20 วัน พบเด็กป่วยแล้ว 14 ราย หลังปลดล็อกกัญชา

5 รายอาการหนัก ต้องพบแพทย์ทันที ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เสนอ ห้ามใช้กัญชาและสารสกัดเป็นส่วนผสมในอาหาร ขนม และเครื่องดื่มทุกชนิด ป้องกันเด็ก หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงโดยไม่ตั้งใจ

การเปิดกัญชาเสรี ทำให้ขณะนี้เด็กและวัยรุ่นเข้าถึงกัญชาได้ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ นับจากการปลดล็อกกัญชาในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ได้มีรายงานผู้ป่วยเด็กที่มีผลกระทบ อาการป่วยจากกัญชามายังราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หลังเก็บรายงานผู้ป่วยเด็กที่มีอาการ ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2565 มีผู้ป่วยรวมทั้งหมด 14 คน เหตุผลส่วนใหญ่ที่ได้รับกัญชามาจากความตั้งใจ ซึ่ง พบในเพศชาย 12 คน เพศหญิง 2 คน

คณะกรรมการราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผย ข้อมูลรายงานผู้ป่วยเด็ก ที่มีอาการป่วยจากกัญชา สำหรับข้อมูลเฉพาะวันที่ 1-10 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ด้วยการกินและเสพ มีผู้ป่วยเด็ก 5 คน ซึ่งมีอาการที่ต้องพบแพทย์ทันที ดังนี้

คนที่ 1 เด็กชาย อายุ 14 ปี 10 เดือน อยู่จังหวัดสุรินทร์ ได้นำ ใบกัญชามาสูบเพื่อนันทนาการ มีอาการสับสนกระวนกระวาย และมีอาการชักร่วมด้วย ส่งตรวจสารกัญชาในปัสปั สาวะได้ผลบวก(positive) เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการโดยยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล รอทีมสหวิชาชีพร่วมประเมินเนื่องจากมีการใช้ยาเสพติดประเภทยาบ้าร่วมด้วย

คนที่ 2 เด็กหญิง อายุ 11 ปี 4 เดือนอยู่จังหวัดอุดรธานีได้รับกัญชาโดยไม่รู้ตัวจากการรับประทานต้มไก่ใส่ใบกัญชา ที่รุ่นพี่
ชั้น ป.6 นำ ใบกัญชามาจากที่บ้านเพื่อประกอบอาหารในวิชาคหกรรมแล้วชวนไปรับประทาน มีง่วงนอน ซึม สั่น เดินเซ พูดไม่ชัด คลื่นไส้อาเจียน ตรวจสารกัญชาในปัสปั สาวะวันที่ 4 หลังรับประทานให้ผลลบ รับเข้าการรักษาในโรงพยาบาลประมาณ 3 วัน เพื่อติดตามอาการ แพทย์ประสานกับทางโรงเรียนเพื่อทราบและโรงเรียนได้จัดการแล้วตามความเหมาะสม

คนที่ 3 เพศชาย อายุ 14 ปีอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราชหลังประกาศการใช้กัญชาเสรี เด็กได้นำ ดอกกัญชาที่ได้รับจาก
เพื่อนมาสูบจากบ้องกัญชาและมวนบุหรี่ไส้กัญชา ครูจับได้ว่าแอบสูบ หลังสูบมีอาการง่วงนอน ซึม มึน เมา หัวเราะ เคลิ้ม อารมณ์ดีกว่าปกติ สลับกับมีพฤติกรรมก้าวร้าวเอะอะโวยวาย กระตุกแบบสะดุ้ง ตรวจ urine THC test strip จากโรงเรียน positiveรักษาเบื้องต้นและกลับบ้าน

คนที่ 4 เพศชาย อายุ 16 ปีอยู่จังหวัดกรุงเทพมหานครได้รับกัญชาโดยดื่มชากัญชาที่เพื่อนนำ มาให้ลองดื่ม เด็กอยากรู้ว่า
เป็นอย่างไร หลังดื่มชากัญชารู้สึกง่วง มึน ซึมและหลับไปไม่รู้ตัวอาเจียนมาก เด็กไม่รู้ตัวและจำ เหตุการณ์เมื่อคืนไม่ได้ เมื่อตื่นมาจึง
บอกแม่ว่าดื่มชากัญชาที่เพื่อนนำ มาให้ลอง แม่พาเด็กมาพบแพทย์ตามนัด ให้คำ แนะนำ เด็กว่าไม่ควรบริโภคอีก

คนที่ 5 เด็กชาย อายุ 4 ปี 6 เดือนอยู่จังหวัดนนทบุรีพัฒนาการล่าช้า ได้รับกัญชาโดยไม่รู้ตัว ดื่มชากัญชาของย่าต้ม
เองโดยใช้ดอกและใบ 5 ใบแช่ไว้ในตู้เย็น ดื่มไปปริมาณ 1 แก้วหลังดื่มหลับ ซึม เรียกไม่ตื่น อาเจียน 2 ครั้ง หลังจากนั้นนอนหลับนาน 14 ชั่วโมง ซึม ไม่มีอาการเอะอะโวยวาย แพทย์ให้คำปรึกษาแนะนำ สังเกตอาการ และติดตามอาการทางโทรศัพท์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้มีแถลงการณ์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2 เรื่อง ผลกระทบของกฎหมายกัญชาเสรีต่อสุขภาพเด็กและวัยรุ่น โดยราชวิทยาลัยกุมารแพย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย) ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทย ได้ติดตามผลกระทบของกัญชาต่อเด็กและเยาวชนอย่างใกล้ชิดมีความห่วงใยและตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องสมุนไพรควบคุม(กัญชา) พ.ศ. 2565 ราชวิทยาลัยกุมารแพย์แห่งประเทศไทย ขอเสนอให้มีมาตรการควบคุมดังนี้

  1. เห็นควรให้กำหนดการใช้กัญชาเฉพาะกรณีมีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น อาทิเช่น โรคลมชักชนิดดื้อยา ใช้ประกอบการรักษาประคับประคองผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด
  2. ต้องมีมาตรการห้ามมิให้มีการใช้กัญชา และสารสกัดจากกัญชา เป็นส่วนประกอบในอาหาร ขนม และเครื่องดื่มทุกชนิด เนื่องจากประชาชน รวมทั้งเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรอาจเข้าถึงได้โดยไม่ตั้งใจ และไม่สามารถควบคุมปริมาณกัญชาในส่วนประกอบที่บริโภคได้
  3. ในระยะเร่งด่วน ระหว่างรอร่างกฎหมาย เสนอให้มีมาตรการควบคุม โดย 1) ให้มีมาตรการควบคุม การผลิต และขายอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาผสม กำหนดให้มีเครื่องหมาย/ข้อความเตือนอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการใช้ในเด็กและวัยรุ่น โดยระบุ “กัญชามีผลทำลายสมองเด็กงดจำหน่ายให้เด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร” และงดวางผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมในที่เปิดเผย 2) ห้ามโฆษณา จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายรวมถึงนำเด็กและเยาวชนมามีส่วนร่วม และจัดจำหน่าย อาหาร ขนมเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีส่วนผสมของกัญชาและสารสกัดจากกัญชาต่อเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร 3)ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนเรื่องโทษของกัญชากับสมองเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้เกิดความตระหนักรับรู้ว่ากัญชาเป็นสารที่มีฤทธิ์เสพติด ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตในระยะเฉียบพลัน และอาจรุนแรงถึงกับชีวิตได้ รวมถึงมีผลกระทบในระยะยาวต่อสมอง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของสมองที่กำลังพัฒนา
  1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามผลกระทบของกัญชาต่อเด็กอย่างต่อเนื่องและจริงจังและนำมาเปีดเผยสู่สาธารณชน

Author

Alternative Text
AUTHOR

นิตยา กีรติเสริมสิน

สนใจวงการบันเทิงตั้งแต่เด็ก รักการพูด แต่ชีวิตพลิกผันก้าวสู่นักสื่อสารมวลชน รักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดิน น้ำ และความเป็นไปของโลก คิดบวก มองทางเลือกใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์