เทคโนโลยีสีเขียวกำลังมา ! ไทยต้องเร่งปรับตัวให้ทันกระแสโลก

รศ.สุจริต คูณธนกุลวงศ์

ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคที่ต้องปรับตัวสู่การเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังจะเห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้ง จีน อินเดีย บราซิล เริ่มพัฒนาคน พัฒนาเทคโนโลยี เชื่อมโยงโอกาส ‘ธุรกิจสีเขียว’ ทำให้ไทยต้องเร่งก้าวให้ทันโลก ด้วยการกำหนดกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการในระยะยาวได้

รองศาสตราจารย์สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ ประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นตัวเร่งที่ทำให้โลกต้องปรับตัว ขณะที่ไทยเองก็ต้องเดินตามแผน ไม่เช่นนั้นอาจไม่ทันการ โดยปรับเปลี่ยนจากวิกฤติไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือประโยชน์จากการปฏิวัติเทคโนโลยีสีเขียวจะเกิดขึ้น

ปัญหาของโลกปัจจุบัน   

โลกปัจจุบันกำลังประสบปัญหาทั้งในแง่ของการใช้ทรัพยากรและมลพิษ เพื่อรักษาความเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นตัวเร่งให้ปัญหาที่สลับซับซ้อนอยู่แล้ว มีความรุนแรงมากขึ้น

ในปี 2023 คาดการณ์ว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเข้าสู่โหมดสูงสุด เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และขาดแรงผลักดันที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานทางเลือก  อีกทั้งรัฐบาลประสบปัญหาไม่อาจหาทางออกที่จะต้องเลือกระหว่าง เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือการลดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น ‘เทคโนโลยีสีเขียว’ จึงกลายเป็นทางออกของการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายทั้งสองเรื่องนี้ได้

เทคโนโลยีสีเขียว เกี่ยวโยงกับการเทคโนโลยีการใช้พลังงานทางเลือก และรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่มีร่วมกับเทคโนโลยีดิจิตอลสมัยใหม่อย่างมีกลยุทธ เช่น บล๊อกเชน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT)   ซึ่งจะก่อให้เกิดการผลิตที่สะอาด (ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ สินค้า และการกำจัดหลังใช้) มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจพร้อมลดภาวะก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ในเวลาเดียวกัน

      

การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีสีเขียว

ในประเทศที่พัฒนาแล้วการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาใช้ ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถกำหนดแนวทางพัฒนา และปรับเปลี่ยนจากวิกฤติไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะต้องมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง สามารถกำหนดกลยุทธ์ และการปฏิบัติการในระยะยาว สร้างนวัตกรรมและความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเพิ่มความยืดหยุ่นต่อวิกฤติที่จะมาในอนาคต

“ปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาในปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดอย่างมาก ในการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถึงแม้เทคโนโลยีทั้งที่มีอยู่ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็น จะมีให้ประยุกต์ใช้ก็ตาม แต่ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ยังมีข้อจำกัด ขาดเงินทุน และต้องการความตั้งใจทางการเมืองอย่างแรงกล้า ในการเปลี่ยนแปลงตามกระแสปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียว ทั้งในแง่เทคนิคและระยะเวลา

สำหรับ ความท้าทายที่มีอยู่ จะต้องรับมือด้วยการ เปลี่ยนมุมมอง (re mindset) ปรับกระบวนการเปลี่ยนผ่าน (reprocess) และการฝึกอบรมใหม่ (retrain/reskill) ให้เป็นการบริโภคแบบใหม่ (new consumption mode) การผลิตสีเขียว (green production) ปรับเป็นการใช้ชีวิตแบบใหม่ (new normal) ด้วยกระบวนการปรับเปลี่ยนแบบรวดเร็วและก้าวกระโดด (quick move and big change) ให้ทันกระแสปฏิวัติโดยเทคโนโลยีสีเขียวที่กำลังเข้ามา

การทบทวนเทคโนโลยีและนวัตกรรม  และแนวโน้มเศรษฐกิจใหม่

รายงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2023 จัดทำโดย UNCTAD มีข้อเสนอที่เน้นการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มาเปิดโอกาสของโลกสีเขียว (การปรับปรุงสินค้าและบริการเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน เทคโนโลยีจะช่วยลดทั้งด้านลดก๊าซเรือนกระจกและปรับตัว  (mitigation and adaptation)

การประชุม 26th UNCSTD ได้เสนอว่า โลกได้เข้าสู่ยุคการปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียวแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ควรเข้าสู่การปฏิวัติครั้งนี้ตั้งแต่ระยะต้น ผู้แทนหลายประเทศที่เข้าร่วม เน้นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความปลอดภัยของข้อมูล ฯลฯ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ

เทคโนโลยีใหม่ๆที่ช่วยการผลิตสีเขียว

มีการนำเสนอตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มีส่วนช่วยในการผลิตสีเขียว (ดังรูป: เทคโนโลยีใหม่ๆที่ช่วยการผลิตสีเขียว) จากการทบทวนความสำเร็จของประเทศต่าง ๆ ต่อการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และแบ่งประเภทเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็น 4 กลุ่ม ใน green window openings (GWOs) คือ กลุ่มเทคโนโลยีที่เปิดให้ใช้ได้แล้ว  กลุ่มเทคโนโลยีที่กำลังจะเปิดให้ใช้ กลุ่มเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มจะได้ใช้ และกลุ่มเทคโนโลยีที่ยังต้องใช้เวลาอีกโดยแยกจากสภาพเริ่มต้นของเทคโนโลยี และผลที่ได้  บางประเทศอาจจะเริ่มต้นจากฐานที่ไม่พร้อม แต่ด้วยความพยายามอย่างมาก ก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้เช่นกัน  

แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ จากการปฏิวัติเทคโนโลยีสีเขียว

UNCSTD คาดว่า มูลค่าเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหมจะโตกว่า 7 เท่าตัวจากปี 2020 ถึง 2030 ก่อให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ (new economy) ให้กับโลกได้

ความมั่นคงด้านน้ำ และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6

รายงานการหาคำตอบผ่านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI) จัดทำโดยคณะทำงานของ UNCSTD เพื่อสร้างความมั่นใจน้ำปลอดภัยและสุขาภิบาลสำหรับทุกคน ชี้ให้เห็นถึงบทบาท และศักยภาพของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI) ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs ) ข้อ 6 “สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน” ซึ่งจะไปโยงกับการปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียว

ในด้านน้ำ เน้นเรื่องการกระจายและส่งน้ำให้มีประสิทธิภาพ การบริหารน้ำแบบบูรณการ (IWRM) รวมทั้งน้ำกับปัจจัยอื่น (Nexus) และได้นำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเป็นกรณีตัวอย่าง เช่น การใช้วิทยาการสมัยใหม่ที่ช่วยเรื่องประปาและสุขาภิบาลในภูมิภาคแอฟริกา ตัวอย่างของฟิลิปปินส์,  การใช้เทคโนโลยีแผนที่และการจำลองของ IWA, และกรณีจากประเทศไทยที่ใช้เทคนิคดาวเทียม เทคนิคเอไอ ในการบริหารเขื่อนและโครงการชลประทาน  (ผลงานวิจัยของแผนงานเข็มมุ่งด้านการจัดการน้ำสนับสนุนโดย สกสว และวช.) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปใช้ ยังต้องคำนึงถึง นวัตกรรมด้านนโยบาย กระบวนการ และสังคม จึงจะสามารถนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดผลอย่างยั่งยืนได้ นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชน ตั้งแต่ การใช้ของเทคโนโลยีได้ ประชาชนซี้อได้ สนใจ เข้าถึง และมีความสามารถในการใช้งานได้ เพื่อช่วยให้การพัฒนาสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 6 ได้ด้วย

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการจัดการน้ำและสุขาภิบาลในพื้นที่
องค์ประกอบที่ทำให้การใช้นวัตกรรม ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน

ตัวอย่างการผลิตสีเขียว   

ด้านการผลิต คณะทำงานของ UNCSTD ได้รายงานผลติดตามดำเนินงานการประชุมปีที่แล้วเกี่ยวกับ การผลิตอย่างสะอาด ผลิตผลสูงและแข่งขันได้ (ในนามของ industry 4.0) แต่เนื่องจากโลกปัจจุบันต้องการเศรษฐกิจใหม่ ลดคาร์บอน ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเข้าสู่การปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อตอบโจทย์ข้างต้น  การประชุม UNCSTD ในปีนี้จึงเน้นให้ประเทศกำลังพัฒนาเปิดหน้าต่างสีเขียวเพื่อหาโอกาส (green windows of opportunities) โดยพัฒนาศักยภาพของคน  วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง และเชื่อมโยงกับการพัฒนาธุรกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยีกับต่างๆ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสีเขียว โดยยกตัวอย่างหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (เช่น อินเดีย จีน บราซิล)

ผลการวิเคราะห์ระดับทักษะ และ ความสามารถในการส่งออก สามารถแยกประเทศออกเป็นสี่กลุ่ม  คือ ประเทศที่มีฝีมือและมีโอกาส ประเทศมีฝีมือกับโอกาสต่ำ ประเทศไม่มีฝีมือแต่มีโอกาส และ ประเทศไม่มีฝีมือและโอกาสต่ำ 

ข้อสรุปจากที่ประชุมสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา ควรกระจายประเภทสินค้าและบริการ พร้อมเพิ่มความสามารถในการผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจในกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยทาง UNCSTD จะช่วยสร้างการยอมรับสำหรับกรณีสำเร็จของธุรกิจต่าง ๆ และสร้างพันธมิตรในระดับนานาชาติ เพื่อเคลื่อนย้ายทรัพยากร และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคต่อนโยบายผสมผสานที่มีประสิทธิผล

สุดท้าย จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานต่อระบบนวัตกรรมกับประเทศสมาชิก ผ่านเครือข่ายและโปรแกรมนานาชาติเพื่ยยกระดับความสามารถทางนวัตกรรม

ความสัมพันธ์ของระดับเทคโนโลยีและความสามารถนวัตกรรม ต่อประโยชน์ที่จะได้จากอุตสาหกรรม 4.0

สิ่งที่ต้องเตรียมตัว

รายงานผลการทบทวนนโยบาย STI ที่ทาง UNDP ไปช่วยในประเทศแองโกลาและบอตสวานา เพื่อจัดระบบและโครงสร้าง STI ของประเทศ ได้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลหลายประการ รวมการปรับโครงสร้างของระบบนวักรรม (เพื่อบูรณการงานของกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม และนำเสนอตัวอย่างความร่วมมือเด่นที่ดำเนินการภายใต้ UNCSTD เช่น โครงการสร้างความสามารถในการวางแผนการปลูกพืช โดยโปรแกรม cropwatch ของจีน  โครงการพัฒนานักวิทยาศาสตร์สตรีของญีปุ่น การใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำหรับเมืองของอียู และโครงการฝึกอบรมด้าน BCG ของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว) ที่เสนอโดยทีมไทยในปีนี้

ปัจจุบันมีแนวโน้มการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสีเขียวมากขึ้น ผ่านกลไกกองทุน ทั้งของหน่วยงานระหว่างประเทศ และภาคเอกชน ที่สนใจให้เงินทุน หรือ ร่วมลงทุนใน startup ที่จะส่งผลต่อธุรกิจในอนาคต ปัจจัยสำคัญสำหรับประเทศในการรองรับการสร้างนวัตกรรมและการลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียวจากต่างประเทศ จะเป็นการสร้างความสามารถนวัตกรรม (ทั้งเรื่องและกำลังคน) ให้มีจำนวนและคุณภาพเพียงพอทีจะรองรับนวัตกรรมจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ นี้ ผ่านการลงทุนในการวิจัย พัฒนา นวัตกรรมในประเทศ   การเลือกเรื่องหรือภาคส่วนที่จะทำนวัตกรรม จะต้องเลือกเชิงกลยุทธ์ ให้เหมาะกับพี้นที่ และระดับที่ต้องการ อย่างเหมาะสม จึงจะสามารถได้การสนับสนุนจากฝ่ายการเมีอง และการยอมรับและใช้งานได้ของประชาชนในพื้นที่  นอกจากนี้ ในการออกแบบกระบวนการและเวลา อาจต้องพิจารณาแนวทางของการปรับเปลี่ยนแบบ quick move and big change ให้ทันกับกระแสปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียว

สุดท้ายนี้ บทบาทของการเมืองเพื่อสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีสีเขียว มีความสำคัญอย่างยิ่ง และได้สรุปบทบาทที่พึงมีไว้ 5 ประการ คือ การติดตามควบคุม การรับมือกับการเปลียนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะเกิดขึ้น การเตรียมงบสำหรับการกระจายเทคโนโลยี การแก้ไขปัญหาแรงต้านและแรงเฉื่อยขององค์กร ประสานงานกับภาคส่วนและผู้ปฏิบัติให้ทำงานร่วมกันได้

การจัดโครงสร้าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตรรม รองรับ

บทสรุป

สถานการณ์โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุคที่ต้องการปรับตัว จากภาวะที่ต้องการการเติบโตและลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะเวลาที่เหมาะสม ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน  การนำเทคโนโลยีสีเขียวซึ่งรวมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ จะเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาการพัฒนาและการลดก๊าซเรือนกระจกได้ในเวลาเดียวกัน และคาดว่าจะทำให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ในอนาคตอันใกล้

รายงานการหาคำตอบผ่านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI) จัดทำโดยคณะทำงานของ UNCSTD เพื่อสร้างความมั่นใจน้ำปลอดภัยและสุขาภิบาลสำหรับทุกคน ชี้ให้เห็นถึงบทบาท และศักยภาพของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI) ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 6  ซึ่งโยงกับการปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียว     

“ตัวอย่างการสร้างความมั่นคงด้านน้ำ และการผลิตสีเขียว ทำให้เห็นประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตัล เพื่อการปรับปรุง การปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียวจึงเป็นภาวะที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว  ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาควรเตรียมตัวรับต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยวางระบบวิจัยนวัตกรรมอย่างเหมาะสม พร้อม สร้างความสามารถในการวิจัยนวัตกรรม และกำลังคนให้มีจำนวนที่เพียงพอ ต่อการเปลี่ยนผ่าน ทั้งจากในและจากต่างประเทศ ซึ่งมีตัวอย่างที่ดีหลายประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาให้เรียนรู้”

ด้านการผลิต คณะทำงานของ UNCSTD ได้รายงานผลติดตามดำเนินงานการประชุมปีที่แล้วเกี่ยวกับ การผลิตอย่างสะอาด ผลิตผลสูงและแข่งขันได้ (ในนามของ industry 4.0) แต่เนื่องจากโลกปัจจุบันต้องการเศรษฐกิจใหม่ ลดคาร์บอน ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเข้าสู่การปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อตอบโจทย์ข้างต้น  การประชุม UNCSTD ในปีนี้จึงเน้นให้ประเทศกำลังพัฒนาเปิดหน้าต่างสีเขียวเพื่อหาโอกาส (green windows of opportunities) โดยพัฒนาศักยภาพของคน  วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง และเชื่อมโยงกับการพัฒนาธุรกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยีกับที่ต่างๆ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสีเขียว โดยยกตัวอย่างหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (เช่น อินเดีย จีน บราซิล)

ปัจจุบันมีแนวโน้มการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสีเขียวมากขึ้น ผ่านกลไกกองทุน ทั้งของหน่วยงานระหว่างประเทศ และภาคเอกชน ที่สนใจให้เงินทุน หรือ ร่วมลงทุนใน startup ที่จะส่งผลต่อธุรกิจในอนาคต ปัจจัยสำคัญสำหรับประเทศในการรองรับการสร้างนวัตกรรมและการลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียวจากต่างประเทศ เป็นการสร้างความสามารถนวัตกรรม (ทั้งเรื่องและกำลังคน) ให้มีจำนวนและคุณภาพเพียงพอทีจะรองรับนวัตกรรมจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ นี้ ผ่านการลงทุนในการวิจัย พัฒนา นวัติกรรมในประเทศ  การเลีอกเรื่องหรือภาคส่วนที่จะทำนวัตกรรม จะต้องเลือกเชิงกลยุทธ ให้เหมาะกับพี้นที่ และระดับที่ต้องการ อย่างเหมาะสม จึงจะสามารถได้การสนับสนุนจากฝ่ายการเมีอง และการยอมรับและใช้งานได้ของประชาชนในพื้นที่  นอกจากนี้ในการออกแบบกระบวนการและเวลา อาจต้องพิจารณาแนวทางของการปรับเปลี่ยนแบบ quick move and big change ให้ทันกับกระแสปฏิวัติด้วยเทคโนโลยีเขียว ภายใต้การสนับสนุนทางการเมืองต่อการเปลี่ยนผ่านอย่างต่อเนื่อง


อ้างอิง

  • https://unctad.org/meeting/commission-science-and-technology-development-twenty-sixth-session
  • https://unctad.org/tir2023         
  • https://unctad.org/meeting/roundtable-discussion-10-member-group-technology-and-innovation-report-2023-opening-green
  • Xiaolan Fu, Opening Green Windows: The role of stakeholders & international cooperation Technology and Management Centre for Development, University of Oxford, presented at 26th UNCSTD meeting, March 2023.
  • Angel Gonzalez Sanz, ENSURING SAFE WATER AND SANITATION FOR ALL-A Solution through Science, Technology and Innovation, presented at 26th UNCSTD meeting, March 2023.
  • Sucharit Koontanakulvong, STI solutions for dam, irrigation and community management to ensure safe water and sanitation for all  (Thailand case study), presented at 26th UNCSTD meeting, March 2023.
  • UNDP, Angola STI Policy Reviews, March 2023 (UNCTAD/DTL/STICT/2022/7).
  • https://asia.nikkei.com/Spotlight/Environment/Climate-Change/Mitsubishi-Corp.-to-launch-1bn-decarbonization-fund-for-startups?utm_campaign=IC_one_time_free&utm_medium=email&utm_source=NA_newsletter&utm_content=article_link&del_type=3&pub_date=20230507093000&seq_num=12&si=01100970  

Author

Alternative Text
AUTHOR

นิตยา กีรติเสริมสิน

สนใจวงการบันเทิงตั้งแต่เด็ก รักการพูด แต่ชีวิตพลิกผันก้าวสู่นักสื่อสารมวลชน รักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดิน น้ำ และความเป็นไปของโลก คิดบวก มองทางเลือกใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์