เตือนสังคมไทยมีความเข้าใจทางการเงินที่ผิดถ่ายทอดแบบรุ่นสู่รุ่น แนะปรับวิธีคิด เสริมความรู้ให้เท่าทันหนี้ เสนอบรรจุความรู้เรื่องหนี้ในหลักสูตรการศึกษา ช่วยให้คนเป็นหนี้น้อยลง
พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ ผู้ก่อตั้ง Genius School Thailand (SMEs) กล่าวว่า ถ้าคนไทยเดินมาพร้อมกัน 10 คนจะมีประมาณ 8 คน แต่จะเป็นหนี้ ขณะที่อีก 7.5 คน คือคนที่เป็นหนี้เสีย ที่ไม่สามารถจัดการได้ ในสังคมปัจจุบันมักส่งเสริมให้คนเป็นหนี้มากกว่าการออม จะเห็นว่า บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด มีแพร่หลาย ขณะที่นโยบายด้านการเงินก็มักสนับสนุนให้คนไทยกู้ได้อย่างง่าย บางคนหลายมีเพียงมือถือเครื่องเดียวสามารถกดกู้ยืมผ่านแอปพลิเคชันก็เป็นหนี้ได้ทันที ทุกวันนี้การเป็นหนี้สามารถเป็นได้ง่าย ๆ สวนทางกับนโยบายการสนับสนุนเรื่องการออมกลายเป็นเรื่องยากกว่า
“การเป็นหนี้ที่จริงมันแย่กว่าหลาย 10 เท่า แต่ทำไมหลายคนมักคิดว่าเป็นเรื่องปกติ หลายต่อหลายคนเป็นหนี้ไม่มีเงินออมและหาทางออกไม่ได้ก็ล้มหนักเป็นโดมิโน่ได้เลย”
ที่หนักกว่านั้นในโรงเรียนไม่มีสอนเรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินจริงจัง จะสังเกตได้ว่าตั้งแต่เล็กจนโต แม้จะมีการเก็บออมแต่ก็น้อยนักที่จะเข้าใจการจัดการเรื่องหนี้สิ้น มากแค่ไหน ในอดีตที่ผ่านมาคุณพ่อคุณแม่มักจะสอนเด็ก ๆ รู้จักหยอดกระปุกแล้วยังไงต่อ ยังไม่ค่อยจะเห็น การสอนให้เก็บออมแล้วเอาเงินไปลงทุนอย่างถูกงวิธี ยังไม่มีสอนในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ในฐานะที่เคยทำทางด้านการศึกษาการสร้างมายเซ็ตด้านการเงินที่ถูกวิธีคือเรื่องสำคัญเพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องไม่ต้องเริ่มเป็นหนี้ตั้งแต่เรียนจบปริญญา
ทุกวันนี้เรามักจะเห็นหลายคนจบมาเริ่มชีวิตด้วยการเป็นหนี้เลย เพราะบัตรเครดิตเข้าถึงง่าย เพียงแค่มีรายได้ มีงานทำมีสลิปเงินเดือน นี่แหละคือเป็นจุดที่เราจะต้องเริ่มแก้ ต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจว่าการเป็นหนี้มันลำบาก มันเหนื่อย มันขาดอิสระภาพ เรากู้บ้านเป็นหนี้ 30 ปี เราซื้อรถเป็นหนี้ 7 ปี วินาทีที่เราเซ็นเอกสาร เราเป็นทาสเขาเรียบร้อยแล้ว เราต้องทำงานกับคนที่เขาปล่อยกู้เรา ทำไมเราไม่ทำงานเพื่อตัวเรา ทรัพย์สินกับหนี้สินคนไทยใช้ผิดตั้งแต่แรก
พัสชนันท์ กล่าวอีกว่า วันนี้ถ้าไม่อยากเป็นหนี้ ต้องเริ่มเปิดใจเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาหนี้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง 1.การปลดหนี้ไม่ได้เริ่มที่การพยายามหาเงิน แต่ต้องมีความเข้าใจ 2. ต้องรู้จักการเก็บออมไปพร้อมกับการค่อยๆแก้หนี้ไปพร้อมกัน ยกตัวอย่างเคสที่เคยให้คำปรึกษา คือพนักงานในบ้านเราก่อน มีเจ้าหนี้มายืนรอหน้าบ้านทุกสิ้นเดือน พนักงานคนนี้ก็มีความสุข ขณะที่บางคนมีหนี้จากการดูแลทั้งครอบครัวต้องส่งเงินไปให้ที่บ้าน เดือนชนเดือน จึงได้แนะนำ ให้มีการเริ่มจดบันทึกทุกอย่างที่ใช้จ่าย เพื่อให้คนจดรู้ว่าใช้เงินไปกับสิ่งจำเป็น ไม่จำเป็น ขณะที่คนข้อมูลทางสถิติพบว่าคนส่วนใหญ่มีการใช้เงินในสิ่งที่ไม่จำเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 หรือร้อยละ 50 ของรายได้ การจดบันทึกทุกวันจะทำให้เห็นนิสัยว่าใช้จ่ายอะไรบ้าง พอเห็นแล้วก็เริ่มมีเงินเหลือ หลังจากนั้นค่อยสนับสนุนให้เขาไปออม ไปเริ่มลงทุน เพื่อสร้างกำไร
“สำหรับคนทำงานออฟฟิศวิธีง่าย ๆ หากสนใจลงทุนแต่ไม่มีเวลาศึกษามากแนะนำให้ปรึกษาการซื้อกองทุนของธนาคาร ซึ่งทุกธนาคารจะมีคนอธิบายให้ฟังอยู่แล้ว มีอะไรสงสัยสอบถามได้เลย หรือถ้ามีหนี้หลายก้อน ก็อาจสอบถามถึงการรวบหนี้ หรือมีวิธีอื่น ๆ ที่จะลดหนี้สิน มันจะทำให้ชีวิตของคนที่มีหนี้สินรุงรังจะโล่งขึ้น เมื่อเป็นหนี้น้อยลง การออมมากขึ้น ก็ให้เอาบางส่วนที่ออมมาลงทุนอาจเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน
ทุกวันนี้สังคมไทยมีความเข้าใจทางการเงินที่ผิดที่ถ่ายทอดแบบรุ่นสู่รุ่น ที่เรียกว่า หนี้หลายชั่วโคตรที่สืบทอดกันมาทางความคิด ดังนั้น การลด หนี้ และการเปลี่ยนมุมมอง ปรับวิธีคิด และเสริมความรู้ให้เท่าทันหนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนให้ชีวิตหลุดวังวน ซึ่งหากบรรจุความรู้เรื่องหนี้ในหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ อนาคตสังคมไทยจะมีคนเป็นหนี้น้อยลงและรู้จักใช้เงินอย่างถูกต้องมีแผนการใช้เงินที่ดี
นุกูล ลักขณานุกูล ผู้ก่อตั้ง บริษัทเก็ทบิซ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาวางแผนธุรกิจและผู้เขียนหนังสือออกจากวังวนที่จนตลอดชาติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้สินทำได้ไม่ยาก 1.เริ่มต้นด้วยวิธีคิดที่ถูกต้องคือต้องเริ่มต้นวางเป้าหมายให้ตัวเองก่อน เหมือนเป้าหมายชีวิตว่าเราอยากไปตรงไหน อดีตเคยทำอะไรมาบ้าง ปัญหาทางการเงินเกิดจากตรงไหน หนี้สินเป็นผลลัพธ์ต้องย้อนอดีตว่าไปทำอะไรมาแล้วมานั่งไล่เรียงกัน
2. คุยกับเจ้าหนี้เป็นหนี้ว่าจะแก้หนี้อะไรได้บ้าง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ แล้วหันมาวางแผนลดรายจ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น และค่อย ๆชำระตามศักยภาพที่จ่ายได้ 3. ควรเริ่มการจดบันทึกรายจ่ายให้หมดว่าชีวิตเราจ่ายอะไรไปเท่าไหร่แล้วถ้าอยู้ในช่วงสิ้นเดือน ก็หมั่นตรวจสอบหาต้นตอว่าเงินไปไหนหมด เมื่อรู้เส้นทางการใช้เงินจะสามารถจัดการมัน แล้วก็มาดูว่าความสามารถตัวเองมีจุดไหนที่จะหาเงินได้จากความสามารถของแต่ละคน เช่น ถ้าเป็นผู้ใช้แรงขั้นต่ำ 300 บาท ต้องถามตัวเองว่าคุณมีความสามารถอื่นอีกไหม ขับรถได้ไหม หรือย้ายตำแหน่งที่สูงกว่า ฝึกฝนเรียนรู้ เพื่อให้มีรายได้รายวันเพิ่มขึ้น
“สำหรับเด็ก ๆ ผมมีข้อแนะนำ ควรสอนให้ทุกคนรู้จักเก็บด้วยการหยอดกระปุกเหมือนที่ทุกคนทำ แต่อยากจะชวนให้มี 2 กระปุก กระปุกแรก ให้เด็ก ๆ ฝึกคิดวางเป้าหมายชัดเจนในสิ่งที่ต้องการ เช่น การซื้อจักรยานราคา 4,000 บาท เขาก็จะภูมิใจว่าบรรลุเป้าหมายได้แล้วอยากออมอีก ส่วนกระปุกที่สอง อยากเก็บก็เก็บได้เลย สำหรับหน้าที่คุณพ่อคุณแม่ที่ให้เงิน ก็ให้เงินเขาเหมือนเดิม และให้เขาเป็นคนจัดการเองว่าเขาควรหยอดกระปุกไหน
ดังนั้นถ้าอยากฝึกให้เด็ก ๆ ก็ต้องมีเป้าหมายทางการเงินมีจุดประสงค์เงินที่เก็บออมจะไปไหนแล้ว จะทำให้เห็นภาพของการเก็บออมที่ถูกวิธีเขายังสามารถเอาเงินไปทำอื่นๆได้อีก นี้คือมุมมองแบบเร็ว ๆ คุณพ่อคุณแม่ชวนให้ความรู้และเชียรอยู่ข้าง ๆ อย่าเพิ่งแทรกแซงบางทีเขาอาจอยากได้อะไรที่มันตลก ๆ แต่มันก็คือความต้องการของเขาอย่างแท้จริง อย่าลืมว่าเรากำลังสอนจุดเป้าหมายการเก็บเงินแล้วค่อยมาสอนเรื่องความคุ้มค่าของการเก็บเงินต่อได้
สิ่งสำคัญเพื่อให้หลุดจากวังวนหนี้ที่จนตลอดชาติ ต้องจดบันทึก ทำบัญชีครัวเรือน เพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องหนี้ที่ถูกต้อง นี่คือวัคซีนป้องกันความคิดที่ผิดเพี้ยนและ ซึ่งหนี้สินไม่ใช่ปัญหาของกลไกของระบบหนี้ แต่การเป็นหนี้แบบไม่รู้ แบบไม่ตั้งใจ นี่แหละคือปัญหาใหญ่ของคนเป็นหนี้