ผนึกกำลังแก้ปัญหาฝุ่นมลพิษ ชูจุดเริ่มต้นใหม่จัดการไฟ ด้วย Big Data วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และกระจายอำนาจตัดสินใจ ผ่านเวที ‘Policy Forum ครึ่งทางฤดูฝุ่น จัดการไฟแก้ PM2.5 เชียงใหม่’
The Active ร่วมกับองค์กรเครือข่าย เปิดพื้นที่ฟังข้อมูล แลกเปลี่ยนมุมมอง เสนอแนะ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการฝุ่นควันจากการเผา ใน Policy Forum ครึ่งทางฤดูฝุ่น จัดการไฟแก้ PM2.5 เชียงใหม่
ทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปีนี้จังหวัดเชียงใหม่ใช้นวัตกรรม 1. ระบบราชการแบบเปิด เป็นการทำงานแบบทีมไทยแลนด์ ไม่ใช้แค่ภาครัฐ แต่รวมทุกภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ ประชาชน สื่อมวลชน ทำงานจับมือกัน 2. การใช้ข้อมูลใช้เดต้าเป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกับเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ประสบการณ์แต่ละภาคส่วนร่วมกัน 3. เน้นการทำงานเชิงป้องกัน และความยั่งยืน
“โดยสถานกรณ์ปีนี้ คล้ายการสอบมิดเทอม ตอนนี้มาจนจะถึงครึ่งทาง อย่างเป้าปีนี้เราดู Hotspot จะลดลงจากปีก่อน 50 % ที่ผ่านมา Hotspot เปรียบเทียบจุดความร้อนจังหวัดเชียงใหม่ Hotspot ลดลง 85 % ขณะที่จำนวนผู้ป่วยสะสมลดลง จากปี 2566 ในห้วงเวลาเดียวกัน -v’ปี 2566 และ 2567(ระหว่าง 1-31 มกราคม ) คิดเป็นร้อยละ 11.69”
ขณะที่พื้นที่เผาไหม้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงวันที่ 1-31 มกราคม 2567 จากปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน 2 หมื่นกว่าไร่ ตอนนี้ลดลงไป เหลือ 80 ไร่
“สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ปีนี้ไม่ใช้วิธีห้ามเผาเด็ดขาด เพราะมันไม่ใช่คำตอบ เพราะเคยห้ามเผาแล้วไม่ได้ผล จึงเลือกใช้วิธีการบริหารเชื้อเพลิง ผ่านการใช้เดต้าข้อมูลผ่านการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ที่แนวทางนี้น่าจะเป็นทิศทางที่จะทำให้ดีขึ้น”
ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีพื้นที่เผาไหม้เพิ่มมา 68,685 ไร่ จากเชียงใหม่มีพื้นที่ 14 ล้านไร่ ถ้าเทียบช่วงเวลาเดียวกัน ก็ไหม้ไป กว่า 2 แสน 7 หมื่นไร่ ซึ่งการใช้ไฟมีทั้งขออนุญาต และการลักลอบจุด ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า พื้นที่การขออนุญาตมี 15 % แต่นี่ก็คือจุดเริ่มต้นใหม่ แม้จะยังมีกรณีที่เกิดจากไฟที่ไม่ขออนุญาต
ขณะนี้มีการ ใช้การใช้ แอปพลิเคชัน “FireD(ไฟดี)”และบริหารจัดการบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เห็นข้อมูลร่วมกัน ตรงนี้คือจุดเริ่มต้นใหม่ขณะที่สถานการณ์ ม.ค.- ก.พ. ค่าฝุ่นดีขึ้น แต่พอปลาย ก.พ. ค่าฝุ่นเพิ่มขึ้นเพราะเกิดไฟในป่าและเริ่มไร้ทิศทางที่ไม่ใช้พื้นที่การเกษตร
สำหรับปีนี้ปัจจัยปีแอลนีโญ ปัจจัยสภาพาอากาศ ก็มีผลทำให้ค่าฝุ่นยังเป็นปัญหา แต่เวลานี้ ทั้งความร่วมมือ จากนักวิชาการ อบจ. ท้องถิ่น จังหวัด ขณะที่ประชาชน ก็เห็นชุดข้อมูลรว่มกันเพื่อบริหารจัดการเชื้อเพลงก็ยังดีที่จะเป็นทางออกสำคัญในการเดินหน้าต่อเนื่อง
ด้าน บัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า ในระยะ10 ปีมานี้ เราอยู่ในการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ โดยเชียงใหม่ พยายามทำชุดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการไฟ แต่คำถามคือวิธีคิดของกฎหมาย พอแปลงมาสู่การปฎิบัติ จะทำอย่างไรที่หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ และมีกฎหมายบางส่วนอยู่แล้ว แล้วมาทำงานในเชิงปฎิบัติกันได้ เช่น ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ อำนาจของกฎหมายจะอนุญาตให้หน่วยงานไม่ได้อยู่ในพื้นที่เข้ามารวมกันอย่างไร
ทั้งนี้ โจทย์ที่ท้าทายของการสถาปนาใหม่ คือสังคมควรมองเห็นผลลัพธ์และการได้รับการยอมรับ คือต้องมีชุดข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้ จุดเด่นของเราคือกระบวนการสร้างส่วนร่วมกับชาวบ้าน แต่ก็อยากให้เห็น การใช้ แอปพลิเคชัน “FireD(ไฟดี)” ที่ต้องเปิดเพื่อให้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้มีข้อถอเถียงนำไปสู่ทางออก ว่าอะไรคือไฟจำเป็น อะไรที่ต้องทำก่อน ไม่ใช้เป็นเพียงเครื่องมือของวอร์รูม (War Room) ฝ่ายเดียว ขณะที่จุดอ่อนคือยุทธการอาจต้องเพิ่มวิธีการจัดการให้ดีด้วย ไม่ใช้แค่มิติบริหารอย่างเดียว แต่ต้องมีการบริหารจัดการสังคมด้วย