ผู้ป่วยอาการหนัก-ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพิ่ม

วิจัยกรุงศรี ประเมิน ระบาดรอบ 3 พีคสุดสัปดาห์ที่ 2 เดือน พ.ค. ชี้ ถ้าคุมไม่อยู่ อาจลากยาวถึงเดือน ก.ค.

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 วันนี้ (26 เม.ย. 2564) มีจำนวน 2,048 คน ลดลงจากเมื่อวาน สวนทางกับตัวเลขผู้ที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหลัก (ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลสนาม) จำนวน 20,461 คน เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ จำนวน 1,187 คน (จำนวนผู้เข้ารักษาในโรงพยาบาลเมื่อวานนี้ 19,274 คน)

รวมทั้งตัวเลขผู้ป่วยอาการหนักและผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยตัวเลขผู้ป่วยอาการหนักวันนี้ (26 เม.ย.) จำนวน 563 คน ขณะที่เมื่อวานนี้ มีจำนวน 507 คน ส่วนผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจวันนี้มีจำนวน 150 คน ขณะที่เมื่อวานนี้มีจำนวน 138 คน

ด้านเว็บไซต์ข่าว ThaiPublica เผยแพร่ข้อมูลเมื่อวันที่ 25 เม.ย. กรณี ศูนย์วิจัยกรุงศรี ประมาณการจำนวนการติดเชื้อโควิด-19 ของไทยรอบที่ 3 อีกครั้ง หลังนำข้อมูลการแพร่ระบาดในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่พุ่งขึ้นไปที่ 2,839 คนต่อวัน และวันที่ 25 เม.ย. ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อ 2,438 คน เข้าไปในแบบจำลอง

ผลประมาณการพบว่า median forecast ยังคล้ายที่ทำไว้คราวก่อนหน้า (เส้นประ) โดย peak ของการแพร่ระบาด (ประมาณ 3,000 รายต่อวัน) จะเลื่อนออกไป 1 สัปดาห์ จากปลายเมษายนไปเป็นต้นเดือนพฤษภาคม โดยหลังจากสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม การติดเชื้อน่าจะเริ่มลดลง และตัวเลขต่ำ 100 ราย อาจจะเห็นได้ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม

เมื่อลองทำเป็น cumulative cases จะพบว่า กรณี median forecast (เส้นสีส้ม) จะ peak ที่ 38,000 ราย ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม

ที่น่าเป็นห่วงคือ กรณีส่วน more severe (สีแดง) ซึ่งหมายถึง การติดเชื้อแพร่มากขึ้นในวงกว้าง ซึ่งเกิดจากการที่ไม่สามารถความคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดได้ ในกรณีนี้ ผลการประมาณการชี้ว่า แม้เวลาจะผ่านไปถึงกรกฎาคม เเล้ว ตัวเลขการติดเชื้อจะยังไม่ค่อยลง

ในรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือนมีนาคม หรือ Monthly Economic Bulletin ที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ วิจัยกรุงศรี ใช้แบบจำลองประเมินสถานการณ์การติดเชื้อไว้ว่า การระบาดระลอกนี้อาจสูงสุดในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม โดยมีผู้ป่วยรายใหม่รายวันสูงถึง 2,600 คน จำนวนผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยอาจพุ่งสูงกว่า 100,000 คน แบบจำลองนี้ยังคาดการณ์ว่า จำนวนการติดเชื้อรายวันจะลดลงต่ำกว่า 100 คน ภายในต้นเดือนกรกฎาคม ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดจำนวนผู้ป่วยสะสมจะเกิน 300,000 คน และการแพร่ระบาดอาจยาวไปสู่ไตรมาส 3 ปีนี้

Author

Alternative Text
AUTHOR

เพ็ญพรรณ อินทปันตี

อดีตนักกิจกรรม รักการอ่าน งานเขียน ว่ายน้ำ และเล่นกับแมว