IO กับสังคมไทย… ทำไมต้องปฏิบัติการนี้? | สฤณี อาชวานันทกุล

หลังเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการ​ IO (Information Operation)​ หรือ ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร ‘สฤณี อาชวานันทกุล’ นักเขียน นักแปล และนักวิชาการอิสระ พบว่าปฏิบัติการดังกล่าวส่งผลกระทบวงกว้างต่อสังคม จึงตัดสินใจฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ร่วมกับ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เพื่อให้มีคำสั่งหยุดปฏิบัติการ​ IO ของกองทัพ เนื่องจากเป็นการใช้ภาษีอย่างไม่สมเหตุสมผล

“กองทัพบก” เคยชี้แจงถึงปฏิบัติการ​ IO​ 3​ ประการ 1) เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตามปกติ 2)​ เป็นการฝึกอบรมโปรแกรม IO ผ่านทวิตเตอร์ เพื่อใช้ในยามสงคราม และ 3)​ เป็นบัญชีส่วนบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือกองทัพ นอกจาก​จะยื่นฟ้องศาลปกครองแล้ว ยังส่งหนังสือร้องเรียนถึง Facebook ให้ปิดบัญชี account ของ​ IO​ และให้มีการสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้นในไทย เนื่องจากผิดนโยบาย Social Media ของ Facebook​

อย่างไรก็ตาม IO เป็นเรื่องที่ยอมรับได้​ เมื่ออยู่ในภาวะสงคราม​ และเป็นเครื่องมือทางทหารโจมตีฝ่ายตรงข้ามในอดีต เรียกว่า​ “ปฏิบัติการจิตวิทยา” หรือ ปจว.​ ปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน​ เพียงย้ายมาอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นการทำสงครามข้อมูลข่าวสารใส่คู่ศัตรู​ สร้าง​ภาพลักษณ์ให้ฝ่ายตนดูดี​ และด้อยค่าฝ่ายตรงข้าม​ แต่​ IO​ ปัจจุบันกับทำสงครามกับประชาชน ผู้เสียภาษีซึ่งเป็นเงินที่นำมาใช้ในปฏิบัติการ

“กรณีที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้​ คือ คนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐ ถูกมองว่าเป็นคนไม่รักชาติ แต่จริง ๆ แล้วไม่มีทางที่จะเป็นศัตรูของชาติได้ ดังนั้น ใครที่ไม่เห็นด้วยก็ควรต่อสู้กันอย่างเปิดเผยใบหน้า สิ่งที่ยอมรับไม่ได้เลย สำหรับปฏิบัติการ IO​ ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ 1)​ เป็นการใช้เงินภาษีของคนจ่ายภาษีมาโจมตีคนที่จ่ายภาษี 2)​ ใช้บัญชีปลอม และ 3)​ สร้างเนื้อหาบิดเบือน”

ทั้งนี้ เป้าหมายของ​ IO​ คือ 1)​ ทำให้คนรู้สึกว่ามีกองเชียร์ มีคนสนับสนุนเยอะมาก 2)​ ด้อยค่าด้วยเนื้อหาที่บิดเบือน โดยบางครั้งไม่ต้องการจะเปลี่ยนใจของผู้รับสาร​ เพียงแต่เพื่อให้คนที่เชียร์มีเหตุผลที่จะเชียร์ต่อไปอย่างสุดโต่ง และ 3)​ ก่อกวนบรรยากาศการพูดคุย ซึ่งนับเป็นผลกระทบเชิงสังคมที่ทำให้เกิดความแตกแยก​ ด้วยการก่อกวน​ ปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้คนคุยกันแบบใกล้ชิดมากขึ้น​ กรณีนี้มีตัวอย่าง​ เช่น การชุมนุมอาจมีการเสี้ยม​ หรือยุยง​ จาก​ IO จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

เธอยกตัวอย่างเหตุการณ์ใน “สหรัฐอเมริกา” มีกฎหมายระบุห้าม กระทรวงกลาโหมนำงบประมาณไปควบคุมความคิดเห็นของประชาชน ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม นอกจากนี้ บริษัทโซเชียลมีเดียใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter และ YouTube ต่างระบุตรงกันว่า การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนตัวเป็น ๆ พูดคุยกัน แต่ถ้ามีการสร้างเครือข่ายเป็นระบบ​ ปลอมและปกปิดตัวเอง ถือเป็นการบิดเบือนแบบฟอร์ม ที่ผิดนโยบายโซเชียลมีเดีย
แม้การผลิตเนื้อหาชวนเชื่อ​ จะมีจากทุกฝ่ายแต่ปฏิบัติการ IO​ ที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน

ความน่ากังวล​ ก็คือ 1)​ เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ปฏิบัติการเอง 2)​ สื่อมวลชนที่เชียร์รัฐบาลผลิตเนื้อหาบิดเบือน และให้ IO​ ไปปล่อยในแพลตฟอร์มต่าง ๆ​ และ 3) เอเจนซี่รับงานมาสร้างเพจเหมือนคนทั่วไป ผลิตเนื้อหาบิดเบือน ทั้งนี้ ระบบงบประมาณในสภามีการระบุถึงการใช้งบประมาณประชาสัมพันธ์ของรัฐ แต่อย่างมากก็บอกเพียงเป็นตัวเลขกลม ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด ปัจจุบัน​จึงมีความพยายาม​ ผลักดัน​ ร่าง​ พ.ร.บ.ข้อมูลสาธารณะ​ แทน​ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ​ เพื่อขยายและตรวจสอบการใช้เงินประชาสัมพันธ์ของรัฐโดยละเอียด


Author

Alternative Text
AUTHOR

วชิร​วิทย์​ เลิศบำรุงชัย

ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ThaiPBS