สธ. ยืนยัน “เตียง” มีพอ รองรับผู้ป่วยโควิด-19

เฉพาะ กทม. และปริมณฑล 2,778 เตียง ภาคตะวันตก 1,647 เตียง และภาคตะวันออก 2,628 เตียง คาด จำนวนผู้ป่วยตรวจพบ จะเพิ่มอีกทั้งประเทศ

วันนี้ (1 ม.ค. 2564) นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ แถลงเมื่อช่วงบ่ายว่า กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันความพร้อมในการจัดเตรียมเตียงเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั้งหมด 22,690 เตียง โดยแบ่งเป็นเตียงของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 18,290 เตียง และนอกสังกัดอีก 4,400 เตียง

โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้จัดเตรียมไว้ทั้งหมด 2,778 เตียง จาก 116 โรงพยาบาล ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นเตียงรองรับผู้ป่วยหนัก AIIR-ICU จำนวน 164 เตียง และ Modified AIIR จำนวน 249 เตียง ส่วนเตียงสำหรับผู้ป่วยไม่หนักมากทั้ง Isolate Room หรือห้องแยกพักผู้ป่วย จำนวน 1,532 เตียง และ Cohort Ward หรือหอผู้ป่วยแยกโรค อยู่ที่ 833 เตียง

ส่วนการเตรียมเตียงในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 5 ได้แก่ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร จัดเตรียมไว้ทั้งหมด 1,647 เตียง จาก 118 โรงพยาบาล ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นเตียงรองรับผู้ป่วยหนัก AIIR-ICU จำนวน 38 เตียง และ Modified AIIR จำนวน 54 เตียง ส่วนเตียงสำหรับผู้ป่วยไม่หนักมากทั้ง Isolate Room จำนวน 469 เตียง และ Cohort Ward อยู่ที่ 619 เตียง

เขต 6 ภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ จันทบุรี ชลบุรี ตราด และระยอง จัดเตรียมไว้ทั้งหมด 2,628 เตียง จาก 149 โรงพยาบาล ในจำนวนนี้แบ่งเป็นเตียงรองรับผู้ป่วยหนัก AIIR-ICU จำนวน 104 เตียง และ Modified AIIR จำนวน 42 เตียง ส่วนเตียงสำหรับผู้ป่วยไม่หนักมากทั้ง Isolate Room จำนวน 533 เตียง และ Cohort Ward อยู่ที่ 697 เตียง

ส่วนผู้ป่วยยืนยันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะนี้ (31 ธ.ค. 2563) มีจำนวน 277 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic) 85 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.รัฐ 20 คน และ ร.พ.เอกชน 65 คน, กลุ่มที่มีอาการน้อย (Mild Case) 157 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.รัฐ 48 คน และ ร.พ.เอกชน 109 คน, กลุ่มที่มีอาการปานกลาง (Moderate Case) 27 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.รัฐ 18 คน และ ร.พ.เอกชน 9 คน และกลุ่มที่มีอาการหนัก (Severe Case) 8 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.รัฐ 5 คน และ ร.พ.เอกชน 3 คน

ผู้ป่วยยืนยันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 5 จำนวน 320 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic) 120 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 95 คน รักษาใน ร.พ.สังกัดองค์กรมหาชน 3 คน และ ร.พ.เอกชน 22 คน

กลุ่มที่มีอาการน้อย (Mild Case) 171 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 95 คน รักษาใน ร.พ.สังกัดองค์กรมหาชน 13 คน และ ร.พ.เอกชน 63 คน, กลุ่มที่มีอาการปานกลาง (Moderate Case) 28 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 10 คน และ ร.พ.เอกชน 18 คน และกลุ่มที่มีอาการหนัก (Severe Case) 1 คน รักษา ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้ป่วยยืนยันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 6 จำนวน 248 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic) 113 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 95 คน รักษาในโรงเรียนแพทย์ 6 คน รักษาใน ร.พ.สังกัดกระทรวงกลาโหม 6 คน และ ร.พ.เอกชน 6 คน

กลุ่มที่มีอาการน้อย (Mild Case) 123 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 41 คน รักษาในโรงเรียนแพทย์ 7 คน และ ร.พ.เอกชน 75 คน, กลุ่มที่มีอาการปานกลาง (Moderate Case) 10 คน แบ่งรักษาใน ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 8 คน รักษาในโรงเรียนแพทย์ 1 คน และ ร.พ.เอกชน 1 คนและกลุ่มที่มีอาการหนัก (Severe Case) 2 คน รักษาใน ร.พ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 1 คน และรักษาในโรงเรียนแพทย์ 1 คน

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยที่มีการรุนแรงปานกลางและอาการหนักจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดภาคตะวันออกจะเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงมากกว่า จ.สมุทรสาคร และคาดการณ์ด้วยว่าจำนวนผู้ป่วยตรวจพบจะเพิ่มอีกทั้งประเทศ

Author

Alternative Text
AUTHOR

เพ็ญพรรณ อินทปันตี

อดีตนักกิจกรรม รักการอ่าน งานเขียน ว่ายน้ำ และเล่นกับแมว