ปัญหา ‘คน’ เดือดร้อนเพราะ ‘ลิง’ ที่ลพบุรี ยืดเยื้อกันมานาน สุดท้ายอาจใกล้ได้ข้อสรุปการแก้ปัญหา ที่คงหนีไม่พ้นการจัดที่ทางให้กับลิงได้ไปอยู่อย่างเหมาะสม
แต่อีกมุม ‘หมอเตย - จุฑามาศ สุพะนาม’ สัตวแพทย์ที่คลุกคลีกับลิงลพบุรีมายาวนาน ก็สะท้อนให้สังคมได้ร่วมกันฉุกคิด ว่า ไม่เคยมีสูตรสำเร็จ หรือไม่มีตำราใดที่บอกว่า ลิงที่เติบโตมาท่ามกลางเมืองหรือใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์ จะต้องมีวิถีชีวิตแบบไหน ?
เพราะธรรมชาติของลิงลพบุรี มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของคนที่กระทำต่อพวกมัน การที่ลิงได้รับอาหารแบบมนุษย์ ก็ทำให้การเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ จนทำให้ลพบุรีมีประชากรลิงมากขึ้น นำมาสู่ปัญหาการใช้พื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างลิงกับคน
การจับพวกมันทำหมันเพื่อควบคุมจำนวน อาจไม่ใช่หนทางที่จะจบปัญหานี้ แต่สำคัญคือต้องมีพื้นที่รองรับ และสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมให้กับลิงด้วย ซึ่งหมอเตยเองก็เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่เข้ามามีส่วนดูแลและแก้ไขเรื่องนี้
The Active ชวนหมอเตย ในฐานะสัตวแพทย์ที่ดูแลลิงมาตั้งแต่ปี 2546 เคยเป็นสัตวแพทย์คนแรกประจำโรงพยาบาลลิงในสวนสัตว์ลพบุรี จนในที่สุดต้องมาเปิดคลินิกรักษาลิงที่เจ็บป่วย เป็นที่มาของความผูกพัน เธอจึงเชื่อว่า การแก้ปัญหาลิงที่ยั่งยืน จำเป็นต้อง ‘สร้างสมดุล’ ระหว่างคนกับลิงให้เกิดขึ้นจริง
แต่อีกมุม ‘หมอเตย - จุฑามาศ สุพะนาม’ สัตวแพทย์ที่คลุกคลีกับลิงลพบุรีมายาวนาน ก็สะท้อนให้สังคมได้ร่วมกันฉุกคิด ว่า ไม่เคยมีสูตรสำเร็จ หรือไม่มีตำราใดที่บอกว่า ลิงที่เติบโตมาท่ามกลางเมืองหรือใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์ จะต้องมีวิถีชีวิตแบบไหน ?
เพราะธรรมชาติของลิงลพบุรี มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของคนที่กระทำต่อพวกมัน การที่ลิงได้รับอาหารแบบมนุษย์ ก็ทำให้การเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ จนทำให้ลพบุรีมีประชากรลิงมากขึ้น นำมาสู่ปัญหาการใช้พื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างลิงกับคน
การจับพวกมันทำหมันเพื่อควบคุมจำนวน อาจไม่ใช่หนทางที่จะจบปัญหานี้ แต่สำคัญคือต้องมีพื้นที่รองรับ และสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมให้กับลิงด้วย ซึ่งหมอเตยเองก็เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่เข้ามามีส่วนดูแลและแก้ไขเรื่องนี้
The Active ชวนหมอเตย ในฐานะสัตวแพทย์ที่ดูแลลิงมาตั้งแต่ปี 2546 เคยเป็นสัตวแพทย์คนแรกประจำโรงพยาบาลลิงในสวนสัตว์ลพบุรี จนในที่สุดต้องมาเปิดคลินิกรักษาลิงที่เจ็บป่วย เป็นที่มาของความผูกพัน เธอจึงเชื่อว่า การแก้ปัญหาลิงที่ยั่งยืน จำเป็นต้อง ‘สร้างสมดุล’ ระหว่างคนกับลิงให้เกิดขึ้นจริง