วาเลนไทน์ปลอดภัยใช้ถุงยางลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

กรมควบคุมโรคชี้คู่รักยังใช้ถุงยางในอัตราที่ต่ำ โรคซิฟิลิสในกลุ่มวัยรุ่นยังมีแนวโน้มเกิดโรคสูงขึ้นในรอบ 5 ปี  อย. ย้ำเลือกถุงยางให้เหมาะสม ได้มาตรฐาน

สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย  โดยกรมควบคุมโรคเปิดเผยว่า โรคซิฟิลิสในกลุ่ม วัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15- 24 ปี มีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในรอบ 5 ปี ท่ีผ่านมา ข้อมูลปี พ.ศ. 2564 พบอัตราป่วยโรคซิฟิลิส 50.5 ราย ต่อประชากรแสนคน สูงข้ึน 2.5 เท่าจาก ปี พ.ศ. 2560 ท่ีพบอัตราป่วยโรคซิฟิลิส 20.2 ราย ต่อประชากรแสนคน 

สำหรับอัตราป่วยโรคหนองในยังคงสูง ในปี พ.ศ. 2564 มีอัตราป่วยโรคหนองใน 45.6 ราย ต่อประชากรแสนคน  สอดคล้องกับข้อมูลอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนท่ียังต่ำ จากข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมท่ีสัมพันธ์กับการติดเชื่อเอชไอวี (BSS) โดยในปี พ.ศ. 2562 มีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยคร้ังล่าสุดท่ีมีเพศสัมพันธ์ เพียงร้อยละ 80.3 และการใช้ถุงยางอนามัยอย่าง สม่ำเสมอทุกครั้งยังมีอัตราต่ำมาก โดยเฉพาะการใช้ถุงยางอนามัยกับแฟนและคนรัก มีอัตราไม่ถึงร้อยละ 40

ถุงยาง

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า คู่รักหลายคู่มีการแสดงความรักด้วยการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงตระหนักถึงความสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน หรือปัญหาการใช้ถุงยางอนามัยไม่ถูกต้องและไม่ได้มาตรฐาน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ซึ่งสิ่งที่สามารถป้องกันได้ง่ายและเป็นพื้นฐาน คือ การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง ซึ่งถุงยางอนามัย จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ต้องมีใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งรายการละเอียดในการผลิตหรือนำเข้า ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 กำหนดให้มีมาตรฐานและข้อกำหนดตาม มอก.  625-2559 หรือ ISO 4074 : 2015 ซึ่งถุงยางอนามัยถือเป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด ในปัจจุบัน มีความหลากหลายมากขึ้นเช่น มีความบาง มีหลายสี หลายกลิ่น และหลายพื้นผิว เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้ซึ่งถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น โรคซิฟิลิส โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคแผลริมอ่อน โรคกามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง และโรคเริม เป็นต้น 

“ประชาชนควรเลือกซื้อถุงยางอนามัยที่มีเลขใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์หรือใบรับแจ้งรายการละเอียด ซึ่งรับรองจาก อย. ควรสังเกตดูวันที่ผลิต วันหมดอายุก่อนซื้อ ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของอวัยวะเพศ และสวมเพียงชั้นเดียวเท่านั้น เพราะการใส่ถุงยางอนามัยหลายชั้นจะทำให้เกิดการเสียดสีกันและฉีกขาดได้ นอกจากนี้ไม่ควรใช้น้ำมันทาผิว โลชั่นหรือปิโตรเลียมเจลลี แทนสารหล่อลื่น เพราะถุงยางอนามัยจะเสื่อมประสิทธิภาพและฉีกขาดได้ง่าย รวมทั้งควรเก็บรักษาให้ถูกวิธี เพื่อคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพที่สูงสุด ควรเก็บถุงยางอนามัยในที่แห้ง เย็น ไม่ถูกแสงแดดหรือแสงฟลูออเรสเซนต์  ไม่ควรเก็บถุงยางอนามัยไว้ในช่องเก็บของรถยนต์ซึ่งมีอุณหภูมิสูงในตอนกลางวัน กระเป๋าใส่ธนบัตร หรือกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เพราะการกดทับจะทำให้ถุงยางอนามัยมีรอยรั่วหรือฉีกขาดได้”

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active