ความหวังสุดท้าย? คน GEN Z

มูเตลู ที่พึ่งทางใจ
ผศ.ณัฐสุดา เต้พันธ์ | คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทำไมเคว้ง? หากถามผู้ใหญ่หรือคนเจเนอเรชันก่อนหน้า ว่าตอนที่พวกเขาอายุเท่าคน Gen Z ตอนนี้ มีภาวะเคว้งหรือผิดหวังจากการตามหาความฝันเหมือนคนรุ่นนี้บ้างไหม? คำตอบคือ “มี” แต่สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยน เศรษฐกิจเปลี่ยน ทำให้ปัจจุบันคนอยู่กันอย่างแยกตัว โอกาสที่จะสนับสนุนทางใจซึ่งกันและกันอย่างที่เคยมีจึงน้อยลง

การหันไปหาสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจอาจช่วยบรรเทาความรู้สึกเคว้งของคนรุ่นใหม่ได้บ้าง นอกจากนี้พบว่าปัญหาด้านสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ของคนรุ่นใหม่นั้นมีความตึงเครียดสูง สะท้อนว่ากลุ่มประชากรที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศกำลังเผชิญความมืดมนในชีวิต

มูเตลู จึงกลายเป็นที่พึ่งทางใจของคน Gen Z

ผศ.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายเงื่อนไขที่ทำให้ผู้คน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ หันไปพึ่งพาสิ่งที่พิเศษมากขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากสิ่งที่เราควบคุมได้ โดยมักจะทำให้ช่วงที่รู้สึกแย่ รู้สึกเครียด หรือมีอะไรมากระทบจิตใจ โดยอธิบายว่าการหาที่พึ่งทางใจสามารถทำได้ แต่ต้องทำเพื่อเป็นการบรรเทาความรู้สึกแย่ในชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

ความหวังสุดท้าย? คน GEN Z

ในส่วนของการ ‘มูเตลู’ กับการที่เราหันไปพึงพาสิ่งที่พิเศษขึ้น นอกเหนือจากสิ่งที่เราควบคุมได้ ซึ่งมักจะทำในช่วงเวลาที่รุ้สึกแย่ เครียด หรือมีอะไรมากระทบจิตใจ โดยการหาที่พึงพาทางจิตใจนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องทำเพื่อเป็นการบรรเทาความรู้สึกแย่เท่านั้น

ความหมายก็คือ หากจะบอกว่าทำเพื่อบรรเทา ทำอย่างรู้ตัวว่าฉันกำลังทำสิ่งนี้เพื่อให้ความรู้สึกฉันดีขึ้น ให้รู้สึกว่าฉันมีความหวัง ขอให้ใช้อย่างรู้ว่าฉันกำลังทำเพื่อบรรเทาปัญหาทางอารมณ์ข้างใน สิ่งสำคัญคือให้หาวิธีว่าความเครียดที่มีอยู่ วิธีไหนที่จะออกจากปัญหาได้

ผศ.ณัฐสุดา กล่าวอีกว่า ความหวัง เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งในความหวังมี ‘View power’ คือ การมีกำลังใจที่จะทำบางสิ่ง สังเกตได้ว่า เราจะไม่เครียดหรือบนบานให้กับสิ่งที่ไม่สำคัญ แสดงว่าสิ่งนั้นสำคัญและมีคุณค่ากับเรา แต่อย่าหยุดเพียงความรู้สึกว่ามีกำลังใจหรืออยากจะทำ เพราะมันจะจบแค่นั้น และวนกลับมาที่เดิม ดังนั้น ควรไปต่อในส่วน ‘Way power’ คือ การหาหนทาง ไม่ใช่เพียงมูเตลูไปเรื่อย ๆ เพราะจะทำให้มีกำลังใจเพียงครั้งคราว อาจทำให้รู้สึกว่าจัดการอะไรได้ด้วยตัวเองน้อยลง ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี แต่ถ้าเรามูเตลูแล้วกลับมาทบทวนว่าสิ่งใดสำคัญ อีกทั้งมองว่าตัวเราควบคุมได้ ก็จะนำไปสู่การหาแนวทางในการจัดการต่อไป

นอกจากนี้ยังมองว่าการช่วยบรรเทาปัญหาของคนรุ่นใหม่ คือ การหาแนวทางสร้างสังคมครอบครัวที่ปลอดภัย ก็จะส่งผลต่อทุกคน หากถามว่าพ่อแม่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของลูกแค่ไหน ถ้าอยากให้ครอบครัวปลอดภัยระบบต้องเข้าไปช่วย

สำหรับการรักษาสุขภาพจิตของคนไทย พบว่า หมอ 1 คน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ต้องเจอคนไข้ด้านจิตเวช 80 คน และการเข้าถึงนักจิตวิทยาก็ไม่ได้เข้าถึงกันทุกคน เพราะต้องมีความสามารถในการจ่ายค่ารักษาได้ หรือเป็นคนที่มีองค์กรดูแล ถ้าเราสามารถดูแลกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงนักจิตวิทยาได้ก่อนที่เขาจะพบกับปัญหา เราก็จะได้คนที่มีคุณภาพกลับมาจำนวนไม่น้อย

ขณะที่สถิติคน Gen Z มีสภาวะซึมเศร้าที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 ในทุกประเทศทั่วโลก ส่วนนักวิชาการด้านสุขภาพจิตก็คาดการณ์ไว้ว่าหลังจากโควิด-19 จะมีผลกระทบเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่ สภาพเศรษฐกิจ การไม่มีงาน รายได้ที่น้อยลง ซึ่งส่งผลต่อจิตใจ ซึ่งมีคำถามว่าในสังคมมีระบบสนับสนุนเรื่องนี้ดีแค่ไหน

หากมองโดยภาพรวม สิ่งที่เครียดจะเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญ อย่างการเรียน ความสำเร็จ ความสัมพันธ์ “แต่สิ่งที่มันยาก คือ ความผิดหวังในสิ่งที่คิดว่าอยากจะได้” เมื่อพบกับความผิดหวังหนึ่งครั้ง มันสั่นสะเทือนตัวเอง ดังนั้น หากกลับไปแก้ที่ครอบครัวได้ ไม่ว่ามีปัญหาอะไรมา ก็จะสามารถแก้ไขได้


หมายเหตุ "Lost & Found: ตามหาความฝันที่หล่นหายของคน GEN Z" เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการนำเสนอซีรีส์ชุด #Generationเคว้ง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง The Active และ The MATTER เพื่อนำเสนอปัญหาที่คนรุ่นใหม่กำลังเผชิญอยู่

ชม เวทีเสวนา "Lost & Found: ตามหาความฝันที่หล่นหายของคน GEN Z" | 22 เม.ย. 66

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Author

Alternative Text
AUTHOR

เมธาวี ทวีผล

เรียนมานุษยวิทยา สนใจเรื่องราวทางสังคม อยากปล่อยใจสู่เสรี

Alternative Text
GRAPHIC DESIGNER

กษิพัฒน์ ลัดดามณีโรจน์

ผู้รู้ | ผู้ตื่น | ผู้แก้งาน ...กราบบบส์