กสม. รับเรื่องพิจารณา ‘ครอบครองยาเสพติดเกิน 1 เม็ด = ผู้ค้า’ ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านยาเสพติด ตั้งข้อสังเกตการแก้ไขร่างกฎกระทรวงขัดกับกฎหมาย ซ้ำเติมผู้เป็นเหยื่อ และเปิดโอกาสยัดข้อหา เสนอหาแนวทางรักษา จับกุมผู้ผลิต-ผู้ค้าตัวจริง

วันนี้ (24 ก.พ. 2566) เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านยาเสพติด ยื่นหนังสือถึงกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากกรณีที่มีการร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่ในที่ประชุมคณะกรรมการรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดครั้งที่ 1 / 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ซึ่งในที่ประชุมได้รับทราบ “ร่างกฎกระทรวงกําหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออก ฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ…..” และเตรียมลงนามเพื่อเสนอเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนั้น

มีเนื้อหาใจความสําคัญในการลดปริมาณของสารเสพติดกลุ่มสารกระตุ้นที่ให้ สันนิษฐานว่ามีไว้ ครอบครองเพื่อเสพ โดยระบุใน ข้อ 3 ว่า “ (ก) แอมเฟตามีน (amphetamine หรือ amfetamine) มีปริมาณไม่ เกินหนึ่งหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินศูนย์จุดหนึ่งกรัม (จ) เมทแอมเฟตามีน (methamphetamine หรือ methamfetamine) มีปริมาณไม่เกิน หนึ่งหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินศูนย์จุดหนึ่งกรัม ในลักษณะที่เป็น เกล็ดมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม”

สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการไว้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ว่า “ร่างกฎกระทรวง กําหนดปริมาณยาเสพ ติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือ ประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ…..” ที่ กําหนดในข้อ 3 ว่า “(ข) เมทแอมเฟตามีนมีปริมาณไม่ ถึงสิบห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัม หรือ คํานวณ น้ำหนักเป็นสารบริสุทธิ์ ไม่ถึง 375 มิลลิกรัม (ค) แอมเฟตามีนมีปริมาณไม่ถึงสิบห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ําหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัม” อันมีสาระสําคัญ เป็นการกําหนดปริมาณยาเสพติด เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาให้โอกาสแก่ผู้เสพยาเสพติดที่ครอบครองยาเสพติดหรือวัตถุออก

ด้วยหลักการดังกล่าว ภาคประชาสังคมมีความเห็นคัดค้าน โดยตั้งข้อสังเกต ดังนี้

  • เมื่อร่างกฎกระทรวงสาธารณสุขไม่รับรองสถานการณ์ครอบครองเพื่อเสพในฐานะผู้ป่วยที่ต้อง ได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ เนื้อหาดังกล่าวนี้ จึงลดความคุ้มครองทางการแพทย์ต่อผู้ใช้สาร เสพติดอย่างมีนัยยะสําคัญ และขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชน
  • ขัดต่อ การประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก หรือ UNGASS2016 ที่เปลี่ยนแนวคิดการแก้ปัญหายาเสพติดจากการทําสงครามเป็นการใช้ สาธารณสุขนําในการแก้ปัญหา ซึ่งมีการแนะนําให้ภาคีกําหนดให้มีทางเลือกกับผู้เสพยาเสพติด
  • เพื่อนําผู้เสพเข้าสู่การบําบัดรักษาแทนการลงโทษหรือดําเนินคดี เช่นการนํามาตรการลดอันตราย จากการใช้สารเสพติด (Harm Reduction) รวมถึงการพัฒนาทางเลือก (Alternative development) มาปรับใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างยั่งยืน
  • ขัดต่อเจตนารมณ์หลักของประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ที่เน้นแนวคิดผู้เสพคือผู้ป่วย โดยยึดหลักพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิด มิใช่การกําหนดด้วยปริมาณยาเสพติด เพราะสถานะของผู้ใช้สารเสพติดสามารถใช้วิธีการทางการแพทย์วินิจฉัยได้ ซึ่งการกําหนดปริมาณ ยาเสพติดในครอบครอง สามารถถูกนําไปอ้างอิงมุมกลับว่าถ้าไม่ใช่ครอบครองเพื่อเสพ แต่เป็นการ ครอบครองเพื่อจําหน่ายได้และเปิดโอกาสให้ผู้บังคับใช้กฎหมาย มีอํานาจในการใช้ดุลพินิจได้ เพิ่มขึ้นจากเดิม

โดยสรุป ร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว น่าจะขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและ ขัดต่อ หลักการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการใช้แนวคิดทางสาธารณสุขนำ เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทํางานด้านยาเสพ 19 องค์กร จึงได้นําเรียนยังกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อพิจารณาดําเนินการตรวจสอบ ในประเด็นเกี่ยวข้องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ร่างกฎกระทรวงฯฉบับดังกล่าวขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่

2. เรื่องของกระบวนการมีส่วนร่วมในกระบวนการออกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว

2.1 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ครอบคลุมรอบด้าน หรือไม่ รวมถึงระยะเวลาในการเปิดให้แสดงความคิดเห็นเพียงพอหรือไม่อย่างไร

2.2 นอกจากข้าราชการภายใต้สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ได้เปิดโอกาสให้บุคลกรทาง สาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ครอบคลุมรอบด้าน หรือไม่ อย่างไร

3. นอกจากกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วกฎหมายทุกลําดับชั้นอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับการบําบัดรักษาผู้เสพ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ชื่อ อนุทิน ชาญวีรกูล มี ฉบับใดอีกที่ขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชนหรือไม่

จารุณี ศิริพันธุ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ระบุว่า เจตนาหลักของการยื่นหนังสือวันนี้เพื่อที่จะบอกว่าแม้ในประมวลกฎหมายยาเสพติดจะให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขในการปรับแก้ไขได้ แต่ไม่ใช่บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในการผลักผู้ใช้ยาให้กลายไปเป็นอาชญากร ทั้งที่เมื่อก่อนเราเคยเสนอว่าการจัดการกับผู้ใช้ยาต้องเปลี่ยนจากการคุมประพฤติให้มาอยู่ในการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขถึงจะเป็นไปตามหลักการ “ผู้เสพคือผู้ป่วย” แต่แทนที่กระทรวงสาธารณสุขจะออกมาตรการในการดูแลผู้เสพกลายเป็นว่ามาออกร่างประกาศฉบับนี้ ให้บทบาทของผู้ใช้ยาเป็นอาชญากร ที่บอกว่าทั้งที่จริง ๆ หน้าที่คุณคือต้องดูแลเขา เพราะเขาอยู่ในฐานะของผู้ใช้ไม่ได้ทำความผิด ดังนั้นไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องตัดสินว่าเขาเป็นผู้ค้า

“สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังทำ ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ขัดกับหลักกฎหมายยาเสพติดฉบับปัจจุบัน และทำให้สิ่งที่ไม่ใช่บทบาทของตัวเอง ไม่ใช่จริยธรรมของกระทรวงที่จะทำสิ่งนี้ได้ ที่สำคัญคือการทำแบบนี้จะทำให้เกิดผลกระทบมาก หลายคนบอกว่าอาจจะทำให้คุกแน่น แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น สิ่งสำคัญคือใครกี่คนที่ต้องอยู่ในสภาวะนี้ และเขาอาจจะมีครอบครัว มีพ่อแม่ มีอาชีพการงาน เมื่อไหร่ก็ตามที่ยาสองเม็ดเท่ากับผู้ค้า มันไปทำลายชีวิตเขา ชี้ว่าเขาเป็นตัวปัญหา และยังเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการเรียกรับผลประโยชน์ เกิดการยัดยาแน่ๆ อาจมีการเรียกรับผลประโยชน์ได้ง่าย ๆ หรือเกิดการกระทำความรุนแรง เพราะใคร ๆ ก็เป็นผู้ค้า”

ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าทำไมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขถึงได้ออกมาพูดเรื่องนี้ในเรื่องนี้ในช่วงใกล้หาเสียงเลือกตั้ง และให้เหตุผลว่าเป็นความปรารถนาดีกับประชาชนไม่ให้ลูกหลานไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคนละประเด็น

“คนเหล่านี้เขาก็อยู่ในสถานะของการเป็นเพียงผู้เสพหรือเป็นเหยื่ออยู่แล้ว การจัดการที่ถูกต้องควรไปจัดการผู้ค้า และผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ใช่มายกระดับคนเหล่านี้ให้กลายเป็นผู้ค้า เพื่อป้องกันเยาวชน การป้องกัยเยาวชนที่ถูกต้องคือให้คนมีความรอบรู้เรื่องยาเสพติด และห่างไกลด้วยความตระหนักถึงผลกระทบด้วยตัวเอง รวมถึงควรจะโปรโมทเรื่องการรักษาเพื่อลดอันตราย น่าจะดีกว่าที่จะผลักให้พวกเขาต้องไปเข้าคุก ย้ำว่านี่ไม่ใช่บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข”

หลังจากนี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนจะตรวจสอบรายละเอียดในหนังสือ ว่าร่างดังกล่าวซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนจะส่งเข้า คณะรัฐมนตรีเป็นร่างประกาศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ขัดต่อกฎหมายยาเสพติดหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีการส่งเรื่องถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาร่วมกันอีกครั้ง หลังจากนั้นจะตอบกลับมายังเครือข่ายภาคประชาสังคมต้านยาเสพติดต่อไป

เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านยาเสพติด ประกอบด้วย 19 องค์กร ดังนี้ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์(FAR) เครือข่ายประชาชนขจัดการเลือกปฎิบัติ(MovED) สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี(IHRI) เครือข่ายเพื่อนผู้ใช้ยาไทย(ThaiNPUD) มูลนิธิโอโซน กลุ่มผลัดใบเพื่อการพัฒนา:DDG(DeciduousforDevelopmentGroup) เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพ มูลนิธิแอพคอม(APCOMFoundation) สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย มูลนิธิรักษ์ไทย เครือข่ายผู้ใช้ยาประเทศไทย กลุ่ม Together กลุ่มมอบความหวัง กลุ่ม ฅ ฅน เพื่อการเปลี่ยนแปลง สมาพันธ์เพื่อช่วยเหลือชาวมอญผู้ประสบภัยตามแนวชายแดน เครือข่ายชาติพันธุ์ภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันตก เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กลุ่มส่งเสริมการเข้าถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพและสังคม – APASS

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active