‘กระจายอำนาจ’ อนาคตประเทศไทย ที่คนภาคกลางอยากเห็น

นโยบายกระจายอำนาจ จังหวัดจัดการตนเอง หรือแม้แต่เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นเสียงสะท้อนของประชาชน ผ่าน ‘เวทีฟังเสียงประเทศไทย’ โดยพบว่าหลายภูมิภาครวมถึงเวทีภาคกลาง สะท้อนตรงกันว่านี่คือความหวังและความฝันที่พวกเขาอยากเห็น

หากสำรวจนโยบายของพรรคก้าวไกล 300 นโยบาย ในฐานะพรรคที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 ‘นโยบายกระจายอำนาจ’ เป็นนโยบายที่เคยยืนยันผ่านเวทีปราศรัยว่าจะเริ่มทันทีใน 100 วันแรก หากเส้นทางของพรรคก้าวไกล ไม่สะดุดเสียก่อน

อีกทั้ง คะแนนเสียงจากคนภาคกลางที่เทให้พรรคก้าวไกล น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนว่าหลายประเด็นที่ถูกพูดถึงในเวทีฯ น่าจะถูกผลักดัน? The Active รวบรวมเสียงจากคนภาคกลางอนาคตประเทศไทยที่พวกเขาอยากให้เเกิดขึ้น ผ่าน 6 มิติ สรุปในรูปแบบ Visual note

เวทีฟังเสียงประเทศไทย “เสียงประชาชนเลือกอนาคตภาคกลาง-ตะวันตก” มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 57 กลุ่ม ในนามตัวแทนของเครือข่ายที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ หลากหลายช่วงอายุ อาชีพ เพศ และการศึกษา  สำหรับวาระสำคัญในพื้นที่นี้ มีการสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่ภาคกลางเป็นภาพแทนของการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การลงทุน แต่ขณะเดียวกันก็กำลังเชิญกับปัญหาหลายเรื่องซึ่งเป็นจุดอ่อนต่อการพัฒนา

การศึกษา 

การศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพระดับสากล เข้าถึงคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทุนทางการศึกษา ค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับค่าครองชีพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ได้แก่

1.การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพของทุกคน ด้วยการลดนักเรียนหลุดจากระบบ เพื่อความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ลดต้นทุนทางการศึกษา เพื่อลดปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาสังคมต่าง ๆ รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา เข้าถึงทุนทางการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษาที่เสมอภาคและค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับค่าครองชีพ  พัฒนาคนรอบการศึกษาอย่างเป็นองค์รวม ผู้เรียนมีศักยภาพรอบด้านในการใช้ชีวิตและการทำงาน ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งเทคโนโลยีและดิจิทัล ด้วยรูปแบบการเรียนแบบสหวิทยาการ และมีความหลากหลาย

2. พัฒนาคนและรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายรอบด้าน เช่น พัฒนานักเรียนให้เกิดความหลากหลายทางอาชีพมีคุณภาพและศักยภาพในการใช้ชีวิตและการทำงาน เข้าใจเป้าหมายของชีวิต พัฒนาคนเพื่อการพัฒนาทุกด้าน การเรียนการสอนที่ตั้งคำถาม เรียนลึก เรียนกว้าง เป็นสหวิทยาการให้แก้ปัญหาได้หลายด้าน  ครอบครัว ครู บุคลากร มีคุณภาพ เท่าทันการศึกษาสากล ขณะเดียวกันการศึกษาต้องเป็นการเรียนรู้รอบด้าน ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน แต่อยู่รอบตัวในทุกพื้นที่ รวมถึงทักษะชีวิต การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้รอบตัว เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นสร้างการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตลอดทุกที่ทุกเวลา เรียนรู้ตลอดชีวิต อยู่รอดปลอดภัย มีความสุข ไม่เน้นเรียนเพื่อสอบ จัดการตัวเองได้ เรียนสิ่งที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิถีชีวิต ด้านอาหาร การสร้างแหล่งอาหารด้วยตนเอง รับมือภัยพิบัติ มีองค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยีที่เท่าทัน การใช้ข้อมูล ภัยไซเบอร์

3. รัฐและทุกภาคส่วนมีเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวมของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกระดับและกำหนดทิศทางของสังคมได้อย่างมีคุณภาพ มีเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาของประเทศที่เป็นในทิศทางเดียวกัน มองร่วมกัน กำหนดทิศทางของสังคม ยกระดับการศึกษาสู่สากล พัฒนาคุณภาพของคน

สังคม/การใช้ชีวิต

1.สวัสดิการที่รองรับคนทุกกลุ่มทุกวัยอย่างทั่วถึงและเข้าถึงได้ สิทธิพลเมืองได้รับการเคารพไม่เหลื่อมล้ำ วัยทำงานไม่แบกรับภาระจนเกินไป ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานถูกพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เงื่อนไขทางกฎหมาย สิทธิพลเมือง การเข้าถึงสวัสดิการอย่างทั่วถึง รวมถึงกลุ่มคนไร้รากและคนต่างด้าว

2.รัฐจัดการและแก้ปัญหาสังคมอย่างโปร่งใสและเป็นจริง ลดค่าครองชีพ ลดปัญหายาเสพติด ป้องกันการบุกรุกของนายทุน ประชาชนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ที่ทำกินและอาชีพในทุกช่วงวัย ผู้นำในท้องถิ่น อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมือง

3.สังคมพลเมืองเข้มแข็งรู้หน้าที่ กำหนดความก้าวหน้าของประเทศได้ ชุมชนขับเคลื่อน แก้ปัญหาและจัดการตนเองได้ดี มีพื้นที่แสดงความคิดเห็น เชื่อมเครือข่ายพลังความร่วมมือ และติดตามนโยบายและการบริหารงานของรัฐ ชุมชนขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาด้วยตนเองจัดการตนเองได้ดี มีการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง สังคมที่จัดการตัวเองรู้หน้าที่ มีการร่วมมือกัน เกิดปัญญารวมหมู่ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน พลังประชาชนในการร่วมมือการดูแลสังคม จับตานโยบาย และการบริหารจัดการของรัฐ ภาคประชาชนเป็นคนกำหนดความก้าวหน้าของประเทศ การเลือกผู้นำผู้แทนที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการปัญหาชุมชน และพัฒนาพื้นที่สู่ความเจริญ เลือกพรรคที่มี นโยบายที่ทำได้จริง

เศรษฐกิจ 

เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการโตจากฐานราก ได้แก่

1. ยกระดับเศรษฐกิจแบบโตจากราก ด้วยการลงทุนภาคเกษตรกรรมคู่กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรโดยรวม เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรระดับพรีเมียมสู่ตลาดสากล ยกระดับทางการเกษตร ผลผลิตที่มีภาคบริการ อุตสาหกรรม ร่วมกับแรงงานภาคเกษตร การแปรรูปทางการเกษตร เพิ่มมูลค่า ทางผลิตภัณฑ์ เกรดพรีเมียม พัฒนาผู้ประกอบการ ทำงานร่วมเกษตรกร คนรุ่นใหม่การทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ เพราะการลงทุนทางอุตสาหกรรมในภาคกลางลดลง การยกระดับภาคการเกษตรไม่ให้ถดถอยควบคู่จัดการภาคอุตสาหกรรมไม่ให้กระทบภาคเกษตร

2. รัฐทำงานเชิงรุก ลงทุนเป็นหุ้นส่วนร่วมกับชุมชน มีระบบจัดการที่เชื่อมทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน พัฒนาเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ผลักดันStart up สู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยองค์ความรู้ที่เข้าใจได้เทคโนโลยี การลงทุน และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง ด้วยการบริหารจัดการ ระบบ วิธีการดี แต่ต้องเข้าถึงชาวบ้านได้จริง การทำงานร่วมมือของนักวิชาการ ชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี เงินทุน สนับสนุนต้นแบบ Start up มีบริการวิชาการที่เป็นมิตรกับคนในชุมชน เข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่าย ส่งเสริมการพัฒนา ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ชูความโดดเด่นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม สร้างความแตกต่างเพื่อขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ รัฐเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับชุมชน 30/70 ร่วมมือหน่วยงานทางการศึกษา ชุมชนสามารถขยายการจ้างงานพัฒนาคุณภาพ เพิ่มผลผลิตสู่สากล รัฐมีการลงทุนในชุมชน ช่วย SME ให้โต สร้างผู้ประกอบการ รัฐต้องทำงานกับชาวบ้านให้ได้ ส่งเสริมรายย่อยชุมชนให้เติบโต เข้าถึงเงินทุน เข้าถึงความรู้ในการประยุกต์ใช้ การกระตุ้นเศรษฐกิจออนไลน์ หรือโอกาสทางเศรษฐกิจที่มี รัฐทำงานเชิงรุก ปรับวิธีการทำงาน

3.  นโยบายเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาปากท้อง กระจายรายได้ มีมาตรการส่งเสริมและกติกาทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรมและต่อเนื่อง ลดการผูกขาดทางการค้า ประชาชนเข้าถึงทุน และมีกองทุนสำหรับคนตัวเล็กตัวน้อยด้วยนโยบาย การกระจายรายได้ นโยบายที่ต่อเนื่อง นโยบายการเก็บภาษีที่ดินที่เป็นธรรมกับชุมชน รัฐดูแลเรื่องปากท้องของประชาชน ลดระเบียบทางราชการ รัฐมีมาตรการส่งเสริม ดูแลกติกาให้เกิดความเป็นธรรม ไม่ผูกขาดทางการค้า  ประชาชนมีรายได้ชีวิตดีขึ้น ค่าครองชีพเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยไม่ขัดสน พึ่งพาและจัดการตนเองได้การกระจายรายได้ระดับครัวเรือน ส่งเสริมเศรษฐกิจครัวเรือน รัฐมีกองทุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนตัวเล็กตัวน้อย กองทุนคนจน (การเข้าถึงแหล่งทุน) การจัดการมีแหล่งอาหารในครัวเรือน ระดับชุมชน หมู่บ้าน

รัฐ ราชการ ความมั่นคง กระจายอำนาจ

รัฐและการเมืองมั่นคงมีเสถียรภาพและเป็นประชาธิปไตย ไร้รัฐประหาร มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เกิดจังหวัดจัดการตนเอง ผู้แทนมีความเป็นผู้นำและเป็นตัวแทนของประชาชนที่แก้ปัญหาได้ตรงจุด

1.การเมืองมั่นคง หยุดรัฐประหารเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ปรับกลไกผู้ดูแลประชาชน และรักษากฎหมาย (ตำรวจ) กระจายอำนาจ กระจายงบ ประชาชนเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศ นโยบายที่มีประชาชนเป็นที่ตั้ง การให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐร่วมมือกับประชาชน ภาคเอกชน ประชาชนกำหนดธรรมนูญชุมชน  ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ ให้จังหวัดจัดการตัวเอง มีการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้เอง จังหวัดมีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ปรับกฎหมายให้เหมาะสม มีแผนงานที่ชัดเจน การเลือกตั้งที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย เป็นโอกาสสู่การก้าวเดินไปข้างหน้า แก้กฎหมาย มีการลงทุนด้านประชาธิปไตย ระบบผู้แทนที่มาจากประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง นักการเมือง สว. สส. จริงใจในการดูแลประเทศชาติ ผู้แทนมีความเป็นผู้นำ เป็นตัวแทนของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง ลดบทบาทมติครม. ลดการซื้อสิทธิขายเสียง เคารพสิทธิเสียงของประชาชน ดูแลประชาชน ผู้แทนจริงใจในการพัฒนาพื้นที่ แก้ปัญหาได้จริง รัฐแก้ปัญหาต้นทุนชีวิต ค่าครองชีพ ค่าน้ำ ไฟ ค่าน้ำมัน อยู่ดีกินดี นโยบาย ระบบ โครงสร้าง ที่สนับสนุนการเกษตรอย่างต่อเนื่องยั่งยืน นโยบายความเป็นอยู่ ปากท้องของประชาชน สุขภาวะทางกายใจ สิ่งแวดล้อม ลดความบอบช้ำของคนในประเทศ

2. รัฐที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีกลไกการตรวจสอบและกำกับดูแลที่ประชาชนมีส่วนร่วม สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และลดระบบอุปถัมภ์ ไม่ผูกขาดอำนาจทุนใหญ่ ด้วยกลไกการตรวจสอบที่ประชาชนมีส่วนร่วม โปร่งใส เข้าถึงข้อมูลได้ประชาชนสามารถกำกับดูแลให้รัฐทำตามนโยบาย สนับสนุนให้ให้มีสภาพลเมืองทุกจังหวัด นักการเมืองแบบพลเมือง ลดปัญหาคอร์รัปชัน ลดระบบอุปถัมภ์ ไม่ผูกขาดกับทุนใหญ่ ในการแก้ปัญหา

3. ระบบการบริหารจัดการและโครงสร้างของรัฐมีความเป็นสากลและทันสมัย เน้นการใช้เทคโนโลยีช่วยลดขั้นตอนการให้บริการ เจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจ รู้จริง ใส่ใจ เป็นมิตรและให้เกียรติประชาชน ไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี พัฒนาระบบการให้บริการไม่เลือกปฏิบัติ ปรับปรุงการให้บริการ เป็นมิตร มองประชาชนเป็นเพื่อน เป็นคนในครอบครัว ยึดโยงกับประชาชน ให้เกียรติประชาชน พึ่งพาไอที ลดขั้นตอนเอกสาร ปรับโครงสร้างรัฐให้มีความสากล เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจและรู้จริงในการแนะนำส่งเสริม ทำงานจากเล็กไปใหญ่

สุขภาพ

ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ลดความเหลื่อมล้ำ เกิดสถานพยาบาลต้นแบบ การบริการมีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ประชาชนมีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพพร้อมรับมือสังคมสูงวัยได้แก่

1.ลดความเหลื่อมล้ำ สิทธิคนทุกกลุ่ม ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวกัน ระบบสวัสดิการถ้วนหน้า เบี้ยเด็กแรกเกิด คนเร่ร่อนไร้บ้าน รัฐชัดเจนด้านนโยบาย มีนโยบายที่ต่อเนื่องชัดเจน ขับเคลื่อนนโยบาย ระบบสุขภาพสิทธิรักษาใช้ร่วมกันได้ ตรวจรักษาที่เทศบาลได้ การเตรียมความพร้อม รับมือสังคมสูงวัยกองทุนผู้สูงอายุ กองทุน สิทธิต่าง ๆ สำหรับคนในพื้นที่อย่างแท้จริง โรงพยาบาลต้นแบบ ความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเององค์ความรู้ทางสุขภาพ

2. การจัดการระบบสาธารณสุขเป็นสัดส่วนมีมาตรฐานระดับสากลทั้งประเทศ บูรณาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลสุขภาพ ระเบียบปฎิบัติมีความสอดคล้องกัน การกระจายบุคลากรทั่วถึงเพียงพอ บุคลากรได้รับความยุติธรรมในการปฏิบัติงาน ผู้นำท้องถิ่นจัดการเป็นระบบไม่อิงการเมือง เช่น  การจัดการ ระบบสาธารณสุขเป็นสัดส่วน บูรณาการ เชื่อมโยงระบบข้อมูลสุขภาพ การพัฒนาระบบการจัดการทางสาธารณสุข การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้คนเข้าถึงการรักษา หรือยารักษาโรคได้ครอบคลุม ทั่วถึง และรวดเร็ว เช่นมีบริการจัดส่ง ระเบียบปฎิบัติที่สอดคล้องกัน ระบบสาธารณสุขที่ไม่มีสองมาตรฐาน ประชาชนประเมินมาตรฐานได้ การจัดการงบประมาณ คุณภาพการบริการ การเข้าถึงการบริการที่หลากหลาย ลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายบุคลากร และคุณภาพของบุคลากร ด้านนโยบายทางบุคลากร ระบบ ระเบียบ ที่ให้ความสำคัญกับคนทำงานอย่างยุติธรรม ลดความกดดันความเครียดของผู้ให้บริการ ถามความพร้อมบุคลากร การจัดการในหน่วยงาน เพื่อพัฒนาการทำงานและการบริการประชาชนให้ต่อเนื่อง ไม่เต็มที่ บุคลากรไม่เพียงพอ แก้ปัญหาการเตรียมพร้อม รพสต. ถ่ายโอน พัฒนาบุคลากรสู่ท้องถิ่น ทุกกลุ่มควรช่วยการออกแบบ ดึงดูดแพทยท์ บุคลากรเพียงพอ อสม. ทำงานล้นมือ เกินหน้าที่ ผู้นำท้องถิ่นต้องมีมาตรฐานการจัดการที่เป็นระดับประเทศ สากล พัฒนาระบบ การพัฒนาบุคลากร ความรู้ การอำนวยการ การบริหารจัดการต้องเป็นเชิงระบบ ไม่ใช่ภายใต้นักการเมือง

3. การผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีมาตรฐานบนแนวคิดสาธารณสุขเพื่อชุมชน ด้วยจรรยาบรรณและทัศนคติในการช่วยเหลือผู้คนอย่างแท้จริง เช่น มาตรฐานการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ตอบสนองแค่นายทุน แต่สร้างทัศนคติของการช่วยเหลือผู้คนอย่างแท้จริง แนวความคิดสาธารณสุขเพื่อชุมชน จรรยาบรรณ ความรู้ สร้างความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่ และประชาชน

สิ่งแวดล้อม

การดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมีความยั่งยืนและสร้างสรรค์ คืนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ อากาศ น้ำ ดิน อาหาร สะอาดมั่นคง คำนึงถึงระบบภูมิสังคมองค์รวม ชุมชนมีส่วนร่วมดูแลและจัดการผ่านกลไกสภาและธรรมนูญชุมชน บูรณาการความร่วมมือกับรัฐและเอกชน ด้วยนโยบายต่างๆเหล่านี้ เช่น

1. นโยบายการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการมีส่วนร่วมท้องถิ่น ระบบภูมิสังคมองค์รวม มีการจัดการด้านภูมิสังคม กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ธรรมนูญสังคม พหุวัฒนธรรม เขตพื้นที่อนุรักษ์ที่ประชาชนมีสิทธิในการร่วมดูแลจัดการ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่มองให้เห็นสิ่งรอบตัว การรวมตัว ชุมชนช่วยกันดูแล ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมต้องดี ธรรมชาติสมบูรณ์ขึ้น มีอากาศ น้ำ ดิน ที่สะอาด ด้วยการจัดการที่ดี ระบบนิเวศดี มีความมั่นคงทางอาหาร ทุกกลุ่มมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม เชื่อมโยงการทำงาน คนตัวเล็กผลักดันให้เกิดนโยบาย มีกลุ่มตัวแทนดูแล ชุมชน รวมตัวกันร่วมกันดูแล ภาคประชาชนเข้มแข็ง ร่วมกันจัดการโดยใช้กลไกสภาชุมชนเป็นฐานต่อรองและผลักดัน โดยรัฐให้ความร่วมมือ และบูรณาการความร่วมมือ ทำงานร่วมกันกับภาคเอกชน การจัดสรร การใช้ทรัพยากร ชุมชนร่วมดูแล นโยบายที่ไม่ใช้งบอย่างเดียว การทำการเกษตรที่ลดสารพิษด้วยการใช้ธรรมชาติบำบัดจัดการ เปลี่ยนการจัดการเพื่อความยั่งยืนทางธรรมชาติ

2. กฎหมายและการบังคับใช้มีความจริงจังอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม ปิดช่องโหว่คนทำผิด การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ มลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างทันท่วงทีและรัดกุมมีนโยบายร่วมทุกภาคส่วนในการจัดการ ทั้งระดับพื้นที่ และระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายการจัดการ ควบคุม ที่จริงจังและถูกบังคับใช้จริง เท่าเทียมเป็นธรรม ฟังเสียงประชาชน กฎหมายครอบคลุม ปิดช่องโหว่การทำผิดกฎหมาย ส่งเสริมคนพัฒนา ดูแลพื้นที่การเกษตรไม่ให้ถูกเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม รัฐมีนโยบายและการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างทันท่วงที มีนโยบายร่วมในการจัดการ การแก้ปัญหาภัยพิบัติ ทั้งระดับพื้นที่ และในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการขยะ สิ่งของเหลือใช้ ทางการเกษตร ฝุ่นละออง ฝุ่นควัน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้างถนน ปัญหาสิ่งแวดล้อมฝุ่น มลภาวะ ปัญหากากโรงงานอุตสาหกรรม ฟอกย้อม ปัญหาสารเคมี ลงแม่น้ำท่าจีน รัฐออกแค่ประกาศ บทลงโทษ การติดตามไม่จริงจัง สภาวะโลกร้อน แปรปรวนส่งผลต่อการแปรเปลี่ยนทางภูมิประเทศ พื้นที่ทางการเกษตรเปลี่ยนส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรที่เปลี่ยนไป (คุณภาพแย่ลง) การจัดการผังเมือง

3. พลเมืองเข้มแข็งมีจิตสำนึกและองค์ความรู้ในการดูแลสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่บ้าน โรงเรียน วัด โดยประชาชนเข้าถึงข้อมูล ร่วมตรวจสอบการดำเนินการของกิจการและโรงงานอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ได้แก่ องค์ความรู้ พัฒนาภาคพลเมือง ปลูกจิตสำนึก บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานทุกระดับ ปลูกจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม พัฒนาภาคพลเมือง การควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ประชาชนเข้าถึงข้อมูล ตรวจสอบการจัดการของโรงงานอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้

Author

Alternative Text
AUTHOR

อรวรรณ สุขโข

นักข่าวที่ราบสูง ชอบเดินทางภายใน ตั้งคำถามกับทุกเรื่อง เชื่อในศักยภาพมนุษย์ ขอเพียงมีโอกาส

Alternative Text
VISUAL NOTE TAKER

วรรวิสาข์ อินทรครรชิต

นักออกแบบ และนักการศึกษา ผู้สนุกกับประเด็นและเรื่องราวรอบโลก ชอบทำเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย ผ่านศิลปะและการสื่อสารด้วยภาพแบบ Visual note, Visual Recording และวิดีโอ เป็นนักเจื้อยแจ้วแห่ง FB: Mairay May