‘พีมูฟ’ ยื่นข้อเสนอเชิงนโยบาย 9 ด้าน สร้างสังคมเป็นธรรมและเท่าเทียม

ผลักดันนโยบายจากปัญหาระดับพื้นที่สู่ข้อเสนอถึงฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เรียกร้องให้ตั้งคณะทำงานชุดใหญ่ภายใน 7-15 วัน พร้อมเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย สสร.  ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 100 เปอร์เซ็นต์ 

วันนี้ (11ก.ย. 66) วันนี้ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ  P-Move ติดตามการแถลงนโยบายรัฐบาล และยื่นหนังสือ เรียกร้องเชิงนโยบาย 9 ด้าน โดยมี ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 เป็นตัวแทนประธานสภารับหนังสือจาก ‘พีมูฟ’ ขณะที่ จำนงค์ หนูพันธ์ ตัวแทนกลุ่มพีมูฟ เป็นตัวแทนอ่านคำแถลงการณ์ โดยระบุว่าข้อเสนอครอบคลุมถึงประเด็นด้านสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย, การกระจายอำนาจ, ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม, นโยบายที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การป้องกันภัยพิบัติ, การคุ้มครองชาติพันธุ์และสิทธิความเป็นมนุษย์, สิทธิของคนไร้สถานะ และ รัฐสวัสดิการ ซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบาย 9 ด้าน จะเป็นการแก้ไขปัญหาและคืนความเป็นธรรมให้ประชาชนทั้งประเทศ ภายหลังสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนและเต็มไปด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 จนถึงยุคสืบทอดอำนาจของ คสช. 

พีมูฟยัง ระบุว่า มีหลายนโยบายที่ไม่สอดคล้องข้อเสนอของภาคประชาชน และอาจสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มีบางนโยบายเอื้อประโยชนต่อกลุ่มทุนและชนชั้นนำ อาทิ นโยบายการเปลี่ยน ส.ป.ก. 4-01 ให้เป็นโฉนด อันอาจจะขัดต่อหลักเจตนารมณ์การปฏิรูปที่ดินที่เกิดจากการต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย และอาจเกิดผลกระทบทำให้การกระจุกตัวของที่ดินอยู่ที่มือนายทุนอย่างหนัก รวมถึงนโยบายการฟอกเขียวทุนอุตสาหกรรมม โดยการสนับสนุนคาร์บอนเครดิต และสานต่อนโยบายเศรษฐกิจชีวิตภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียวหรือ BCG ที่ไม่ได้ช่วยแก้โลกร้อน และรวมถึงนโยบายด้านรัฐสวัสดิการที่อาจไม่เป็นไปอย่างถ้วนหน้าตามที่ภาคประชาชนเรียกร้อง

“เราต่อสู้มา 9 ปี ยังไม่สำเร็จ ผ่านแค่ ครม. แค่รับทราบ แต่ไม่เคยเป็นมติ ขอให้ตั้งคณะทำงานชุดใหญ่ ไม่เอาอนุกรรมการภายใน 7-15 วันทำงานแก้ปัญหาพี่น้อง ตามที่หาเสียง เหมือนที่นายกฯ พูดไว้ตอนหาเสียง ทำทันที ติดกฎหมายแก้ทันที ติดคนเปลี่ยน อยากเห็นทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร  ผลักดันเร่งด่วน” 

นอกจากนี้ ยังมีการยื่นหนังสือถึง พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพิ่มเติม กรณีผลกระทบจานโยบายทวงคืนผืนป่า สุริยัน ทองหนูเอียด ตัวแทนพีมูฟ ระบุว่า  รัฐบาลชุดที่แล้วได้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับชาวบ้านจากนโยบายทวงคืนผืนป่ามีชาวบบ้านถูกดำเนินคดีไล่ออกจากพื้นที่ ซึ่งคณะกรรมการที่ศึกษาเห็นว่าควรมีการยกร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมทวงคืนผืนป่าแต่เรื่องยังไม่ถึงไหน ดังนั้น “ขอให้ผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทวงคืนผืนป่า อยากให้เร่งรัด ชะลอคดีไปก่อน กรณีที่ัยังอยู่ศาลให้จำหน่ายคดี หากตัดสินแล้วให้เยียวยา เพื่อความเป็นธรรมของชาวบ้าน” 

โดยเลขาธิการพรรคประชาชาติตัวแทนรับหนังสือกล่าวสั้น ๆ ว่า จะนำเรื่องยื่นให้เร็วที่สุด  “ขอรับเอกสารทั้งหมดจะหารือต่อไปเรื่องนี้ผลักดันมาตั้งแต่เดิมแล้ว ต้นเรื่องมีอยู่แล้วและหากมีแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับร่างนี้อย่างไรก็ยินดีสนับสนุน” 

ขณะที่ ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้กล่าวถึงประเด็นความกังวลของพีมูฟในการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก สปก. ให้เป็นโฉนดชุมชน นโยบายนี้หากไม่รอบคอบอาจส่งผลกระทบให้การถือครองที่ดินเปลี่ยนมือได้ง่าย และไปกระจุกตัวอยู่กับนายทุน สร้างปัญหาเดิมที่ยังแก้ไม่ได้ โดยธรรมนัสได้ชี้แจงเบื้องต้นว่า นโยบายนี้จะยังอยู่ในมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  “เราไม่ได้มอบให้มหาดไทยแต่อยู่ภายใต้กำกับกระทรวงเกษตรฯ และ การจะเปลี่ยนให้เป็นมูลค่าก็เพื่อเกษตรกร ไม่ต้องไปกังวล หากเราจะทำอะไรก็ตาม จะเชิญตัวแทนพีมูฟมามีส่วนร่วม จะไม่ทำอะไร ที่ไม่มีพวกเรา จะทำงานโดยภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมด้วยกัน” 

สำหรับการเดินทางมาครั้งนี้ พีมูฟยังมีข้อกังวลต่อท่าทีของคณะรัฐบาลชุดนี้ที่ยังไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมที่ต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ทุกหมวด ทุกมาตรา โดย สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 100 เปอร์เซ็นต์ จึงยืนยันจุดยืนที่จะแถลงข้อเสนอเชิงนโยบาย 9 ด้าน ข้อกังวลในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของเราต่อประธานรัฐสภา ประธานวิปรัฐบาล และพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติอีกครั้ง ให้นำข้อเสนอเชิงนโยบาย

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active