มองโอกาสเพิ่มศักยภาพเมืองด้วยพื้นที่สีเขียว

ปลดล็อก 4 ปัจจัยพัฒนาเมือง สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย หวังผลักดันถึงพรรคการเมือง สนับสนุนการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะอย่างยั่งยืน เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกระดับ

เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2566  ภาคีเครือข่ายพื้นที่สาธารณะ เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนประเด็นการขับเคลื่อนพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ผ่านเวทีสาธารณะ UNLOCK CITY POTENTIALโอกาสพื้นที่ในการพัฒนาเมือง และการสร้างอนาคตของเมือง หัวข้อ “ข้อสรุปเชิงนโยบายโอกาสการเพิ่มศักยภาพเมืองด้วยพื้นที่สีเขียว” โดยจัดกลุ่มระดมความคิดออกเป็น 4 กลุ่ม ตามองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่เป็นเงื่อนไข หลักในการพัฒนาเมือง แต่เหมือนกับว่ากำลังถูกล็อกอยู่ คือ เชิงเงิน, เชิงพื้นที่, เชิงกลไกลภาครัฐ และการสื่อสารสื่อสาธารณะ  แล้วร่วมกันสะท้อนปัญหา เป้าหมาย และโอกาสตามมิติดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นเป็นแนวทางใหม่ต่อการขับเคลื่อนพื้นที่สีเขียวสาธารณะ โดยคาดว่าจะนำข้อเสนอจากการพูดคุยเสนอเป็นนโยบายสาธารณะ  เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกระดับ  โดยการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐเอกชน และภาคประชาสังคม  

โดยในประเด็น “เชิงเงิน” มีการ สะท้อนปัญหา รัฐสร้างพื้นที่สาธารณะไม่ตรงตามความต้องการ ไม่มีการทำ Carbon Credit , นโยบายกับงบประมาณไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลขและมีการรวมศูนย์อำนาจมากเกินไปภาษีไม่เอื้อให้เกิด Mix use , ขาดส่วนที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ จึงมีการเสนอแนวทางการทำงานเพื่อ Unlock เชิงเงิน การเชื่อมนโยบายของพรรค ย่อยเป็นนโยบายของคณะรัฐบาล, กระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น, การกระจายอำนาจจากกรุงเทพสู่ระดับท้องถิ่นวัดดัชนีการกระจายทางการเงินของภาครัฐ, พ.ร.บ. การกำหนดการใช้งบประมาณ สร้างกลไกทางภาษี incentive ภาษีที่หลากหลาย scale และขั้นบันได 

“เชิงพื้นที่” สะท้อนปัญหาในเรื่องของแนวคิดการให้ความหมายการเป็นสาธารณะ คนยังมีความคิดเดิมว่า คำว่าสาธารณะคือของหลวง จะถูกมองว่าไม่ใช่ความรับผิดชอบของตนแต่เป็นความรับผิดชอบของหลวงหลวงซึ่งตอนนี้คำว่าหลวงเปลี่ยนรูปไปเป็นรัฐ อีกหนึ่งปัญหาที่พบคือช่องว่างระหว่างวัยมีบางกลุ่มคนที่ยังเข้าใจว่าพื้นที่สาธารณะคือภารกิจของคนอื่น แต่บางช่วงวัยกลับมองตรงกันข้ามว่าไม่ใช่เรื่องของคนบางกลุ่มแต่เป็นเรื่องของเขาที่เขาต้องจัดการ 

ข้อเสนอแนวทาง Unlock เชิงพื้นที่ คือ การสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจการจัดการพื้นที่จากพื้นที่เล็ก ๆ เริ่มต้นจากชุมชนสามารถจัดการเองได้ ใช้แผนแม่บทในการกำกับการทำงานให้ความสำคัญกับคนเพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่แผนแม่บทมักให้ความสำคัญเชิงกายภาพเป็นส่วนใหญ่ การเชื่อมความร่วมมือและการสร้างกลไกในระดับสภาเมือง และอาจจะต้องอาศัยรัฐในนำร่อง

เชิงกลไกลภาครัฐ  โดยมองปัญหาแบบรัฐได้เป็นสองส่วนคือ”รัฐส่วนกลาง” และ “รัฐท้องถิ่น” ฉะนั้นจึงมองว่าปัญหาพื้นที่สาธารณะมีความทับซ้อนในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน 2 ระดับ  ปัญหาส่วนใหญ่พูดถึงงาน, เงิน, คน และข้อมูล อย่างกรณีของงบประมาณที่มาจากส่วนกลาง และมีงบประมาณจากท้องถิ่นที่ต้องใช้ มีการทับซ้อนของวัตถุประสงค์การใช้ หรือบทบาทการพัฒนาของแต่ละพื้นที่  แล้วเรื่องของกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ก็จะมีบทบาทในเชิงกฎหมายของรัฐส่วนกลางและข้อกำหนดหรือเทศบัญัติในระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกัน 

ปัญหาสำคัญของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ คือการสร้างความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานต่อหน่วยงาน ระหว่างรัฐกับท้องถิ่น ท้องถิ่นไปประชาชน หรือแม้แต่ประชาชนด้วยกันเอง จึงมองว่าเรื่องของการทำความเข้าใจอาจจะต้องพึ่งรัฐในการประสาน  และเรื่องของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะไม่เคยถูกทำเป็นแผนในระดับพื้นที่  อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำในระดับท้องถิ่นในเรื่องของแผนการทำพื้นที่สาธารณะเพราะแผนการพัฒนาพื้นที่สาธารณะตรงนี้ไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจเรื่องผู้คนในลำดับต่อไป

สำหรับการ Unlock เชิงกลไกลภาครัฐ  เสนอให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจการใช้อำนาจตัวเองในการพัฒนาพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณหรือองค์ความรู้ รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วม, ท้องถิ่นสามารถผลักดันแผนพัฒนาพื้นที่สาธารณะในพื้นที่ตนเอง  สิ่งนี้สามารถขยับต่อไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้คนร่วมกันทำ ฉะนั้นแผนในการทำพื้นที่สาธารณะจะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงท้องถิ่นอย่างเดียวแต่เกิดจากความร่วมมือของการบูรณาการของคนทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่นั้น 

ขณะเดียวกันรัฐเองต้องรับรองแผนนี้ด้วย เพื่อที่การของบประมาณและขอความร่วมมือจะได้สำเร็จและมีความเป็นไปได้ และสุดท้ายมองว่าเมื่อมีแผนข้างต้นแล้วก็สามารถที่จะทำพื้นที่ทดลอง (sand box ) ในพื้นที่ทดลองนี้อาจจะลองทำในหลายเรื่อง อาทิ ทดลองการยกเว้นภาษี  ทดลองการทำ universal disign ทดลองการลงทุนระหว่างเอกชนภาครัฐเอกชนหรือท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เห็นภาพว่า ถ้าท้องถิ่นขยับรัฐส่วนกลางอาจจะเป็นเพียงแค่การสนับสนุน 

สำหรับเชิง “สื่อสารสาธารณะ” นั้นเนื่องจากว่าหัวข้อนี้มีประเด็นมากมายในการนำเสนอ และกลุ่มคนรับสื่อมีหลายระดับ ฉะนั้นประเด็นในเรื่องของพื้นที่สาธารณะย่อมมีการรับข้อมูลที่ไม่เท่ากัน   จึงมีวิธีการคิดออกแบบข้อมูลจำนวนมากทั้งที่เป็นข้อมูลเนื้อหาและข้อมูลที่เป็น DATA ด้วยความที่เนื้อหามาจากหลักหลายที่และจากหลักหลายมิติจึงจำเป็นจะต้องมีถังข้อมูลกลางระดับใหญ่ที่รวบรวมไว้ นำข้อมูลที่หลากหลายเหล่านี้มาจัดเรียงให้เป็นระบบ พยายามสื่อสารให้เป็นประเด็นส่วนรวมโดยมองเมืองเป็นสมบัติของส่วนรวม พยามสื่อสารเรื่องราวและทำให้เห็นว่าสื่อสาธารณะเป็นเรื่องของส่วนรวมและเป็นของทุกคน  

แม้ว่าตอนนี้จะมีการเปิดพื้นที่ระดมและพูดคุยเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะแต่คนที่เข้าร่วมส่วนมากก็ล้วนเป็นเครือข่ายจึงคาดหวังว่า อยากให้การเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่องพื้นที่สาธารณะตรงนี้ ที่ได้รับข้อมูลผ่านสื่อเข้ามามีบทบาทมากกว่านี้โดยธรรมชาติ  

อีกหนึ่งข้อกังวลคือมีความย้อนแย้ง และการทับซ้อนการใช้สื่อเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารประเด็นสาธารณะแล้วยังมีเรื่องของการสื่อสารเพื่อทุน ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายของคนทำสื่อ   จึงมีข้อเสนอในมิติสื่อสารสาธารณะ โดย การยกกรณีตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ที่ผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเคสตัวอย่างควรจะต้องใช้กรณีศึกษานั้นใช้ในการศึกษานั้นจนเกิดการรับรู้ซึ่งแน่นอนว่าอาจใช้ระยะเวลา  แต่ก็มีหลายมิติที่จะทำให้สามารถใช้กรณีศึกษานั้นสื่อสารได้หลายแง่มุม ต้องอาศัยการทำอย่างต่อเนื่อง 

สื่อควรมีการสื่อสารหลายระดับทั้งระดับประเทศระดับท้องถิ่นและควรมีการสื่อสารหลักหลายช่องทางหลายรูปแบบ สุดท้าย การใช้สื่อ ในการสื่อสารเพื่อสาธารณะจำเป็นจะต้องอาศัยกลุ่มคนทั้งผู้ผลิต ผู้รับสารและภาคีเครือข่ายที่จะขับเคลื่อนประเด็นนั้นเข้ามาใช้สื่อ คาดว่าถ้าทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ความตระหนักรู้จะเกิดขึ้นและทำให้เรื่องพื้นที่สาธารณะสามารถผลักกันไปได้ไกลซึ่งแน่นอนว่าจะต้องอาศัยกลไกอื่นร่วมด้วย

ทั้งหมดนี้คาดว่าข้อเสนอที่ได้จะส่งต่อถึงพรรคการเมือเพื่อผลักดันเป็นนโยบายและขยายผลทั่วประเทศต่อไป

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active