ระดมสมองผ่าทางออก ลดฝุ่น PM2.5 เชียงใหม่จัดการไฟด้วยฐานข้อมูล

ผนึกกำลังแก้ปัญหาฝุ่นมลพิษ ชูจุดเริ่มต้นใหม่จัดการไฟ ด้วย Big Data วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และกระจายอำนาจตัดสินใจ ผ่านเวที ‘Policy Forum ครึ่งทางฤดูฝุ่น จัดการไฟแก้ PM2.5 เชียงใหม่’

ก

The Active ร่วมกับองค์กรเครือข่าย เปิดพื้นที่ฟังข้อมูล แลกเปลี่ยนมุมมอง เสนอแนะ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการฝุ่นควันจากการเผา ใน Policy Forum ครึ่งทางฤดูฝุ่น จัดการไฟแก้ PM2.5 เชียงใหม่

ทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปีนี้จังหวัดเชียงใหม่ใช้นวัตกรรม 1. ระบบราชการแบบเปิด เป็นการทำงานแบบทีมไทยแลนด์ ไม่ใช้แค่ภาครัฐ แต่รวมทุกภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ ประชาชน สื่อมวลชน ทำงานจับมือกัน 2. การใช้ข้อมูลใช้เดต้าเป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกับเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ประสบการณ์แต่ละภาคส่วนร่วมกัน 3. เน้นการทำงานเชิงป้องกัน และความยั่งยืน

ทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

“โดยสถานกรณ์ปีนี้ คล้ายการสอบมิดเทอม ตอนนี้มาจนจะถึงครึ่งทาง อย่างเป้าปีนี้เราดู Hotspot จะลดลงจากปีก่อน 50 % ที่ผ่านมา Hotspot เปรียบเทียบจุดความร้อนจังหวัดเชียงใหม่ Hotspot ลดลง 85 % ขณะที่จำนวนผู้ป่วยสะสมลดลง จากปี 2566 ในห้วงเวลาเดียวกัน -v’ปี 2566 และ 2567(ระหว่าง 1-31 มกราคม ) คิดเป็นร้อยละ 11.69”

ขณะที่พื้นที่เผาไหม้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงวันที่ 1-31 มกราคม 2567 จากปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน 2 หมื่นกว่าไร่ ตอนนี้ลดลงไป เหลือ 80 ไร่

“สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ปีนี้ไม่ใช้วิธีห้ามเผาเด็ดขาด เพราะมันไม่ใช่คำตอบ เพราะเคยห้ามเผาแล้วไม่ได้ผล จึงเลือกใช้วิธีการบริหารเชื้อเพลิง ผ่านการใช้เดต้าข้อมูลผ่านการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ที่แนวทางนี้น่าจะเป็นทิศทางที่จะทำให้ดีขึ้น”

ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มมา 68,685 ไร่ จากเชียงใหม่มีพื้นที่ 14 ล้านไร่ ถ้าเทียบช่วงเวลาเดียวกัน ก็ไหม้ไป กว่า 2 แสน 7 หมื่นไร่ ซึ่งการใช้ไฟมีทั้งขออนุญาต และการลักลอบจุด ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า พื้นที่การขออนุญาตมี 15 % แต่นี่ก็คือจุดเริ่มต้นใหม่ แม้จะยังมีกรณีที่เกิดจากไฟที่ไม่ขออนุญาต

ขณะนี้มีการ ใช้การใช้ แอปพลิเคชัน “FireD(ไฟดี)”และบริหารจัดการบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เห็นข้อมูลร่วมกัน ตรงนี้คือจุดเริ่มต้นใหม่ขณะที่สถานการณ์ ม.ค.- ก.พ. ค่าฝุ่นดีขึ้น แต่พอปลาย ก.พ. ค่าฝุ่นเพิ่มขึ้นเพราะเกิดไฟในป่าและเริ่มไร้ทิศทางที่ไม่ใช้พื้นที่การเกษตร

สำหรับปีนี้ปัจจัยปีแอลนีโญ ปัจจัยสภาพาอากาศ ก็มีผลทำให้ค่าฝุ่นยังเป็นปัญหา แต่เวลานี้ ทั้งความร่วมมือ จากนักวิชาการ อบจ. ท้องถิ่น จังหวัด ขณะที่ประชาชน ก็เห็นชุดข้อมูลรว่มกันเพื่อบริหารจัดการเชื้อเพลงก็ยังดีที่จะเป็นทางออกสำคัญในการเดินหน้าต่อเนื่อง

บัณรส บัวคลี่  สภาลมหายใจเชียงใหม่

ด้าน บัณรส บัวคลี่  สภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า ในระยะ10 ปีมานี้ เราอยู่ในการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ โดยเชียงใหม่ พยายามทำชุดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการไฟ แต่คำถามคือวิธีคิดของกฎหมาย พอแปลงมาสู่การปฎิบัติ จะทำอย่างไรที่หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ และมีกฎหมายบางส่วนอยู่แล้ว แล้วมาทำงานในเชิงปฎิบัติกันได้ เช่น ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ อำนาจของกฎหมายจะอนุญาตให้หน่วยงานไม่ได้อยู่ในพื้นที่เข้ามารวมกันอย่างไร

ทั้งนี้ โจทย์ที่ท้าทายของการสถาปนาใหม่ คือสังคมควรมองเห็นผลลัพธ์และการได้รับการยอมรับ คือต้องมีชุดข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้ จุดเด่นของเราคือกระบวนการสร้างส่วนร่วมกับชาวบ้าน แต่ก็อยากให้เห็น การใช้ แอปพลิเคชัน “FireD(ไฟดี)” ที่ต้องเปิดเพื่อให้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้มีข้อถอเถียงนำไปสู่ทางออก ว่าอะไรคือไฟจำเป็น อะไรที่ต้องทำก่อน ไม่ใช้เป็นเพียงเครื่องมือของวอร์รูม (War Room) ฝ่ายเดียว ขณะที่จุดอ่อนคือยุทธการอาจต้องเพิ่มวิธีการจัดการให้ดีด้วย ไม่ใช้แค่มิติบริหารอย่างเดียว แต่ต้องมีการบริหารจัดการสังคมด้วย

Author

Alternative Text
AUTHOR

นิตยา กีรติเสริมสิน

สนใจวงการบันเทิงตั้งแต่เด็ก รักการพูด แต่ชีวิตพลิกผันก้าวสู่นักสื่อสารมวลชน รักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดิน น้ำ และความเป็นไปของโลก คิดบวก มองทางเลือกใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์