ขึ้นค่าตอบแทนบุคคลากรทางการแพทย์ทั้งระบบ มีผลบังคับใช้พรุ่งนี้

เปิดอัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2566 ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักรังสี นักกายภาพบำบัด ยันเจ้าหน้าที่เปล ขณะที่ 5 ชมรมพยาบาล เสนอ 4 แนวทางแก้ไขปัญหา “พยาบาลลาออก” 

วันนี้ (27 มิ.ย) 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2566 ลงนามโดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จึงสมควรกำหนดอัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 วรรคสาม (2) (ก) (ง) แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 และข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. 2561

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0402.3/13894 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2566”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป)

ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2561

ข้อ 4 การจ่ายเงินบำรุงเพื่อเป็นค่าตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการที่หน่วยบริการพิจารณาจัดขึ้นเพื่อลดความแออัดและตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุมเหมาะสม

เพิ่มทางเลือกและโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรทุกด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดสร้างความมั่นคงด้านการเงินการคลังสุขภาพให้กับหน่วยบริการ 

สำหรับอัตราค่าตอบแทนแพทย์และทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานที่คลินิกผู้ป่วยนอก (OPD) ในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการจะได้รับค่าตอบแทนสำหรับการตรวจผู้ป่วยรายละไม่เกิน 480 บาท ส่วนอัตราค่าตอบแทนในหอผู้ป่วย (IPD) ได้รับค่าตอบแทนต่อผู้ป่วย 1 รายต่อวัน ไม่เกิน 80% ของอัตราค่าบริการ

อัตราค่าตอบแทนแพทย์ วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์ และจิตแพทย์ในการผ่าตัดหรือหัตถการ ในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ให้ได้รับค่าตอบแทนสูงสุด ไม่เกิน 80% ของอัตราค่าบริการเฉพาะส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมแพทย์ในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ลูกจ้าง พยาบาล เภสัชกร รับ 450-1,100 บาทต่อ 4 ชั่วโมง

ส่วนอัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ หากเป็นเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการที่คลินิกผู้ป่วยนอก (OPD) ในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการให้ได้รับค่าตอบแทนต่อการปฏิบัติงาน 4 ชั่วโมง ดังนี้

1.เภสัชกร อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 1,100 บาท
2.พยาบาลวิชาชีพ อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 950 บาท
3.พยาบาลเทคนิค อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 750 บาท
4.นักรังสีการแพทย์ อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 950 บาท
5.นักเทคนิคการแพทย์ อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 950 บาท
6.นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 950 บาท
7.นักกายภาพบำบัด อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 950 บาท
8.เจ้าหน้าที่พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 550 บาท
9.พนักงานเปล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 450 บาท
10.ลูกจ้างอื่น อัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 450 บาท

นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการในห้องผ่าตัด/ห้องตรวจรักษาพิเศษ ในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ(SpecialInvestigatingRoom/Procedure, OperatingRoom/Procedure) ให้ได้รับค่าตอบแทนเฉพาะที่ปฏิบัติงานในทีมผ่าตัดหรือในห้องตรวจรักษาพิเศษ ดังนี้

1.พยาบาลวิชาชีพให้ได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละราย ในอัตราไม่เกินคนละ 420 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดเล็ก และในอัตราไม่เกินคนละ 720 บาทต่อผู้ป่วย 1 รายในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดใหญ่ กรณีการผ่าตัดผู้ป่วย 1 ราย ที่ใช้เวลาเกินกว่า 2 ชั่วโมง ชั่วโมงถัดไปให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ 200 บาท

2.นักรังสีการแพทย์ นักฟิสิกส์การแพทย์ และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกให้ได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละราย ในอัตราไม่เกินคนละ 420 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษหรือในห้องผ่าตัดเล็ก และในอัตราไม่เกินคนละ 720 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดใหญ่ กรณีการปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วย 1 ราย ใช้เวลาเกินกว่า 2 ชั่วโมง ชั่วโมงถัดไปให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ 200 บาท

นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการในห้องผ่าตัด/ห้องตรวจรักษาพิเศษ ในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ(SpecialInvestigatingRoom/Procedure, OperatingRoom/Procedure) ให้ได้รับค่าตอบแทนเฉพาะที่ปฏิบัติงานในทีมผ่าตัดหรือในห้องตรวจรักษาพิเศษ ดังนี้

1.พยาบาลวิชาชีพให้ได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละราย ในอัตราไม่เกินคนละ 420 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดเล็ก และในอัตราไม่เกินคนละ 720 บาทต่อผู้ป่วย 1 รายในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดใหญ่ กรณีการผ่าตัดผู้ป่วย 1 ราย ที่ใช้เวลาเกินกว่า 2 ชั่วโมง ชั่วโมงถัดไปให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ 200 บาท

2.นักรังสีการแพทย์ นักฟิสิกส์การแพทย์ และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกให้ได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละราย ในอัตราไม่เกินคนละ 420 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษหรือในห้องผ่าตัดเล็ก และในอัตราไม่เกินคนละ 720 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ในกรณีปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดใหญ่ กรณีการปฏิบัติหน้าที่ในห้องตรวจรักษาพิเศษ หรือในห้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วย 1 ราย ใช้เวลาเกินกว่า 2 ชั่วโมง ชั่วโมงถัดไปให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ 200 บาท

5 ชมรมพยาบาล เสนอ 4 แนวทางแก้ไขปัญหา “พยาบาลลาออก” 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังผู้แทนชมรมพยาบาล 5 ชมรม ประกอบด้วย ชมรมผู้บริหารทางการพยาบาลแห่งประเทศไทย ชมรมผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ชมรมพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย และชมรมพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เข้าพบเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านกำลังคนทางการพยาบาล ว่า ปัจจุบันพยาบาลเป็นวิชาชีพหนึ่งที่กำลังมีปัญหาขาดแคลน ขณะที่ปัญหาสุขภาพและความต้องการบริการสุขภาพของประชาชนมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กองการพยาบาลสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงมีการประชุมหารือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิประธานเครือข่ายพยาบาลเขตสุขภาพ ทั้ง 13 เขต ผู้แทนพยาบาลจากชมรมต่างๆ และร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นปัญหา/แนวทางแก้ไขด้านกำลังคนทางการพยาบาลทั้งระบบ เพื่อนำเสนอผู้บริหารพิจารณาตัดสินใจเชิงนโยบาย

โดยมีข้อเสนอการแก้ไขปัญหาด้านกำลังคนทางการพยาบาล 4 ประเด็น ได้แก่1.การบริหารอัตรากำลังทางการพยาบาล ซึ่งจากการวิเคราะห์ภาระงานพบว่าปัจจุบันมีพยาบาลเพียง 77% ของกรอบอัตรากำลังที่ควรมี และยังต้องทำงานทดแทนกำลังคนที่ลาป่วย/คลอด/ลาศึกษาต่อ ส่งผลให้ชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์สูงเกินกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งยังมีการสูญเสียพยาบาลที่มีประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญ จากการเกษียณอายุราชการด้วยจึงขอให้เพิ่มตำแหน่งการจ้างงานพยาบาลวิชาชีพ และผู้ช่วยพยาบาล และปรับให้ใช้เลขตำแหน่งว่างของผู้เกษียณได้เร็วขึ้น รวมถึงเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยทดแทนการทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะทางวิชาชีพ

2.ด้านความก้าวหน้า ค่าตอบแทนและคุณภาพชีวิต พยาบาลวิชาชีพในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังมีความเหลื่อมล้ำกับผู้ที่ปฏิบัติงานในสังกัดกรมต่างๆ จึงขอเพิ่มการกำหนดระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้ 20% ของพยาบาลวิชาชีพที่มี และเพิ่มระดับเชี่ยวชาญ ในโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พร้อมทั้งปรับเพิ่มค่าจ้างพยาบาลวิชาชีพประเภทลูกจ้างชั่วคราว และปรับค่าตอบแทนเงินเพิ่มพิเศษให้ทัดเทียมกับกระทรวงอื่น ดูแลสวัสดิการและคุ้มครองการทำงานให้มีความปลอดภัย รวมถึงมีสิทธิประโยชน์แก่ทายาท กรณีที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากการปฏิบัติงาน

3.สมรรถนะและแผนพัฒนากำลังคนทางการพยาบาล จะมีการกำหนดแผนพัฒนาขีดความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ คือ พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ผู้มีประสบการณ์สูงทางคลินิก ตลอดจนพยาบาลรุ่นเยาว์ และจัดตั้งศูนย์ศึกษาด้านการพยาบาล (ชั้นคลินิก) เพื่อพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลในแต่ละเขตสุขภาพ

และ 4. ด้านโครงสร้างหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอให้มีการทบทวนโครงสร้างงานบริการพยาบาล ให้สอดคล้องกับบริการสุขภาพเพิ่มขึ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะ บริการไตเทียม บริการสุขภาพจิตและยาเสพติด เป็นต้น และควบรวมบริการสุขภาพบางประเภทในโรงพยาบาลขนาดเล็ก รวมถึงกำหนดพยาบาลวิชาชีพในกลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active