‘Melayu Raya 2024’ เปลี่ยนภาพจำ…ชุดมลายู

หลังผ่านพ้นรอมฎอนช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ หรือตรงกับว่าวันรายอที่ 3 (13 เม.ย. 67) ตามที่ผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ยึดถือ กิจกรรมที่เยาวชน และกลุ่มคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้รวมตัวกันแต่งกายด้วย 'ชุดมลายู' ในงาน 'Melayu Raya 2024' บริเวณชายหาดวาสุกรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ก็กลายเป็นนัดหมายสำคัญประจำปีไปแล้ว

กิจกรรมนี้ 'สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP)' ร่วมกับหลายเครือข่ายฯ จัดขึ้นหวังสื่อสารให้สังคมรับรู้ถึงวัฒนธรรม การฟื้นฟูวิถีการแต่งกายตามอัตลักษณ์ชาวมลายู พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชน กล่มคนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่สาธารณะเพื่อแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ถือเป็นการสร้างบรรยากาศไปสู่กระบวนการสร้าง 'สันติภาพ' ในพื้นที่ชายแดนใต้

Melayu Raya 2024 เน้นย้ำเป็นพิเศษ คือการแต่งกายชุดมลายูต้องไม่ถูกแช่แข็ง นั่นหมายถึงการทำให้ชุดมลายู เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และทำให้สังคมเกิดความเข้าใจ นำไปสู่การลดอคติ ลดความหวาดระแวง โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดกว้างของสังคมที่แตกต่างหลากหลาย แต่อยู่ด้วยกันได้อย่างสันติ

พร้อมทั้งต้องการ และคาดหวังให้ผู้คนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม ลองทำความรู้จัก และใส่ชุดมลายูได้อย่างเปิดใจ ไร้อคติ ไร้ความกลัว

The Active ชวนย้อนดูควันหลงงาน Melayu Raya 2024 กับสิ่งที่เยาวชน คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้อยากสื่อสารต่อสังคม
เยาวชน คนรุ่นใหม่จากหลายพื้นที่ในชายแดนใต้ นัดหมายแต่งกายด้วย 'ชุดมลายู' เข้าร่วมงาน 'Melayu Raya 2024' ณ บริเวณชายหาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี กันอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว บางคนยอมรับว่างานนี้ คือนัดหมายสำคัญประจำปีสำหรับพวกเขาไปแล้ว
ไม่ว่าคุณจะมาจากพื้นที่ไหน แต่เยาวชน คนรุ่นใหม่ทุกคน ก็สลามทักทายกัน ด้วยมิตรไมตรี ตั้งแต่ปากทางเข้างาน
เยาวชน คนรุ่นใหม่จากหลายพื้นที่ในชายแดนใต้ นัดหมายแต่งกายด้วย 'ชุดมลายู' เข้าร่วมงาน 'Melayu Raya 2024' ณ บริเวณชายหาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
เนื่องจากสภาพการจราจรเข้ามายังบริเวณหาดวาสุกรีสถานที่จัดงานติดขัดอย่างหนัก ทำให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ในบางพื้นที่ นัดหมายกันเดินทางด้วยการเรือล่องมาตามแม่น้ำสายบุรี และล่องมาทางทะเลผ่านเข้ามายังปากแม่น้ำ มายังบริเวณงาน โดยส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ อ.ยะหริ่ง, ปะนาเระ ซึ่งอยู่ติดชายทะเลทำให้ช่วยร่นระยะเวลาเดินทางได้มาก
เนื่องจากสภาพการจราจรเข้ามายังบริเวณหาดวาสุกรีสถานที่จัดงานติดขัดอย่างหนัก ทำให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ในบางพื้นที่ นัดหมายกันเดินทางด้วยการเรือล่องมาตามแม่น้ำสายบุรี และล่องมาทางทะเลผ่านเข้ามายังปากแม่น้ำ มายังบริเวณงาน โดยส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ อ.ยะหริ่ง, ปะนาเระ ซึ่งอยู่ติดชายทะเลทำให้ช่วยร่นระยะเวลาเดินทางได้มาก
‘สีลัต’ ศิลปะการป้องกันตัวในแบบฉบับของมลายู ถูกนำมาแสดงภายในงาน ถือว่าได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเยาวชนบางคน ยอมรับว่า ไม่เคยเห็นมาก่อน การได้มาเรียนรู้ในงานนี้ ทำให้ได้รู้จัก และเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการต่อสู้ของชาวมลายูมากขึ้น
เยาวชนบางคน ยอมรับว่า ไม่เคยเห็นศิลปะการป้องกันตัว อย่าง ‘สีลัต’ มาก่อนการได้มาเรียนรู้ในงานนี้ ทำให้ได้รู้จัก และเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการต่อสู้ของชาวมลายูมากขึ้น
‘สีลัต’ ศิลปะการป้องกันตัวในแบบฉบับของมลายู ถูกนำมาแสดงภายในงาน ถือว่าได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเยาวชนบางคน ยอมรับว่า ไม่เคยเห็นมาก่อน การได้มาเรียนรู้ในงานนี้ ทำให้ได้รู้จัก และเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการต่อสู้ของชาวมลายูมากขึ้น
‘สีลัต’ ศิลปะการป้องกันตัวในแบบฉบับของมลายู ถูกนำมาแสดงภายในงาน ถือว่าได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเยาวชนบางคน ยอมรับว่า ไม่เคยเห็นมาก่อน การได้มาเรียนรู้ในงานนี้ ทำให้ได้รู้จัก และเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการต่อสู้ของชาวมลายูมากขึ้น
‘สีลัต’ ศิลปะการป้องกันตัวในแบบฉบับของมลายู ถูกนำมาแสดงภายในงาน ถือว่าได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเยาวชนบางคน ยอมรับว่า ไม่เคยเห็นมาก่อน การได้มาเรียนรู้ในงานนี้ ทำให้ได้รู้จัก และเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการต่อสู้ของชาวมลายูมากขึ้น
ผู้เข้าร่วมงานชื่นชอบ และสนใจชมการแสดงศิลปะป้องกันตัว ‘สีลัต’ อย่างมาก
ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันละหมาด และดูอาร์พร้อมกัน ก่อนเริ่มเวทีใหญ่ ในงาน Melayu Raya 2024 โดยการเข้าร่วมของเยาวชน คนรุ่นใหม่ในชายแดนใต้ครั้งนี้ สามารถแบ่งที่มาของแต่ละคนได้จากสีของชุดมลายูที่ใส่  โดยคนที่ใส่โทนสีเหลือง สีน้ำตาล มาจาก จ.ยะลา, ชุดโทนสีแดง มาจาก จ.ปัตตานี,  โทนสีเข้ม สีน้ำเงิน มาจากพื้นที่ จ.นราธิวาส,​ ส่วนโทนสีขาว สีครีม มาจากพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา
ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันละหมาด และดูอาร์พร้อมกัน ก่อนเริ่มเวทีใหญ่ ในงาน Melayu Raya 2024 โดยการเข้าร่วมของเยาวชน คนรุ่นใหม่ในชายแดนใต้ครั้งนี้ สามารถแบ่งที่มาของแต่ละคนได้จากสีของชุดมลายูที่ใส่  โดยคนที่ใส่โทนสีเหลือง สีน้ำตาล มาจาก จ.ยะลา, ชุดโทนสีแดง มาจาก จ.ปัตตานี,  โทนสีเข้ม สีน้ำเงิน มาจากพื้นที่ จ.นราธิวาส,​ ส่วนโทนสีขาว สีครีม มาจากพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา
ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันละหมาด และดูอาร์พร้อมกัน ก่อนเริ่มเวทีใหญ่ ในงาน Melayu Raya 2024 โดยการเข้าร่วมของเยาวชน คนรุ่นใหม่ในชายแดนใต้ครั้งนี้ สามารถแบ่งที่มาของแต่ละคนได้จากสีของชุดมลายูที่ใส่  โดยคนที่ใส่โทนสีเหลือง สีน้ำตาล มาจาก จ.ยะลา, ชุดโทนสีแดง มาจาก จ.ปัตตานี,  โทนสีเข้ม สีน้ำเงิน มาจากพื้นที่ จ.นราธิวาส,​ ส่วนโทนสีขาว สีครีม มาจากพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา
ศิลปะถูกใช้เพื่อสื่อสารในหัวข้อ “BUKA PATANI DOA PALESTINE” (เปิดบ้านปาตานีดูอาร์สู่ปาเลสไตน์) เพื่อสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวกันของโลกมุสลิม
ศิลปะถูกใช้เพื่อสื่อสารในหัวข้อ “BUKA PATANI DOA PALESTINE” (เปิดบ้านปาตานีดูอาร์สู่ปาเลสไตน์) เพื่อสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวกันของโลกมุสลิม
กลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วพื้นที่ชายแดนใต้ และประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมงานแสดงออกถึงอัตลักษณ์ด้วยการแต่งกายชุดมลายูเต็มพื้นที่หาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
กลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วพื้นที่ชายแดนใต้ และประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมงานแสดงออกถึงอัตลักษณ์ด้วยการแต่งกายชุดมลายูเต็มพื้นที่หาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
‘อิลฮัม และลี’ มางานนี้เป็นประจำ เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งของการบอกต่อสังคมให้รู้จัก และยอมรับในอัตลักษณ์ วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวมลายูมุสลิม  อยากให้สังคมมองมุมใหม่ ว่า จริง ๆ แล้วชุดมลายูไม่ได้น่ากลัว เพราะไม่ต่างจากความเป็นวิถีของผู้คนเหมือนกับที่อื่น ๆ ที่มีวิถีการแต่งกายในแบบฉบับของตัวเอง  

‘ฟาอิส เยาะแม’ คนรุ่นใหม่จาก อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เดินทางมาร่วมงานทุกปี โดยปีนี้สิ่งที่อยากสื่อสารคือ อยากให้สังคมเข้าใจว่าชุดมลายูก็เหมือนกับเครื่องแต่งกายตามปกติ ไม่ต่างจากชุดทั่วไป เป็นวัฒนธรรมของคนมลายู ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากวัฒนธรรมการแต่งกายของชาติพันธุ์อื่น ๆ จึงอยากให้สังคมได้ร่วมกันเปิดใจยอมรับการแต่งกายด้วยชุดมลายู 

‘สุขกรี อีแต’ ชาว อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี เขาเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรง เมื่อปี 2556 เขาโดนยิงระหว่างเดินทางกลับจากโรงเรียน โดยไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นเขาได้รับบาดเจ็บอย่างหนัก จนไม่สามารถกลับมาเดินได้เหมือนเดิม กลายเป็นคนพิการมาจนทุกวันนี้  เขายอมรับว่าสูญเสียโอกาสในชีวิตมาตลอดช่วง 10 ปีมานี้ ถึงแม้ชีวิตเปลี่ยนไป ต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถวีลแชร์ แต่วันนี้ก็ตั้งใจแต่ชุดมลายูมาร่วมแสดงออกให้ผู้คนได้รับรู้ถึงอัตลักษณ์ของคนมลายู และเชื่อว่า หากสังคมเปิดใจ ยอมรับความแตกต่างได้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินไปสู่ 'สันติภาพ'
‘มูฮัมหมัดอาลาดี เด็งนิ’ ที่ปรึกษาสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ในฐานะของผู้จัดงาน Melayu Raya 2024 ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ เน้นย้ำว่า “เรายังคงแสวงหาสันติภาพ เราต้องตั้งเป้าหมายให้ได้ว่าเราจะตามหาสันติภาพกันให้เจอ แม้ว่ามันเหมือนจะอยู่ในป่าลึก ที่แทบมองไม่เห็นทางออก แต่เราต้องยึดมั่นสันติภาพในใจเราให้ได้”

Author

Alternative Text
AUTHOR

พงศ์เมธ ล่องเซ่ง

นักข่าวไม่จำกัดสาย จัดให้ได้ทุกประเด็น

Alternative Text
PHOTOGRAPHER

เชาวริน เกิดสุข