รวมข้อเสนอ ‘คดีตากใบ’ ก่อนหมดอายุความอีก 2 ปี

18 ปี รำลึกตากใบ รัฐไทยไม่ยอมจำ ภาคีเครือข่ายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มีข้อเสอต่อภาครัฐ ให้ปฏิบัติตามหลักสากลและเป็นธรรมต่อผู้สูญเสีย ก่อนหมดอายุความทางกฎหมาย หวังไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำในอนาคต

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ร่วมกับภาคีสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย กลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกิจกรรม รำลึกตากใบ รัฐไทยไม่ยอมจำ และรวมจัดวงเสวนา หัวข้อ “17 ปี ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน และกฎหมายพิเศษ” เมื่อวันที่ 25 ต.ค 2565 โดยมีการกล่าวถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้  พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมายพิเศษ ตลอด 17 ปีที่ผ่านมา

ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ นักวิชาการว่าด้วยงานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทวาทะกรรมสำนึกชาตินิยม-พลังของความทรงจำร่วมและความรู้สึกร่วมกันเป็นเหยื่อผ่านมุมมองเยาวชน ปาตานี/ชายแดนใต้ ระบุ ตอนนี้เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้นที่อายุความจะสิ้นสุด ซึ่งเป็นเวลาที่น้อยมาก จึงแนะรัฐ ยอมรับผิดในการกระทำที่ผิดและเอาคนที่กระทำผิดมาลงโทษ เพราะตากใบเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ ในความทรงจำร่วม ของคนในพื้นที่ และหากรัฐอยากได้ความชอบธรรมในพื้นที่ ก็ควรให้ความชอบธรรมต่อสิ่งที่เกิดขึ้น 

ด้าน ฐิตินบ โกมลนิมิ บรรณาธิการหนังสือเสียงของความหวังเรื่องเล่าผู้หญิงเพื่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ หนังสือหลังรอยยิ้มเรื่องเล่าเพื่อพลิกฟื้นตัวตรงและชุมชนชายแดนใต้ กล่าวว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์มีตัวเลขเด็กกำพร้าที่เกิดจากตัวเลขผู้เสียชีวิต ตอนนั้น 64 ราย แต่เมื่อผ่านช่วงเวลามาแล้ว ปรากฏว่าไม่มีการสืบค้นว่าพวกเขาเหล่านั้นได้มีการเยียวยาบาดแผลทางใจอย่างไร 

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของคดีจากเหตุการณ์ตากใบมีทั้งหมด 4 คดี

คดีแรก เจ้าหน้าที่รัฐสั่งฟ้อง ผู้ชุมนุมที่รอดชีวิต 59 ราย ซึ่งภายหลังมีการยกฟ้อง

คดีที่สอง ญาติผู้เสียหายฟ้องแพ่งต่อกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งภายหลังมีการประนีประนอมยอมความโดยกองทัพบกยอมรับผิดชอบสินไหมให้แก่ผู้เสียหายเพียง 42 ล้านบาทภายใต้เงื่อนไขที่ว่าให้ญาติผู้เสียหายถอนฟ้องต่อผู้มีอำนาจสั่งการทั้งหมด

คดีที่สาม เป็นการไต่สวนกรณีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจำนวน 78 คน ซึ่งศาลจังหวัดสงขลาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 คือ 5 ปีหลังจากเกิดเหตุการณ์ตากใบ ระบุว่าเหตุการณ์ถูกจัดการตามสภาพการณ์เท่าที่เอื้ออำนวยและผู้ตายทั้งหมดตายเพราะขาดอากาศหายใจ ไม่มีการอุทธรณ์และทำให้คดีต่อผู้เสียชีวิตสิ้นสุดลง เพราะศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาไม่รับฟ้อง 

คดีที่สี่ ไต่สวนการตายกรณีการเสียชีวิตของผู้ที่มีการปะทะกัน 7  ศพที่หน้า สภ.อำเภอตากใบ จ.นาราธิวาส ผลคดีระบุว่าไม่สามารถหาตัวผู้กระทำได้

ฐิตินบ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากดูจากนิทรรศการหรือสื่อที่เผยแพร่จะเห็นภาพปฏิบัติการทางความมั่นคง อยู่จำนวนมาก แต่ทุกคดีความกลับปรากฏว่าไม่มีผู้ใดรับผลจากการกระทำ พร้อมทั้งกล่าวว่า คดีที่ห้า ที่ควรจะมีแต่ไม่มีคือการนำคนผิดมาลงโทษ

“ที่บอกว่าอีก 2  ปี จะหมดอายุความกลายเป็นว่าการลงโทษผู้ที่รับผิดชอบในคดีตากใบ มีเพียงแม่ทัพภาคที่ 4 ในขณะนั้น ที่ไม่ถูกจ่ายค่าบำเหน็จบำนาญ 2 ปี และย้ายเข้ากระทรวง เพียงแค่นั้นสำหรับผู้ที่รับผิดชอบต่อคดีตากใบและเหลือแค่อีกสองปีที่จะหมดอายุความ

ฐิตินบ โกมลนิมิ

ก่อนหน้า มีการจัดเสวนา หัวข้อ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ปาตานี รำลึกเหตุการณ์ตากใบ รัฐไทยไม่ยอมจำ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ และเปิดพื้นที่พูดคุยสาธารณะเรื่องประวัติศาสตร์ในพื้นที่สามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ เพื่อไม่ให้เรื่องราวความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต้องฉายภาพช้ำ และให้เห็นถึงแง่มุมประวัติศาสตร์อีกมุมของปาตานี

ศาสตร์จารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว่า “ปัตตานี” เป็นการบัญญัติคำเรียกชื่อเมืองของรัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปปาตานี ให้เป็นมณฑลปัตตานี พยายามที่จะใช้ภาษาไทยลงไปในพื้นที่เพื่อกำกับให้คนได้เขียนและสื่อสาร  ทั้งที่ในพื้นที่มีภาษา มีประวัติศาสตร์และความเชื่อเดิมอยู่แล้ว นั่นจึงเป็นการเริ่มต่อสู้ระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมมาลายู

กระทั่งปี 2482 -2487 มีการสร้างชาติและนโยบายการ ผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม มีการประกาศใช้กฎหมายที่รู้จักกันดีในนามพระราชบัญญัติ “รัฐนิยม” ประกาศให้ใช้ทั่วประเทศ อาจารย์มองว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าทางการเมืองตั้งแต่การเรียกชื่อการตั้งชื่อการแต่งตัวและการกินการใช้ภาษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นมีผลกระทบต่อมาลายูมุสลิมอย่างมาก ได้มีการประกาศยกเลิกกฎหมายและศาสนาอิสลาม ด้วยการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ บรรพ 6 ที่ว่าด้วยครอบครัว และมรดกแผนที่การใช้กฎหมายอิสลามในสี่จังหวัดภาคใต้มาก่อน ต่อมายังมีการยกเลิกตำแหน่ง ดะโต๊ะยุติธรรม ที่ตัดสินคดีมรดกและครอบครัวของคนมุสลิมไปด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงเวลานั้น เกิดขบวนการชาตินิยมของ หะยีสุหลงและคณะ เพื่อตอบโต้ปฏิสัมพันธ์และการกำเนิดของแนวคิดรัฐสมัยใหม่ อย่างลัทธิชาตินิยม ที่ประกาศ “รัฐนิยม”

ศาสตร์จารย์ธเนศ ระบุว่า การแก้ปัญหาในสามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ เป็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้า ในเรื่องของยาเสพติดหรือโจร  เพราะถ้าหากมาจากเหตุแค่นั้น หากเทียบจากงบประมาณและจำนวนคน ก็สามารถที่จะแก้ได้นานแล้ว

“รางเหง้า มันลึกไปมากกว่ายาเสพติด การพนัน หรือโจร มันไม่ใช่อันนั้นเป็นเพียงปลายเหตุ แต่นี่มันคือการสู้กับจิตใจและความคิดของคน อย่างยูเครน สู้ กับรัสเซีย การที่ยูเครน ตอบโต้กลับนั่นหมายถึงยูเครนไม่ยอม หากการต่อสู้เพียงเพื่อต้องการอาณาเขตใช้เพียงกำลังก็ทำได้ แต่รัสเซีย ต้องการจะเปลี่ยนความคิด ยูเครนให้มายอมรับเป็นรัสเซียเหมือนกับ มอสโก 

ศาสตร์จารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

พร้อมทั้งกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถที่จะแก้ได้ด้วยปืน หรือ ทหาร ความแต่ต้องใช้วิธีการสานสัมพันธ์เพื่อคลี่คลายปมและรากเหง้าของปัญหาจากภายใน  และไม่ใช่การทำจากคนข้างนอกแต่ต้องให้คนในพื้นที่เป็นคนทำ

เพราะฉะนั้นที่ผ่านมา การใช้กองทัพภาคที่ 4  กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จากส่วนกลางของไทยหรือแม้กระทั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ไปตั้งทั้งโรงเรียน ก็แก้ไม่ได้เพราะเครื่องทั้งหมดเหล่านี้คือเครื่องมือที่ไปบังคับ ให้เขาเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนความเชื่อ

ด้าน ผศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เสนอว่าในมุมมองของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หากใครจะเป็นรัฐบาล ขอเสนอแนะให้ยกเลิกกฎอัยการศึก พร้อมทั้งแต่งตั้งให้มีผู้ตรวจการกองทัพได้หรือไม่

“ถ้าบอกว่าอยากให้กองทัพอยู่ใต้พลเรือนก็ต้องแต่งตั้งผู้ตรวจการกองทัพเลย ตั้งจากคนภายนอกตรวจการการใช้งบประมาณของกองทัพ และเปิดเผยต่อสาธารณะต่อการใช้งบในส่วนต่าง ๆ ต่อสาธารณะ”

ผศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ

สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่ม ทะลุฟ้า ต่อเหตุการณ์ รำลึกตากใบ รัฐไทยไม่ยอม ที่ประกาศเรียกร้องให้รัฐไทย ประกาศยกเลิกกฎหมายอัยการศึกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส โดยระบุในแถลงการณ์ดังกล่าวว่า ให้รัฐไทยปฏิบัติกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ให้สังคมเป็นปกติ อยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่อยู่ภายใต้บรรยากาศของเผด็จการอำนาจนิยมทหาร ที่สร้างความรุนแรง ขัดแย้งในพื้นที่ตลอดเวลา

“ในนามทะลุฟ้า เราขอประณามการใช้ความรุนแรงต่อเหตุการณ์ตากใบ การกระทำดั่งกล่าวเป็นการกระทำที่ไร้สำนึกความเป็นมนุษย์ และไม่เคารพถึงหลักสิทธิมนุษยชน ขอให้ชนชั้นปกครอง เลิกอ้างความเป็นไทย ลดทอนความเป็นคน เอาทหารออกจากสมการแก้ปัญหาในพื้นที่ปาตานี คืนพื้นที่เสรีภาพ”

ทะลุฟ้า

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active