สวิงสวาย Swing: ยิ่งก้าวพลาด ยิ่งได้เรียนรู้

“Rock step, step. Step.”

หากให้อธิบายการเต้น “Swing Dance” โดยกระชับ คือ การเต้นรำกับดนตรีแจ๊ส มีจังหวะที่เร็ว สนุกสนาน โดยจะจับคู่เต้นกันไม่จำกัดเพศและวัย และเชื้อเชิญให้ทุกคนนอกวงเข้ามาร่วมฟลอร์และสวิงสวายส่ายเอวไปด้วยกัน

“Swing Dance” ไม่มีผิดหรือถูก สามารถปรับเปลี่ยนท่าเต้นได้ตามใจชอบ จะด้นสดตามจังหวะดนตรีและอารมณ์อย่างไรก็ได้ เพราะทุกย่างก้าวบนฟลอร์เต้นรำนี้ ทุกคนก็กำลังเรียนรู้จังหวะของกันและกัน และแม้คุณจะก้าวพลาด อย่างมากก็แค่หัวเราะและยิ้มให้ตัวเอง และเริ่มต้นนับก้าวใหม่ไปด้วยกันอีกครั้ง – นี่คือสเน่ห์ของ Swing Dance

The Active ได้ย่ำก้าวไปตามเสียงหวานของแซ็กโซโฟน ชวนผู้อ่านสัมผัสบรรยากาศของงาน Relearn Festival ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ ไปพร้อมกับบทเพลงที่ชื่อว่า “การเรียนรู้”
“Relearn Festival” เปิดสนามหญ้าใจกลางงานเป็นลานเต้นรำ ประดับประดาด้วยแสงไฟปิงปองสีเหลือง หวังให้ผู้คนเข้าใจใหม่ว่า ศิลปะ ดนตรี และการแสดงนี้ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
“จะไทยหรือเทศก็ไม่สำคัญ เมื่อดนตรีคือภาษาสากล” เปิดใจและเปิดอ้อมอกรับคู่เต้นแปลกหน้าบางทีความสัมพันธ์ที่ดีอาจเริ่มต้นที่นี่ และคนที่ยืนอยู่ข้างหน้า
“จะไทยหรือเทศก็ไม่สำคัญ เมื่อดนตรีคือภาษาสากล” เปิดใจและเปิดอ้อมอกรับคู่เต้นแปลกหน้าบางทีความสัมพันธ์ที่ดีอาจเริ่มต้นที่นี่ และคนที่ยืนอยู่ข้างหน้า
ก่อนเริ่มการเต้นรำ สุ-สุไลมาน สวาเลห์ และแพท-พิมพ์นรี ปิยะบุญสิทธิ จาก Jelly Roll Dance Club ได้แนะนำพื้นฐานของการเต้นสวิงด้วยจังหวะ Rock Step
Swing Dance นั้นไม่มีถูกผิด และดนตรีก็ไม่มีกรอบกำหนด ดังนั้นไม่ว่าใคร อายุเท่าไหร่ มีอาชีพอะไร ก็สามารถสนุกไปตามจังหวะของตัวเองได้
บางคนมีพื้นฐานการเต้นประเภทอื่น ก็ร่วมสนุกได้เช่นกัน อย่างน้องคนนี้ก็กำลังเต้นบัลเล่ต์
แซ็กโซโฟนเสียงหวาน และดนตรีแจ๊สเสียงเย็น เอื้ออำนวยให้ผู้เต้นมีบทสนทนาที่ดีต่อกันได้ โดยไม่ต้องรีบร้อนนัก
ดนตรีจังหวะ Swing และ Blues ที่ขับบรรเลงโดยวง "Lit It Up" ช่วยให้วงเต้นรำที่ล้อมด้วยไม้เขียวชอุ่ม เสมือนถูกตัดขาดออกจากเมืองใหญ่
หัวใจสำคัญของ Swing Dance คือ “การเปิดรับ” ทั้งการรับฟังจังหวะดนตรี การเปิดรับคู่เต้นรำแปลกหน้า รับฟัง สื่อสารกัน และสำคัญที่สุด คือการเปิดใจตัวเอง
“มันส์ค่ะ รู้สึกได้​ปลดปล่อย พอมันเพลินกับการเต้นมันจะไม่รู้สึกเหนื่อยขนาดนั้น เพราะอยากเต้นกับทุกเพลง” ปอนด์ — นักออกแบบสวน
“การที่ได้ลองเต้น หรือทำกิจกรรมใหม่ ๆ ทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง พอทำท่าใหม่ได้สัก 1 ท่า ก็รู้สึกว่า ‘เราทำได้แล้ว!’” ออม – Lighting Designer
“I want to make more friends. It’s the easiest way to make new friends. Just enjoy the music!” Andy – กรุงไทเป, ไต้หวัน
“มันเป็นฟลอร์ที่เราสามารถเป็นใครก็ได้ พอเรียนเยอะ ทำงานหนัก เราก็อยากมีพื้นที่ได้ปลดปล่อยตัวเอง ไม่มีใครตัดสินว่าคุณจะเต้นได้หรือไม่ได้ ขอแค่คุณเป็นตัวเองก็พอ” พลอย –- พนักงานด้านการตลาด
“Swing มันมาไกลมาก ๆ อยากให้คนในสังคมสนใจเกี่ยวกับการเต้นสวิงแจ๊ส หรือดนตรีแจ๊สมากขึ้น เพราะมันเป็นสิ่งหนึ่งที่เชื่อมคนเข้าหากัน และทำให้เราได้รู้จักกัน” โฟกัส – แพทย์
“เราเต้นไม่ค่อยเป็น พอคนที่เขาเต้นเป็นมาชวนเต้นมันก็สนุกมากขึ้น …บางทีคนเราก็อาจคิดมากว่าเราเต้นไม่เป็น ก็ปล่อยจอยไปได้เลย คนที่นี่พร้อมเปิดรับอยู่แล้ว” กิ๊ฟ – พนักงานด้านการตลาด
“ลองออกจาก Comfort Zone แล้วจะพบว่า มีอะไรให้เรียนรู้อีกเยอะ” ข้าวฟ่าง – นักศึกษาชั้นปีที่ 2
ในเมืองที่เปิดกว้างให้ผู้คนได้มาพบปะกัน “พื้นที่เต้นรำ” ก็สามารถเป็น “พื้นที่แห่งการเรียนรู้” ได้เช่นกัน และพื้นที่เหล่านี้จะคอยย้ำเตือนว่า “เราทุกคนต่างอาศัยอยู่ในเมืองเดียวกัน”

Author

Alternative Text
AUTHOR

พีรดนย์ ภาคีเนตร

บัณฑิตจบใหม่คณะสื่อสารฯ ผู้เฝ้าหาเรื่องตลกขบขันในชีวิต แต่พบว่าสิ่งที่ตลกที่สุดคือชีวิตเราเอง

Alternative Text
PHOTOGRAPHER

ชญาดา จิรกิตติถาวร

เปรี้ยว ซ่า น่ารัก ไม่กินผัก ไม่กินเผ็ด