ช่องว่างไทยกับการรับมือสภาพภูมิอากาศแปรปรวนที่ต้องปรับให้ทัน ‘โลกเดือด’

ไทยอยู่อันดับ 9 ของโลกที่เผชิญความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ​ นักวิชาการ แนะต้องออกแบบนโยบาย ลงลึกท้องถิ่นสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนพร้อมความรู้และงบประมาณ ลดความสูญเสียได้

คาดการณ์กันว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 ที่เผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเผชิญกับเหตุการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่า 140 ครั้งเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 7,719 ล้านดอลลาร์สหรัฐ​ โดยคาดว่า GDP ของไทย​จะลดลงร้อยละ 4.9 ในปี พ.ศ. 2591 ในกรณีอุณหภูมิสูงขึ้น ไม่เกิน 2 °C ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะยิ่งซ้าเติมปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาเมืองให้มีความรุนแรงมากยิ่งขี้น โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องทางด้านน้า ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และการขาดแคลนน้ำ

รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต

รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อผลกระทบโลกร้อนและความเปราะบางสูงเพราะการออกแบบนโยบายยังไม่ครอบคลุม แม้จะมีความพยายาม ตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate Change) แต่ในอดีตที่ผ่านมา ในระบบการทำงานมีการตั้งคณะกรรมการหลายชุดมาก เรื่อง Climate Change  เป็นเรื่องของการเชื่อมโยงกันหลายภาคส่วนแต่ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสคุยกันเลย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทำให้ไทยสอบผ่านไม่กี่ตัวชี้วัดจาก 17 เป้าหมาย ถ้านายกรัฐมนตรีมาดูแลโดยตรง และเชื่อมโยงการทำงานกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นเรื่องที่ดีมีทิศทางที่ชัดเจน

“ปัจุบันหลายคนอาจมองว่า Climate Change เป็นเรื่องยาวกว่าจะเห็นผลกระทบก็เสียชีวิตไปแล้ว ผมเสนอว่า คณะกรรมการที่จะเข้ามาดูแลต้องให้เน้นใน กลุ่ม Gen Z  เด็กเยาวชนให้เขาเห็นความสำคัญว่า ถ้า กลุ่ม Gen Y Gen X ไม่ทำแบบนี้เขาจะแย่ เพราะการกระทำระยะสั้นมันส่งผลกระทบต่อระยะยาว เช่นถ้าผ่านไป 5-10 ปีก็มีผลแล้วเพราะอากาศจะแปรปรวนและรุนแรงเพิ่มขึ้น อย่างกรณีน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ถ้าไม่ทำอะไรเลยมันจะเกิดความเสียหายและแก้ยาก เพราะแนวโน้มภัยพิบัติ มีข้อมูลทางวิทยาศาตร์ชี้ชัดว่าจะรุนแรง ​ตรงกับข้อมูลของUN” ​

ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ยังกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีการเสนอโยบายที่มี 10 ภาระกิจต่าง ๆ มีด้านหนึ่งที่อาจต้องอุดช่องว่าง อย่างภารกิจการมีส่วนร่วมภาคประชาชนยังไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก อย่างเช่น องค์ความรู้ งบประมาณ ซึ่งต้องมาจากความคิดประชาชนเพราะพวกเราเป็นผู้ได้รับผลระทบมากที่สุด การเสนอความคิดเบื้องต้นประชาชนในพื้นที่ต้องรู้ดีกว่าส่วนกลาง จึงเป็นเรื่องที่ต้องรับฟัง

“ผมก็อยากเสนอแนะให้มีการประเมินความล่อแหลมความเปราะบาง ของชุมชนทุกพื้นที่โดยมีส่วนร่วมภาคประชาชน เราจะได้หลากหลายความคิดเห็น ส่วนกลางก็จะเอามาประเมินว่าอะไรที่คล้ายกันจัดกลุ่มบริหารจัดการ และดำเนินการมาตรการลงไป

พิริยะ อุไรวงศ์ ผู้จัดการแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

พิริยะ อุไรวงศ์ ผู้จัดการแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า เราเลยภาวะโลกร้อนแล้ว เรามาสู่ภาวะโลกเดือดแล้ว ซึ่งปัจจุบันจะเห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรุนแรง ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง อากาศร้อน จากแนวโน้มผลกระทบโลกร้อนที่มีการศึกษาและเก็บข้อมูลพบว่า ปัจจุบันมีวันที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 35 องศาเซลเซียสเพิ่มขึ้นต่อปี ขณะที่ อัตราการเสียชีวิตของแรงงานในการทำงานเสียชีวิต 1 กว่าแสนคน แล้ว ซึ่งก็เพิ่มขึ้นจาก 3 คนเป็น 10 คน ซึ่งเราเห็นว่าภาวะเหล่านี้เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งอานคตก็ต้องเจออยู่ดี

“ถ้าเราไม่มีการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ อาจทำให้สูญเสียเพิ่มขึ้น ในมุมมอง เรื่องนโยบายต้องชัดเจนสนับสนุน การใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและมาตรการดำเนินการต่าง ๆ มาตรการการเงินสีเขียวที่สนับสนุนเรื่องการดำเนินและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแม้กระทั้งจิตสำนึกและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะทำให้เราปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในอนาคต

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active