เดินหน้าคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เข้าถึงสิทธิโอกาสต่าง ๆ ที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียม และมีส่วนร่วมการพัฒนา มั่นใจทุกพรรคการเมือง พร้อมหนุนกฎหมายผ่านฉลุย
วันนี้ (18 ก.ย. 67) ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมด้วยกรรมาธิการฯ แถลงผลการดําเนินงานของคณะกรรมาธิการฯ โดยเริ่มต้นด้วยการแถลงส่งความห่วงใย ถึงพี่น้องที่ประสบอุทกภัยและดินสไลด์ ขอบคุณทุกฝ่ายที่ระดมทุกสรรพกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัย และมองว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์มีศักยภาพในส่วนร่วมต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
“หลายชุมชนชาติพันธุ์ นำ ข้าว ปลา อาหาร หรือสิ่งของที่มีบนศักยภาพชุมชน อย่างล่าสุด ชุมชนกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ บ้านดอยช้างป่าแป๋ จ.ลำพูน ขนอุปกรณ์ต่างๆเพื่อไปช่วยเหลือในการฟื้นฟูพื้นที่พี่น้องผู้ประสบภัยพิบัติในจ.เชียงราย นี่มำให้เห็นว่า หากพวกได้รับการคุ้มครองส่งเสริมเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียม จะเป็นหลังหรืออีกเรี่ยวแรงสำคัญที่ช่วยประเทศชาติได้ “
ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีองค์ประกอบจากทั้งผู้แทนคณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง และภาคประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมาย จํานวน 42 คน โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีการประชุมครั้งแรก เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 และได้ประชุมอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน รวมจํานวนทั้งสิ้น 28 ครั้ง ย้ำว่า การขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัตินี้จึงเป็นวาระที่สําคัญของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดัน ถือเป็นความก้าวหน้าของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ สังคมพหุวัฒนธรรมที่โอบรับคนทุกกลุ่มวัฒนธรรมไว้อย่างเสมอภาคกัน
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. นี้ เป็นร่างพระราชบัญญัติ ที่ยกร่างขึ้นใหม่ทั้งฉบับเป็นครั้งแรก โดยมีเจตนารมณ์ให้เป็นกฎหมาย “คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ ทางวัฒนธรรม” เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์มีอัตลักษณ์และการสั่งสมทางวัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และความเชื่อตามจารีตประเพณีเป็นของตนเอง จึงมีความจําเป็นต้องมีบทบัญญัติ เพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ให้สามารถดํารงวิถีชีวิตของตนได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบกับมาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดํารงชีวิต ในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้นําเนื้อหาจาก ร่างพระราชบัญญัติฉบับต่าง ๆ ที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการมาบัญญัติรวมไว้ในร่างพระราชบัญญัติ ของคณะรัฐมนตรี ซึ่งใช้เป็นหลักในการพิจารณาพร้อมทั้งได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยมีสาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้
ส่วนที่ 1 หลักพื้นฐานแห่งสิทธิและการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ (หมวด 1 ) มีบทบัญญัติรับรองให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน อาทิ สิทธิที่จะได้รับ การคุ้มครองศักดิ์ศรคีวามเป็นมนุษย์โดยต้องไม่เหยียดหยามสร้างความเกลียดชังหรือเลือกปฏิบัตโิดยไม่เป็นธรรม ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิในการจัดการศึกษาด้วยภาษาของตนเอง สิทธิในที่ดินและการเข้าถึง ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม สิทธิในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพ
ส่วนที่ 2 กลไกการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ (หมวด 2 หมวด 4 หมวด 5 ) กําหนดให้มี กลไก 2 ระดับ ประกอบด้วย กลไกระดับนโยบาย กําหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน โดยมีผู้อํานวยการศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นกรรมการและเลขานุการ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) รับผิดชอบงาน วิชาการและธุรการของคณะกรรมการ และกลไกระดับปฏิบัติการ กําหนดให้คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการอื่น โดยมีกลไกที่สําคัญ 2 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ทําหน้าที่ในการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองฯ ตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด และคณะอนุกรรมการจัดทําข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ ทําหน้าที่ในการจัดทําข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อเป็นข้อมูลและองค์ความรู้ที่ใช้ในการกําหนดนโยบายและแก้ไขปัญหาด้านชาติพันธุ์
ส่วนที่ 3 การจัดตั้งสภากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย (หมวด 3 ) เพื่อให้เป็นกลไกการมีส่วนร่วม ของกลุ่มชาติพันธุ์ตลอดจนเป็นศูนย์ประสานงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจอันดี และเสนอนโยบาย มาตรการคุ้มครอง และส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ต่อคณะกรรมการ
ส่วนที่ 4 การจัดทําฐานข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ (หมวด 4 ) กําหนดให้ มีการจัดทําฐานข้อมูลกลางของประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสําคัญประกอบการกําหนดนโยบาย การพิสูจน์ ข้อเท็จจริงในการรับรองสถานะบุคคล สิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการดําเนินกิจการของรัฐที่อาจกระทบ ต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
ส่วนที่ 5 การจัดตั้งเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ (หมวด 5 ) บัญญัติให้คณะกรรมการ มีอํานาจประกาศกําหนดพื้นที่คุ้มครองฯ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองวิถีชีวิตและวัฒนธรรม การรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน และการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ตามภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ การกําหนดพื้นที่คุ้มครองฯ ไม่ใช่เป็นการให้สิทธิพิเศษ แก่กลุ่มชาติพันธุ์ แต่เป็นการคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ในฐานะชุมชนดั้งเดิม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในการเข้าถึง ทรัพยากร เป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะดําเนินการได้ ก็ต่อเมื่อมีข้อตกลง ร่วมกันระหว่างชุมชนกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ซึ่งไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่แต่อย่างใด
ส่วนที่ 6 บทกําหนดโทษ (หมวด 6 ) เมื่อการคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ตามหมวด 1 ได้มีการระบุห้าม มิให้การกระทําการใด ๆ อันเป็นการเหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์และชน เผ่าพื้นเมือง ตลอดจนห้ามมิให้บังคับให้กลุ่มชาติพันธุ์ต้องผสมกลมกลืนทางศาสนา วัฒนธรรม หรือทําลาย วัฒนธรรมของตนไว้ จึงต้องมีการกําหนดบทลงโทษกรณีมีผู้ละเมิดดังกล่าว
ทั้งนี้ ในการยกร่างพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีเป้าหมายสําคัญในการเปลี่ยนพื้นที่ ความเห็นต่างให้เป็นพื้นที่สร้างความสัมพันธ์ สานพลังสังคมพหุวัฒนธรรม ตามหลักการสากล เป็นสําคัญ
ขณะที่ ณัฐวุฒิ บัวประทุม รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ คนที่ 2 กล่าวว่า นี่น่าจะเป็นกฎหมายอีกฉบับ ที่ทำให้เห็นว่า ไม่ว่าจะพรรครัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ต่างมีความมุ่งมั่นตั้งใจในทิศทางเดียวกันเพื่อคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ อาจจะมีการสงวนคำแปรญัตติบางประการ ทั้งในเชิงเนื้อหาสาระ และเชิงเทคนิคของกม. แต่ กมธ. นี้ต่างพิจารณาทุกมาตราอย่างถี่ถ้วนแล้ว ซึ่งมั่นใจจะชี้แจงต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เข้าใจ มั่นใจฉันทามติผ่านร่างกฎหมายทุกวาระ และเมื่อถึงชั้นวุฒิสภาก็จะมีการตั้งกรรมาธิการ ที่มีสัดส่วนตัวแทนพี่น้องชาติพันธุ์ เช่นกัน
ด้าน ศักดิ์ดา แสนมี่ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กล่าวขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ที่ผ่านการเห็นชอบตั้งแต่วาระ 1 ซึ่งการพิจารณาเป็นร่างของ กมธ.ฯนั้น ได้รวมหลักการสาระ หลักการสำคัญทั้ง 5 ร่าง ที่ทุกฝ่ายเสนอมารวมในร่างนี้แล้ว และเชื่อว่าพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนต่อเนื่อง คือให้การสนับสนุนวาระ 2-3 และต้องขอขอบคุณล่วงหน้าเลยเพราะแทบทุกคนที่คุยกันทั้งในและนอกวง ต่างเห็นว่าอยากมีกฎหมายคุ้มครองวิถีชีวติชาติพันธุ์ในสังคมไทย ทำให้เป็นประเทศไทยเราเป็นประเทศมีอาริยะ สามารถขับเคลื่อนความหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมพหุวัตธรรมแบบไทย เป็นส่วนหนึ่งในส่วนร่วมพัฒนาประเทศยั่งยืนได้
จักรภพ เพ็ญแข ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนในประเทศ จะภูมิใจได้กับผลงานของกมธ.ชุดนี้ เนื่องจากว่า ในการเมืองเรามองเห็นขัดแย้ง ความเห็นไม่ตรงกัน แต่นานๆครั้ง เราจะได้มองในสิ่งที่เป็นฉันทามติ ในการยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความหลากหลายในสังคม ซึซึ่งเดิมที ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนไม่ยอมรับได้ถึงขนาดนั้น และกลายเป็นปัญหาต่างๆผ่านมานับ 100 ปี
“ เพราะฉะนั้นวันนี้ที่ร่างกฎหมายผ่านกมธ.ฯ เดินหน้าสู่วาระ 2-3 เราหวังว่าสิ่งนี้จะเริ่มต้นในการสร้างสังคมไทยยุคใหม่ ที่ทุกคนมองเห็นสิ่งที่มากไปกว่าตัวเอง และคนรอบตัว แต่มองไปถึงคนที่ไกลออกไป เผื่อแผ่เขา ที่ไม่ใช่ความสงสาร แต่เป็นความเข้าใจ การนับถือ และความยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นในุษย์อย่างแท้จริง “
จักรภพ เพ็ญแข ที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์