สภาลมหายใจภาคเหนือ 8 จังหวัดจี้รัฐบาลปรับเกณฑ์มาตรฐานฝุ่น PM2.5

เรียกร้องรัฐบาลเร่งดำเนินการ หลังยกร่างพิจารณาปรับค่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นเฉลี่ยรายชั่วโมงไม่เกิน 35 ไมโครกรัม/ลบ.ม.มาแล้ว 1 ปี ตามเป้าหมายแผนขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ แต่กลับไร้ความคืบหน้า

ครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ 8 จังหวัด ร่วมกันอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งปรับค่ามาตรฐานฝุ่นให้สอดคล้องกับค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก(WHO)แนะนำหรือใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ โดยระบุว่า ค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ประเทศไทยใช้อยูขณะนี้ คือ รอบเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และเฉลี่ย 1 ปี ไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ยังห่างจากเกณฑ์ชี้นําขององคการอนามัยโลก WHO ที่เพิ่งปรับปรุงใหม่เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ไม่เพียงเท่านั้นประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ล้วนแต่มีระดับค่ามาตรฐานฝุ่นละอองเข้มงวดกว่าประเทศไทย นัยของความเข้มงวดดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความระมัดระวังตลอดถึงคําเตือน ด้านสุขภาพประชาชนเข้มงวดขึ้นตามไปด้วย

ประเทศไทยได้กําหนดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติแก้ปัญหามลพิษด้านฝุนละอองตามมติคณะรัฐมนตรี 12 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหา กําหนดไว้ว่า จะต้องกําหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศใหเป็นไปตามเป้าหมายระยะที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก(WHO IT- 3) ซึ่งในทางปฏิบัติได้มีการยกร่างเตรียมประกาศใช้ค่ามาตรฐานใหม่เอาไว้แล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ให้อยู่ที่ รายวันไม่เกิน 37 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และรายปีไม่เกิน 15 ไมโครกรัม/ ลบ.ม. แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้ประกาศใช้ ซึ่งการที่ล่าช้าออกไปทําใหค่ามาตรฐานของไทยยิ่งไกล จากค่ามาตรฐานที่เพิ่งปรับใหม่ของ WHO มากขึ้นไปอีก

เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้เกิดความระมัดระวัง และเกิดการยกระดับการควบคุมการปล่อยมลพิษด้วยมาตรฐานใหม่ รัฐบาลไทยต้องยกระดับค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ให้เข้มงวดขึ้นทันที โดยเริ่มจากให้ประกาศค่ามาตรฐานที่ได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นและยกร่างเตรียมไว้แล้ว คือ อยู่ที่ เฉลี่ยรายวันไม่เกิน 37 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 15 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ทันที

จากนั้นขอให้รัฐบาลพิจารณาปรับปรุงค่ามาตรฐานให้สอดคล้องกับเกณฑ์เป้าหมายชี้นําของ WHO และสากลประเทศ รวมถึงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของมลพิษฝุ่นละอองที่เกิดวิกฤตเป็นประจําทุกปี ในประเทศของเราเอง เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพประชาชนอย่างจริงจัง

Author

Alternative Text
AUTHOR

อรวรรณ สุขโข

นักข่าวที่ราบสูง ชอบเดินทางภายใน ตั้งคำถามกับทุกเรื่อง เชื่อในศักยภาพมนุษย์ ขอเพียงมีโอกาส