Why Collective Housing?: ทำไม “ชุมชน” ถึงเป็นคำตอบ ของการจัดการที่อยู่อาศัย

“การจัดการที่อยู่อาศัยโดยชุมชน” คือ คำตอบที่เปลี่ยน “บ้าน” จากสินค้า สู่กลไก ที่คนจนมีส่วนร่วมในการออกแบบ เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาความยากจน การสร้างสุขภาวะ นำไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน

ฟังประสบการณ์จากคณะผู้แทนด้านการจัดการที่อยู่อาศัยเพื่อคนมีรายได้น้อยจากทั่วทุกมุมของโลก ในงานประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ เรื่อง“การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ” โดยมีชุมชนเป็นหลัก  หรือ (Collective Housing) “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุมชนเข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”มีตัวแทนจากนานาประเทศเข้าร่วม 17 ประเทศ

“ต้องทำงานร่วมกับชุมชน ผู้คน หลายครั้งต้องพูดคุยหลายรอบ เพราะเราไม่ได้สร้างแค่บ้าน แต่เราสร้างชุมชนด้วย นี่เป็นนวัตกรรมทางสังคม มีศักยภาพยั่งยืน“

กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

“เราต้องมีทางเลือกให้คนมีสิทธิ มีเสียงในกลุ่มใหญ่  ทำอย่างไรให้คนแข็งแกร่ง ปรับตัวได้ ก่อนหน้านี้เรามองคนเป็นปัญหา แต่จริง ๆแล้ว คน คือคำตอบ” 

 Kirtee Shah

ผู้อาวุโส ประธานองค์กร ASAG, INHAF, ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีประเทศอินเดีย

“เราต้องการให้ชุมชนเป็นผู้นำ เป็นหลัก หลายเรื่องชุมชนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่อยากขอการสนับสนุนในเรื่องอื่น ๆ เช่น เงิน ที่ดิน เจตจำนงทางการเมือง คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน“

Lajana Manandhar

เลขาธิการร่วมมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย และประธานองค์กร LUMANTI ประเทศเนปาล

“ถ้าเราไม่มีบ้าน เราก็จะไม่มีบัตรประชาชน สูญเสียสิทธิพลเมืองทุกอย่าง แต่รัฐบาลไม่ยอมรับว่าการมีบ้านเป็นปัจจัยพื้นฐานโครงสร้างของรัฐบาลเป็นแบบนั้น พอเกิดโควิด ‘ชุมชน’ ที่เราสร้างขึ้น ไม่มีใครเสียชีวิตเลย พิสูจน์ว่าการอยู่แบบพึ่งพาคือทางรอด“

Van Liza

ประธานองค์กร Women for the World เมียนมา

“สวิตเซอร์แลนด์ หลายคนมองว่าเป็นประเทศร่ำรวย แต่ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ กลุ่มรายได้น้อยในยุโรป ยังประสบปัญหาเข้าถึงบ้านที่เพียงพอต่อการมีชีวิต มีศักดิ์ศรี Collective Housing คือ คำตอบ”

Lea Oswald ผู้ประสานงานองค์กร UrbaMonde และ Co-Habitat Network สวิตเซอร์แลนด์

“คนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้น พวกเขามีความรู้โดยเฉพาะไอที และไม่ต้องการให้รัฐบาลออกคำสั่งว่าพวกเขาต้องทำอะไร  รัฐต้องเตรียมสนับสนุนและเขาต้องการแบบที่ประเทศอื่น ๆ มี  เช่น ที่อยู่อาศัยในเมือง”

Jane Weru

ประธานกรรมการบริหาร Akiba Mashinani Trust, สนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชุมชนและการพัฒนาที่อยู่อาศัย Kenya

“เป็นอะไรที่มากกว่าหลังคา แต่เรากำลังมองหาที่อยู่อาศัย ที่สร้างชีวิตที่มั่นคง เรากำลังหาวิธีที่จะทำให้มีบ้านอย่างเพียงพอ ตัวอย่างจากหลายประเทศ ต้องนำรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน”

Adriana Allen อาจารย์​ University College London,

Author

Alternative Text
AUTHOR

อรวรรณ สุขโข

นักข่าวที่ราบสูง ชอบเดินทางภายใน ตั้งคำถามกับทุกเรื่อง เชื่อในศักยภาพมนุษย์ ขอเพียงมีโอกาส

Alternative Text
GRAPHIC DESIGNER

อภิวรรณ หวังเจริญไพศาล