‘Johnjud’ หาบ้านใหม่ ให้ ‘แมวจร’

8 ปีแล้วที่นิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้ง ‘ชมรม Johnjud’ ตั้งใจให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สัตว์จรจัดภายในรั้วจามจุรี และพื้นที่โดยรอบ

“พอได้มาทำงานตรงนี้แล้ว ก็ทำให้เข้าใจว่า ปัญหาสัตว์จรจัดใหญ่กว่าที่เราคิดมาก ๆ” นี่คือเสียงสะท้อนจากสมาชิกชมรมฯ ที่ยอมรับว่า การแก้ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จากความพยายามมีส่วนร่วมของนิสิต และกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงเป็นความหวังของการแก้ปัญหาสัตว์จรจัดในอนาคต

ชมรม Johnjud มีส่วนช่วยลดจำนวน “สุนัขจรจัด” ใน จุฬาฯ ลงได้ แต่สำหรับ “แมวจร” ยังจัดการได้ยากกว่า ภารกิจหลักจึงไม่เพียงดูแลแมวจร แต่ยังช่วยผ่าตัดทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ที่สำคัญคือช่วยหาบ้านใหม่ให้กับพวกมัน ซึ่งเป็นความพยายามลดวงจรการเกิดแมวจรจัดหน้าใหม่ที่ยั่งยืน

The Active ชวนทำความรู้จัก ความรัก ความเสียสละ ของนิสิตที่รับอาสามาดูแลแมวจรใน ‘ชมรม Johnjud’ แห่งคณะสัตวแพทย์ฯ จุฬาฯ ลองดูกันว่ายังมีเจ้าเหมียวอีกกี่ตัวที่กำลังเฝ้ารอบ้านใหม่ และคนที่รักมันอย่างจริงใจ


“ห้องปันนาที” ที่อยู่ของเหล่าแมวจร ที่ยังหาบ้านไม่ได้ ภายใต้การดูแลของ “ชมรม Johnjud” โดยนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี “ใบเตย” – “อาร์ม” – “ฮง” (ประธานชมรมฯ) และ จอเจ ตัวแทนชมรมฯ ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลความสะอาด ความเรียบร้อยให้กับเจ้าเหมียว ซึ่งเวลานี้รอเจ้าของใหม่อยู่อีก 6 ตัว
“กระติ๊บ” แมวลายสลิดขี้อ้อนและติดคน เป็นสมาชิกแมวจรของห้องตัวแรกที่เข้ามาทักทายเรา โดยเจ้าตัวนี้มีสมาชิกชมรมฯ เจอโดยบังเอิญที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ มันน่ารักและเชื่อง ติดคน จึงนำมากลับมาดูแลที่ชมรมฯ ด้วยนิสัยที่เป็นมิตร จึงคาดว่าน่าจะเป็นแมวที่เคยมีเจ้าของมาก่อน
“เจจู” เป็นแมวลายสลิดอีกตัว ที่ขี้อ้อนไม่แพ้กัน ก่อนหน้านี้เจจู เคยถูกสุนัขกัดเป็นแผลเหวอะหวะจนไส้ไหล สมาชิกชมรมฯ จึงรับมาดูแล โดยชื่อ เจจู มาจาก “เจจูนัม” ที่แปลว่า “ลำไส้เล็กส่วนกลาง” ซึ่งอาการบาดเจ็บในครั้งนั้น ทำให้ตอนนี้ขาหลังของเจจูอ่อนแรง เดินค่อนข้างลำบาก
ในมุมเล็ก ๆ ของห้อง มี “จิ้มแจ่ว” น้องสาวคนสุดของห้อง อายุประมาณ 4 เดือน กำลังซ่อนตัวอยู่ โดยทางชมรมฯ รับมาดูแล หลังจากได้รับแจ้งง่า มีแมวตกลงมาจากหลังคาแถว ๆ สยาม ทีแรกทางชมรมฯ ตั้งใจให้ชื่อว่า “พรจากฟ้า” แต่ยาวเกินไป จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อที่เข้ากับพี่ ๆ แก๊งน้ำจิ้มแทน
ไม่ไกลกัน รุ่นพี่ของแก๊งน้ำจิ้ม คือ “แม็กกี้” และ “โชยุ” แมวดำที่มีลักษณะคล้ายกันจนคิดว่าเป็นฝาแฝด วัยกำลังโต มีนิสัยซุกซน ขี้เล่น ก็ออกมาทักทาย ส่งเสียงเรียกอยู่ตลอดเวลา
สมาชิกตัวสุดท้ายของห้อง ก็คือ “ซีอิ๊ว” แมวดำขี้อายที่ได้แต่นอนนิ่งตลอดเวลา มันเป็นแมวจากร้านข้าวมันไก่ย่านบรรทัดทอง ก่อนหน้านี้มีเพื่อนซี้ที่มาพร้อมกันชื่อว่า “เต้าเจี้ยว” แต่ได้บ้านใหม่ไปแล้วก่อนหน้านี้ เพราะคุ้นชิน และเข้าหาคนได้มากกว่าซีอิ้ว ที่ขี้กลัวประกอบกับเป็นแมวดำ จึงหาบ้านใหม่ได้ยากมาก
เจ้าเหมียวทุกตัวของชมรมฯ ได้รับการผ่าตัดทำหมัน และฉีดวัคซีนรวม โดยใช้หลักการ CNVR (Catch, Neuter, Vaccinate, Release) หรือ การจับ ทำหมัน ฉีดวัคซีน และปล่อยกลับสู่ถิ่นอาศัยเดิม ซึ่งจะช่วยควบคุมประชากรหมาแมวจรได้อย่างยั่งยืน
ไม่ไกลจากห้องปันนาที ชมรมฯ มีห้องแยกอีกห้อง ในห้องนี้แมวอยู่อีก 2 ตัว พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง บ้านแมว ของเล่นแมว ที่คนใจบุญบริจาคแต่ยังอยู่ในสภาพดี ให้เจ้าเหมียวได้ปีนป่าย เล่น และนอนอย่างมีความสุข
สมาชิก 2 ตัวในห้องนี้ ตัวแรกคือ “วันนา” ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์แมว หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในแมวจรจัด ทำให้ต้องอยู่แยกห้องกับตัวอื่น เพราะโรคนี้สามารถที่ติดต่อได้ทางน้ำลาย จากการกัด หรือเลียกัน วันนาโดนเจ้าของทิ้งไว้ และถูกรถชน สมาชิกชมรมฯ จึงนำมันมาดูแล รักษา ตอนนี้อายุได้ปีกว่า ๆ แล้ว รักการกินเป็นชีวิตจิตใจ
อีกตัวคือ “ฟ็อกซี่” แมวส้มตัวน้อยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จนกลายเป็นเพื่อนร่วมห้องของวันนา ฟ็อกซี่เป็นลูกแมวจากสวนหลวงสแควร์ โดยพบอยู่ในบ้านร้าง มันมีภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ตาบอดทั้ง 2 ข้าง สมาชิกชมรมฯ ต้องคอยดูแลไม่ให้ทั้ง 2 ตัวอยู่ใกล้กันเกินไป เพื่อไม่ให้ฟ็อกซี่ติดเชื้อโรคเอดส์แมว
ไม่เฉพาะแค่ที่ชมรมฯ ดูแล แต่ยังมีแมวจรอีกหลายตัว ที่ยังต้องการบ้านใหม่ ที่รัก และดูแลพวกมันอย่างแท้จริง แมวจรจัดเหล่านี้อาจซ่อนอยู่ตามซอกหลืบของเมืองใหญ่ และยังไม่เจอตัว อาจดูไม่น่ารักในสายตาคน หรืออาจป่วยหนักจนไม่สามารถหาผู้รับเลี้ยงได้ จึงยังคงเป็นแมวจรที่รอหาบ้านต่อไป
ไม่เฉพาะแค่ที่ชมรมฯ ดูแล แต่ยังมีแมวจรอีกหลายตัว ที่ยังต้องการบ้านใหม่ ที่รัก และดูแลพวกมันอย่างแท้จริง แมวจรจัดเหล่านี้อาจซ่อนอยู่ตามซอกหลืบของเมืองใหญ่ และยังไม่เจอตัว อาจดูไม่น่ารักในสายตาคน หรืออาจป่วยหนักจนไม่สามารถหาผู้รับเลี้ยงได้ จึงยังคงเป็นแมวจรที่รอหาบ้านต่อไป
ไม่เฉพาะแค่ที่ชมรมฯ ดูแล แต่ยังมีแมวจรอีกหลายตัว ที่ยังต้องการบ้านใหม่ ที่รัก และดูแลพวกมันอย่างแท้จริง แมวจรจัดเหล่านี้อาจซ่อนอยู่ตามซอกหลืบของเมืองใหญ่ และยังไม่เจอตัว อาจดูไม่น่ารักในสายตาคน หรืออาจป่วยหนักจนไม่สามารถหาผู้รับเลี้ยงได้ จึงยังคงเป็นแมวจรที่รอหาบ้านต่อไป
"คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ" เป็นคณะที่อาจจะมีแมวจรมากที่สุดในรั้วจามจุรี โดยทางชมรมฯ คอยช่วยเหลือทั้งการฉีดวัคซีน และรักษาพยาบาลต่าง ๆ เมื่อมาถึงคณะ เราก็ได้พบกับ “มีตังค์” แมววัวจากไซต์งานก่อสร้างในโรงเรียนสาธิตปทุมวัน
นอกจากมีตังค์แล้ว คณะอักษรศาสตร์ ยังมี “มีบุญ” แมวสามสีที่ถูกเอามาทิ้งไว้ โดยแม่บ้านไปพบ จึงนำมาดูแล ตอนแรกตั้งใจจะหาบ้านใหม่ให้มัน แต่ด้วยความผูกพัน จึงตัดสินใจรับเลี้ยงไว้ที่คณะแทน
“ชาบู” แมวดำเซเลบหนึ่งเดียวของคณะฯ ที่ไม่ยอมให้ใครอุ้ม แต่กลับอยู่นิ่งในอ้อมกอดของพี่รปภ. ประจำคณะที่คอยดูแล ชาบูเป็นแมวที่ถูกนำมาทิ้งไว้ที่คณะฯ เจ้าหน้าที่จึงนำมาดูแล และเลี้ยงกลายเป็นแมวของคณะอักษรศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน
แม้มีความพยายามจากภาคส่วนต่าง ๆ ยื่นมือมาช่วยแก้ปัญหาสัตว์จรจัดถูกทิ้ง แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับทัศนคติจากเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยตัวแทนชมรมฯ สะท้อนว่า ถึงจะผ่าตัดทำหมัน หรือหาบ้านให้หมาแมวจรได้เยอะแค่ไหน หากเจ้าของยังทิ้งพวกมันซ้ำแล้วซ้ำอีก วงจรนี้ก็ยากที่จะหายไป  “ทุกคนที่ต้องการเลี้ยงสัตว์ ต้องคำนึงด้วยว่า ตัวเองมีความพร้อม และเวลามากน้อยแค่ไหน เพราะโลกทั้งใบและชั่วชีวิตหนึ่งของสัตว์เลี้ยงมีแค่เราเท่านั้น” สมาชิกชมรม Johnjud ฝากทิ้งท้าย
แม้มีความพยายามจากภาคส่วนต่าง ๆ ยื่นมือมาช่วยแก้ปัญหาสัตว์จรจัดถูกทิ้ง แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับทัศนคติจากเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยตัวแทนชมรมฯ สะท้อนว่า ถึงจะผ่าตัดทำหมัน หรือหาบ้านให้หมาแมวจรได้เยอะแค่ไหน หากเจ้าของยังทิ้งพวกมันซ้ำแล้วซ้ำอีก วงจรนี้ก็ยากที่จะหายไป  “ทุกคนที่ต้องการเลี้ยงสัตว์ ต้องคำนึงด้วยว่า ตัวเองมีความพร้อม และเวลามากน้อยแค่ไหน เพราะโลกทั้งใบและชั่วชีวิตหนึ่งของสัตว์เลี้ยงมีแค่เราเท่านั้น” สมาชิกชมรม Johnjud ฝากทิ้งท้าย

Author

Alternative Text
AUTHOR

พรยมล ดลธนเสถียร

นิสิตชั้นปีที่ 3 เอกภาษาสเปน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย