ประทุม อายิ" หรือ อาชุม ก่อนหน้านี้เธออยู่ในสภาพไม่ต่างจาก “อามือ” รายได้หลักจากการขายของที่ระลึก หายไปพร้อมกับนักท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันเธอได้โอกาสทำงานในสวนผักคนเมือง เป็นความหวังต่อลมหายใจให้เธออีกครั้ง
พื้นที่ทิ้งขยะเก่า ที่ถูกเปลี่ยนเป็นสวนผักขนาด 2.5 ไร่ นอกจากจะเป็นแบบอย่างของการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะเพื่อประชาชน สวนผักคนเมือง ยังเปิดโอกาสให้ครอบครัวเล็ก ๆ ได้กลับมาอยู่กันอย่างพร้อมหน้าอีกครั้ง
เทศบาลเมืองเชียงใหม่จ่ายเงินค่าแรงให้อาชุมวันละ 325 บาท เพื่อให้ปลูกผัก ผลิตอาหารปลอดภัยไปเลี้ยงคนในชุมชนที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ
เมืองเชียงใหม่ที่เคยหลับใหลต่อเนื่องมานานเกือบ 2 ปี จากการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันเริ่มมีนักท่องเที่ยวบ้างแล้ว เศรษฐกิจอาจจะเริ่มฟื้นตัว แต่สำหรับบางครอบครัวก็อาจสายเกินไป

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active