กสม. ย้ำ หลายหน่วยงาน เห็นพ้อง สร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” คลี่ปมเหตุรุนแรง “ดินแดง”

เดินหน้า รับฟังความเห็นเด็ก เยาวชน อย่างสร้างสรรค์ ประสานหน่วยงาน คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ หากชุมนุมโดยสงบ พร้อมคุ้มครองความปลอดภัยเด็ก เยาวชน หาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม แก้ปัญหา ละเมิดสิทธิเด็กในพื้นที่ชุมนุม

วันนี้ (4 พ.ย.64) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงความคืบหน้าแนวทางแก้ปัญหาในที่ชุมนุม กรณีการคุ้มครองสิทธิเด็กในสถานการณ์การชุมนุม สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา มีกิจกรรมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งได้ข้อสรุป ว่า ให้เปิดพื้นที่การใช้สิทธิเสรีภาพโดยปราศจากความรุนแรง, หน่วยงานรัฐควรมีแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อเด็กที่และเยาวชน โดยจัดให้มีการดูแลเด็กและเยาวชนตั้งแต่ เริ่มชุมนุม ระหว่างชุมนุม และหลังการชุมนุม ทั้งนี้ควรแยกกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างชัดเจน  ระหว่างผู้ที่ก่อความรุนแรง และผู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรง

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จัดอบรมเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนให้ปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงมิติของเด็กและเยาวชน รวมทั้งให้ดูแลปกป้องการเผยแพร่ ข้อมูลส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมทั้งต้องมีมาตราการ ลดการตีตรา กลั่นแกล้ง หรือสร้างความเกลียดชังในโลกออนไลน์ กับผู้เห็นต่าง 

พร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงยุติธรรม, และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการ เสนอแนะให้เป็นไปตามหลัการอนุสัญญาที่ว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและพันธะภาคีที่ต้องปฏิบัติตาม

โดยเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา กสม. ได้ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้า ตามข้อเสนอแนะร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการยุติธรรมอาญาเกี่ยวกับเด็ก และการคุ้มครองสิทธิเด็กในกระบวนการการชุมนุม สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุด

วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า หลายหน่วยงานเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะ ที่ได้จากเวทีเสวนาที่จัดขึ้นก่อนหน้านี้ และให้ความสำคัญกับกลไกลการเปิดพื้นที่ปลอดภัย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนที่สร้างสรรค์ นอกจากนี้แล้ว ยังได้หาแนวทางเพื่อประสานความร่วมมื่อระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ คุ้มครองการใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ และคุ้มครองความปลอดภับของเด็กในพื้นที่การชุมนุม รวมทั้งหาแนวปฏิบัติ ที่ถูกต้องและเหมาะสมตามสิทธิเด็กในกระบวนการการจับกุม และการดำเนินคดีต่อเยาวชนด้วย 

ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ชุมนุมเพศหญิง และกลุ่มหลากหลายทางเพศ ควรให้ตำรวจหญิงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือไม่กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ บอกว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นอ่อนไหว เข้าใจว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจมีกองร้อยน้ำหวาน และเจ้าหน้าที่ผู้หญิงปฏิบัติการ

การสอบสวนโดยหลักการ เรามีการเสนอแนะอยู่ตลอดมาในการสอบสวน โดยเฉพาะผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอยากให้เจ้าหน้าที่ผู้หญิง ได้เข้ามามีส่วนในในเรื่องนี้ เพราะบางกรณีมีความละเอียดอ่อน

ข้อมูลเพิ่มเติม : เสนอเร่งแก้ปัญหาสิทธิพลเมือง บนสมรภูมิการเมือง “ดินแดง”

Author

Alternative Text
AUTHOR

อัญชัญ อันชัยศรี

จากทุ่งนาสู่ป่าคอนกรีต สาวอีสานผู้หลงไหลในการเดินทาง ใช้ชีวิตไปตามแรงดึงดูดของความสัมพันธ์ เชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันคือการคัดสรรโดยธรรมชาติ