‘ปทุมวันโมเดล’ ต้นแบบเมืองมลพิษต่ำ แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากแหล่งกำเนิด

ปทุมวัน คือ เขตใจกลางเมือง ที่เต็มไปด้วยการจราจรที่หนาแน่น ข้อมูลจากสำนักงานเขตฯ ระบุว่า เขตปทุมวัน มีผู้คนเข้าออกเฉลี่ยกว่า 300,000 คนต่อวัน การรายงานค่าฝุ่น PM 2.5 จึงจัดอยู่ในโซนที่ต้องเฝ้าระวัง ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีความพยายามจับมือกับหลายภาคส่วน เช่น กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และภาคีเครือข่ายฯ โดยนำแนวคิดมาจาก เขตควบคุมมลพิษต่ำ (Low Emission Zone-LEZ) ซึ่งมีต้นแบบจาก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาประยุกต์ใช้ กำหนดพื้นที่นำร่อง ตั้งแต่ถนนพระราม 1 ระยะทาง 1 กิโลเมตร จากแยกราชประสงค์ถึงแยกปทุมวัน ให้เป็นเขตมลพิษ โดยตั้งเป้าหมายจะต้องลดฝุ่น PM 2.5 ให้ได้ 5% ทุกๆ ปี ชมคลิปย้อนหลัง พลิกปมข่าว หรือ บ่ายโมงตรงประเด็น

ปทุมวันโมเดล-นำร่องตรวจจับควันดับ 3 ระดับ

นับแต่ปี 2560 เขตปทุมวัน นำร่องลดควันดำ 3 ระดับ กับรถที่เข้าออกพื้นที่ ตั้งแต่ตรวจไอเสีย-จับควันดำ ระดับพนักงานของเขตทั้งหมด, กลุ่มรถขนส่งสินค้า ซึ่งตอนนี้มีเกือบ 20 องค์กรร่วมเป็นภาคีฯ และยังจูงใจให้ลูกค้า ห้างร้าน ใช้บริการขนส่งสาธารณะ หนึ่งในนั้น คือ รถดัดแปลงพลังงานสะอาดของ MuvMi ซึ่งห้างสรรพสินค้าใกล้เคียงก็ร่วมมือจัดพื้นที่จอดให้

แนวทางลดฝุ่นด้วยการตรวจจับควันดำ 3 ระดับ และส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้าในเขตปทุมวัน

รัฐ จับมือ เอกชน หัวใจสำคัญแก้มลพิษ PM 2.5

ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง MuvMi ระบุว่า MuvMi เปิดให้บริการนานกว่า 4 ปี แล้ว มีประชาชนที่สนใจใช้บริการกว่า 1 แสนคน ขับรับส่งผู้โดยสารแล้วมากกว่า 2 ล้านทริป 4 ล้านกิโลเมตร เทียบเท่าคาร์บอนเครดิตกว่า 500 ตัน ซึ่งเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของการแก้ปัญหามลพิษ โดยราคาเริ่มต้นของรถอยู่ที่ 10 บาทเท่านั้น การใช้งานเริ่มจากการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น MuvMi กดเลือกสถานที่ และหากเลือกใช้บริการโดยการร่วมแชร์กับเพื่อนร่วมทางค่ารถก็จะถูกลง เฉพาะในเขตปทุมวันมีรถไฟฟ้าพลังงานสะอาดแบบนี้ มากกว่า 50 เขต และกระจายอยู่ในอีกหลายเขตของ กทม. มากกว่า 100 คน แต่ในจำนวนนี้ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกเขต

ผ่านมา 4 ปี MuvMi ขับรถรับ-ส่งผู้โดยสารแล้ว 2 ล้านทริป 4 ล้านกิโลเมตร
เทียบเท่า เครดิตคาร์บอนได้มากกว่า 500 ตัน

ประชาชน สนใจใช้บริการ แอพพลิเคชั่น MuvMi กว่า 1 แสนคน

เราอยากเป็น ทางเลือกหนึ่ง ให้ประชาชนได้ช่วยกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง

ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง MuvMi

อัญชลอ วิลาศพรพรรณ พนักงานขับรถตุ๊ก ตุ๊กไฟฟ้า เปิดเผยกับทีมข่าวว่า เขามีอาชีพขับรถมากว่า 30 ปีแล้ว แต่เหตุผลที่หันมาขับรถตุ๊ก ตุ๊ก ไฟฟ้า เพราะช่วงโควิด19 ทำให้รายได้ไม่มั่นคง แต่ Start up MuvMi ให้ความสำคัญกับสวัสดิการ เงินเดือนที่มั่นคง จึงทำให้เขาพอที่จะลืมตาอ้าปากได้

เมื่อถามถึงความรู้สึก ลุงอัญชลอ ก็บอกว่ารู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยดูแลโลกด้วยการขับรถพลังงานสะอาด เขารู้สึกว่ามันขับง่ายกว่า รถแบบเก่า แถมเสียงก็เงียบไม่รบกวนใคร เมืองก็น่าอยู่มากขึ้น ในตรอกซอกซอย ก็ไปได้หมดโดยที่ผู้โดยสารปลอดภัย สะดวกสบายตั้งแต่การเรียกหาที่เข้าถึงง่าย มีไฟส่องสว่างภายในรถ เลขทะเบียนรถ และคนขับก็ถูกระบุไว้ในระบบทั้งหมด ในอนาคตยังเตรียมขยายจำนวนรถให้มากขึ้นครอบคลุมความต้องการใช้ที่มีมากกว่าหลักแสนคนแล้ว

มาศวัลย์ ปิ่นสุวรรณ ผอ.เขตปทุมวัน สำนักงานเขตปทุมวัน เป็นเหมือนเจ้าบ้านคนสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวก ให้ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ทำงานร่วมกับภาครัฐ โดยหยิบยกตัวอย่างการทำงานร่วมกันกับ Start up-MuvMi โดยหนุนเสริมให้ใช้รถไฟฟ้าในเขตปทุมวัน อำนวยความสะดวกที่จอดรถในห้างใหญ่ ๆ เช่น พารากอน เซนทรัลเวิร์ล ฯลฯ โดยในอนาคตยัง เตรียมให้สิทธิประโยชน์กับลูกค้า และประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าพลังงานสะอาด ขณะที่ระยะยาวก็เตรียมที่จะใช้มาตรการทางภาษี จูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับอากาศสะอาด เรียกได้ว่าเป็น โมเดลที่ Win-win situation ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากการช่วยกันเดินหน้าลดฝุ่น PM2.5

ภาครัฐเราต้องตามให้ทัน ต้องก้าวให้ทัน
และนำหน้าแนะนำ ส่งเสริม และผลักดันภาคเอกชนได้

ระยะยาวอาจจะต้อง ลดภาษีให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่เข้ามาจัดการระบบการจัดการอากาศสะอาดให้เป็นผล และมีรูปธรรมเห็นจริง…

อากาศเป็นของฟรี และใกล้ตัว
แต่เราต้องไม่ทำให้การแก้ปัญหามลพิษสายเกินไป…”

มาศวัลย์ ปิ่นสุวรรณ ผอ.เขตปทุมวัน สำนักงานเขตปทุมวัน
มาศวัลย์ ปิ่นสุวรรณ ผอ.เขตปทุมวัน สำนักงานเขตปทุมวัน

ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีตรวจจับฝุ่น PM 2.5

นอกจากการให้บริการสาธารณะพลังงานไฟฟ้า และจุดจอดรับประชาชนแล้ว ปทุมวันโมเดล ยังมี ระบบฐานข้อมูลออนไลน์กรุงเทพธุรกิจอากาศสะอาดต้นแบบ (BMA-BLEZ) เพื่อรายงาน ผลการตรวจสอบสภาพรถของผู้ที่ใช้รถในเขตปทุมวัน และ ระบบเซนเซอร์วัดค่า PM 2.5 เฉพาะจุด ที่สามารถแสดงผลทันทีเพื่อให้คนในพื้นที่ทราบค่าคุณภาพอากาสผ่าน Application Sensor for all เฉพาะแค่จาก BTS สยาม ไปจนถึงเกือบราชประสงค์ มีการติดตั้งเครื่องตรวจับฝุ่น PM 2.5 หรือ Sensor for all ถึง 4 จุด

จุดแรก ข้างสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬา
จุดที่ 2 บริเวณทางเชื่อม BTS สยาม กับ สยามสแควร์วัน
จุดที่ 3 บริเวณสามแยกอังรีดูนังค์
จุดที่ 4 บริเวณด้านหน้า Central world

ข้อมูลจะถูกส่งไปที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนประมวลผลและแสดงผ่าน Application Sensor for all

ตัวชี้วัดสำคัญของ “ปทุมวันโมเดล” คือ ค่าฝุ่น แม้จะมีหลายปัจจัยประกอบ แต่หลังเก็บตัวอย่างค่าฝุ่นราย 24 ชั่วโมง พบมีแนวโน้มลดลง อย่างวันที่ 10 มกราคม 2563 ซึ่งพีคที่สุดของเดือน ค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ที่ 96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่ ค่าฝุ่นพีคที่สุดในเดือนมกราคมของปีต่อ ๆ มาลดลงต่อเนื่อง เช่น ในปี 2564 ค่าฝุ่นลดลงอยู่ที่ 79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปี 2565 ค่าฝุ่นลดลงอยู่ที่ 47 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป้าหมายสำคัญจากนี้ คือลดฝุ่นลงให้ได้ 5 % ​ถ้าสำเร็จ นี่คือบทพิสูจน์ว่า การสร้างความร่วมมือ คือ หัวใจของการแก้ปัญหา ภายใต้พื้นที่ ที่หนาแน่นไปด้วยผู้คนและการจราจรแบบนี้ ซึ่งจะเป็นการบ้านของผู้ว่าฯ คนใหม่ว่า จะขยายโมเดลแบบนี้ไปยังเขตอื่น ๆ เพื่อทำให้ กทม.เป็นเมืองมลพิษต่ำได้อย่างไร

ค่าฝุ่นรายเดือนมกราคม ย้อนหลัง 3 ปี “ปทุมวันโมเดล”

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ กองทุน สสส. ให้สัมภาษณ์ถึงภาพรวม ของ ปทุมวันโมเดลว่า เป็นรูปธรรมส่วนย่อย จากแผนและนโยบายของ กทม. ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการมลพิษ และฝุ่น PM 2.5 การจะทำให้โมเดลแก้ปัญหาสำเร็จได้ยังต้องอาศัยความร่วมมือ และความจริงจัง นพ.ไพโรจน์ ย้อนถึงสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญประกาศให้ “การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง” เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดท่าแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระ แห่งชาติ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ แผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในภาพรวมและในพื้นที่วิกฤตของประเทศ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การป้องกันและลดการเกิด มลพิษที่ต้นทาง และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ

สำหรับ กรุงเทพมหานคร มีนโยบายและแผนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) มุ่งเป้าให้กรุงเทพมหานครลดค่าฝุ่นละอองให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน

มาตรการระยะสั้น เช่น เพิ่มมาตรการตรวจจับรถควันด่าและเร่งระบายรถบริเวณที่ฝุ่นเกินค่า มาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด ห้ามมิให้มีการเผาหญ้าหรือขยะ ในที่โล่ง

มาตรการระยะยาว เช่น การปรับปรุงมาตรฐานการระบายไอเสียรถยนต์ใหม่ และ ปรับปรุงคุณภาพน้่ามันเชื้อเพลิงให้สูงขึ้น เร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าพร้อมโครงข่ายการให้บริการขนส่ง สาธารณะให้เชื่อมโยงและครอบคลุมทุกพื้นที่โดยเร็ว ส่งเสริมและผลักดันให้มีการน่ารถโดยสารที่ใช้ก๊าซ ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NGV) ใช้ระบบไฟฟ้าหรือระบบไฮบริด มาใช้ทดแทนรถโดยสารรุ่นเก่าที่ใช้ เครื่องยนต์ดีเซล การจัดหาพื้นที่จอดแล้วจรให้เพียงพอเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนมาก ยิ่งขึ้น

โครงการ “ปทุมวันโมเดล” จึงถือเป็นการบูรณาการและสร้างการเปลี่ยนแปลงการแก้ไขปัญหา มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะ PM 2.5 ระดับพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) ที่นำไปสู่การฟื้นฟูอากาศ สะอาดและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะของประชาชนที่ดีขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดการแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการบูรณา โดยอยากให้พิจารณาการแก้ปัญหาฯ แบบองค์รวม ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ผู้ได้รับผลกระทบ 2) ต้นเหตุของแหล่งก่าเนิดมลพิษ 3) ผู้ก่อก่าเนิดมลพิษ 4) การแก้ปัญหาเกิดขึ้น ได้จริง 5) มาตรการเพิ่มแรงจูงใจ 6) งานวิชาการศึกษาวิจัยสาเหตุและมาตรการแก้ไขป้องกัน 7) นโยบาย และ 8) ภาคประชาชน

นอกจากนี้ฝุ่น PM 2.5 ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) ได้ด้วย ดังนั้นภาคกลาง โดยเฉพาะ กทม.ที่มีการจราจรหนาแน่น การก่อสร้าง การเผา ต่างๆ จึงจำเป็นต้องหันมาร่วมมือแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ที่ผ่านมาแม้จะพยายามผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีโมเดลการทำงานระดับพื้นที่ให้เห็นด้วย.. นพ.ไพโรจน์ กล่าว

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ กองทุน สสส.

ปทุมวันโมเดล มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง 18 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการต่ารวจจราจร สถานีต่ารวจนครบาลปทุมวัน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ส่านักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร สถาบันเทคโนโลยี ปทุมวัน บริษัท เออร์เบินโมบิลิตี้ เทค จ่ากัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จ่ากัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จ่ากัด (มหาชน) บริษัท สยามพิวรรธน์ จ่ากัด บริษัท เอ็มบีเค จ่ากัด (มหาชน) บริษัท ลิโด้ คอนเน็คท์ จ่ากัด โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ สมาคมราชกรีฑาสโมสร บริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง ประเทศไทย (ThaiPBS) และศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ อากาศ (ศวอ.) ที่ประกอบกิจการอยู่ 2 ฝั่งถนน โดยได้รับการสนับสนุนจากส่านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมีศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไข ปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) เป็นผู้รับผิดชอบด่าเนินงาน

ปทุมวันโมเดล คือ ส่วนย่อยที่เสริมกัน จะเห็นว่า การกำกับให้ กทม. ลดค่าฝุ่นให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ภายใต้แผนพัฒนา กทม. แต่ไม่ได้ทำเฉพาะ กทม. ต้องบูรณาการระหว่างรัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถือว่าเป็น กลไกใหญ่ ที่ย่อยมาอยู่ในระดับเขตฯ.. และควรขยายผลให้เหมาะกับบริบทของแต่ละพื้นที่”

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ กองทุน สสส.

Author

Alternative Text
AUTHOR

บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล

เรียนจบสายวิทย์-สังคมฯ-บริหารรัฐกิจฯ ทำงานไม่ตรงสาย และกลายเป็น "เป็ด" โดยไม่รู้ตัว สนใจการเมือง จิตวิทยาเด็ก วิธีคิดการมองสังคม และรักการสัมภาษณ์ผู้คน

Alternative Text
GRAPHIC DESIGNER

กษิพัฒน์ ลัดดามณีโรจน์

ผู้รู้ | ผู้ตื่น | ผู้แก้งาน ...กราบบบส์