Loading...

“ภาษี” ใครจ่าย ใครใช้ ใครเจริญ

เลื่อนแนวนอน

เราทุกคนต่างเป็นประชาชนผู้ ‘ต้อง’ เสียภาษี อย่างน้อยที่สุดคือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อซื้อสินค้า/บริการใด ๆ

คลิกเพื่อดูตัวอย่างภาษีที่คนแต่ละกลุ่มจ่าย

แต่เราอาจรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตทุกวันนี้สวนทางกับภาษีที่เราจ่ายไป

ขณะที่รัฐก็บอกว่ารายได้จากการเก็บภาษี "ไม่เพียงพอ" ที่จะดำเนินนโยบายต่าง ๆ ได้ ตามที่ประชาชนต้องการ

ตกลงปัญหาอยู่ที่ไหนกันแน่?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า

โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี บริการและสวัสดิการรัฐที่ดีก็ต้องใช้เงิน

ถ้ารัฐเก็บภาษีได้น้อย ก็ไม่มีเงินมากพอจะดำเนินนโยบายต่าง ๆ ได้

ปัจจุบันรัฐไทยมีรายได้จากภาษีน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศรายได้สูง และประเทศที่มีพัฒนาการเศรษฐกิจใกล้เคียงไทย

สัดส่วนภาษีต่อ GDP ปี 2543 - 2563

  • ประเทศรายได้สูง
  • ประเทศที่มีพัฒนาการเศรษฐกิจใกล้เคียงไทย
  • ประเทศในอาเซียน

คลิกดูชื่อประเทศ

ที่มา : UNU-WIDER (2022)

นั่นหมายถึงหากเราฝันถึงคุณภาพชีวิตดี ๆ รัฐก็ต้องมีรายได้จากภาษีมากขึ้น ผ่านการ “เก็บภาษีอย่างเป็นธรรม” และ
“ใช้ภาษีอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ”

เราลองมาดูกันว่า ความท้าทายอะไรและหนทางไหนบ้างที่จะช่วยให้ชีวิตดี ๆ เกิดขึ้นจริง

เก็บภาษีอย่างไรให้เป็นธรรม?
ใช้ภาษีอย่างไรให้โปร่งใส
และมีประสิทธิภาพ?

รัฐจะ เก็บภาษี อย่างไร ให้ เป็นธรรม สำหรับทุกคน ?

รัฐไทยมีรายรับจากไหนบ้าง

ปี 2546

1,126,706.93 ล้านบาท

  • 90.29%
  • 4.39%
  • 5.31%

ปี 2547

1,259,858.62 ล้านบาท

  • 88.86%
  • 7.14%
  • 3.99%

ปี 2548

1,330,777.28 ล้านบาท

  • 95.43%
  • 0%
  • 4.57%

ปี 2549

1,424,333.59 ล้านบาท

  • 97.61%
  • 0%
  • 2.39%

ปี 2550

1,747,805.62 ล้านบาท

  • 83.91%
  • 10.8%
  • 5.29%

ปี 2551

1,729,238.99 ล้านบาท

  • 86.61%
  • 9.4%
  • 4%

ปี 2552

1,997,847.82 ล้านบาท

  • 74.29%
  • 22.66%
  • 3.05%

ปี 2553

2,154,897.28 ล้านบาท

  • 81.24%
  • 10.86%
  • 7.9%

ปี 2554

2,363,144.32 ล้านบาท

  • 80.49%
  • 6.25%
  • 13.26%

ปี 2555

2,787,502.47 ล้านบาท

  • 74.44%
  • 16.04%
  • 9.53%

ปี 2556

2,659,897.64 ล้านบาท

  • 81.11%
  • 9.11%
  • 9.78%

ปี 2557

2,619,773.48 ล้านบาท

  • 79.25%
  • 8.32%
  • 12.43%

ปี 2558

2,957,522.35 ล้านบาท

  • 77.57%
  • 16.37%
  • 6.06%

ปี 2559

2,992,901.79 ล้านบาท

  • 79.44%
  • 7.65%
  • 12.91%

ปี 2560

3,034,451.81 ล้านบาท

  • 77.44%
  • 20.1%
  • 2.47%

ปี 2561

3,236,036.89 ล้านบาท

  • 80.16%
  • 14.25%
  • 5.59%

ปี 2562

3,206,661 ล้านบาท

  • 80.25%
  • 7.91%
  • 11.85%

ปี 2563

3,729,405 ล้านบาท

  • 62.06%
  • 29.46%
  • 8.48%

ปี 2564

3,534,737 ล้านบาท

  • 66.8%
  • 19.82%
  • 13.38%

ปี 2565

3,592,722 ล้านบาท

  • 73.99%
  • 16.62%
  • 9.39%
25%
50%
75%

คลิกดูสัดส่วนแต่ละปี

25462547254825492550255125522553255425552556255725582559256025612562256325642565

สัดส่วนของรายรับแต่ละประเภท

  • รายได้
  • เงินกู้
  • เงินคงคลัง

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

1. รายได้

2. เงินกู้

เงินที่รัฐกู้ยืมจากภายในประเทศ เช่น พันธบัตร หรือจากภายนอกประเทศ เช่น IMF

3. เงินคงคลัง

เงินที่เหลือจ่ายจากปีงบประมาณก่อนหน้า เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน

1.1. รายได้ที่เป็นภาษีอากร

เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง มีหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดเก็บ คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร

1.2. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร

เกิดจากการดำเนินงานทางธุรกิจของรัฐ เช่น รายได้จากรัฐวิสาหกิจ สัมปทาน ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ฯลฯ

ประเทศไทยเก็บภาษีอะไรบ้าง

ข้อมูลปี 2565

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 33.38% (936,405 ล้านบาท)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 26.65% (747,692 ล้านบาท)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 13.34% (374,285 ล้านบาท)
ภาษีเบียร์และสุรา 5.34% (149,764)
ภาษีน้ำมันฯ 5.03% (140,993)
อากรขาเข้า 4.28% (119,983)
ภาษีรถยนต์ 3.56% (99,984)
ภาษีธุรกิจเฉพาะ 2.20% (61,764)
ภาษียาสูบ 2.14% (60,027)
ภาษีเครื่องดื่ม 0.90% (25,173)
อากรแสตมป์ 0.61% (17,050)
ภาษีรถจักรยานยนต์ 0.15% (4,339)
อื่น ๆ 2.43% (68,167)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีที่จัดเก็บได้ 3 อันดับแรก เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ การจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรมจะช่วยลดการแบกภาระทางภาษีที่มากเกินควร แต่ทุกวันนี้ยังมีปัญหา

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เริ่มจัดเก็บปี 2535 โดยรัฐบาล 'อานันท์ ปันยารชุน' ในอัตรา 10% แต่ปี 2540 เป็นต้นมา มีการออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มลงเหลือ 7% เป็นประจำทุกปี

คนทั่วไป จ่ายเมื่อบริโภค

ธุรกิจ ส่งให้รัฐทุกเดือน

เป็นภาษีถดถอย (Regressive Tax) ที่อาจซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ

แม้คนรวยจะจ่าย VAT ในจำนวนเงินที่มากกว่าคนจน เพราะบริโภคมากกว่า แต่หากคิดตามสัดส่วนต่อรายได้ จะเห็นว่า ในการบริโภคสินค้าชนิดเดียวกัน คนจนจ่าย VAT ในสัดส่วนต่อรายได้ มากกว่าคนรวย

อย่างไรก็ตาม งานวิจัย World Bank Group (2023) ระบุว่า VAT ของไทย ช่วยบรรเทาความเหลื่อมล้ำบางส่วน เพราะมีการยกเว้นภาษีในสินค้าจำเป็น

ธุรกิจไม่ยอมเข้าระบบ VAT
ทำให้รัฐสูญเสียรายได้

ตามกฎหมาย เมื่อธุรกิจมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท จะถูกบังคับให้เข้าระบบ VAT แต่ธุรกิจจำนวนมากไม่ยอมเข้าระบบ

การกองตัวของธุรกิจที่ระดับรายรับก่อนถึงเกณฑ์ 1.8 ล้านบาท

ที่มา : อธิภัทร มุทิตาเจริญ (2565)

สาเหตุที่ธุรกิจไม่ยอมเข้าระบบ

เสียเปรียบคู่แข่งที่ไม่เข้าระบบ เพราะต้องเก็บเงินลูกค้าเพิ่ม 7%

กระบวนการยุ่งยากและมีต้นทุนเพิ่ม เช่น ต้องจ้างนักบัญชี

เมื่อธุรกิจในระบบ VAT มีจำนวนน้อย ธุรกิจอื่นก็มีความจำเป็นน้อยลงในการเข้าระบบ

เช่น ถ้าธุรกิจ A ค้าขายกับธุรกิจ B ซึ่งอยู่ในระบบ VAT เหมือนกัน A จะนำใบเสร็จจาก B มาหักภาษีได้ แต่ถ้า B ไม่อยู่ในระบบ จะไม่สามารถออกใบเสร็จมาให้ A หักภาษีได้

ธุรกิจรายงานรายรับต่ำกว่าความเป็นจริง

โดยหลีกเลี่ยงการเก็บ VAT จากลูกค้าบางราย เพื่อให้สินค้าราคาต่ำลงจนแข่งขันได้ ส่งผลให้รัฐเก็บรายได้ได้น้อยลง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คนทั่วไป และธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา ยื่นภาษีเมื่อมีรายรับมากกว่า 60,000 บาท/ปี

คนไม่ยื่นภาษีเงินได้ฯ

มีประชาชนเพียง 4 ล้านคนเสียภาษี และส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน

แรงงานไทย 38 - 40 ล้านคน ปี 2562 - 2565
ยื่นภาษี 11 ล้านคน ปี 2562 - 2565
เสียภาษี 4 ล้านคน ปี 2562 - 2564
ภาษีที่เก็บได้ ส่วนใหญ่มาจากมนุษย์เงินเดือน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2555 *เงินเดือน = เงินที่มาจากการจ้างงานตามภาษีเงินได้รหัส 40 (1) และ 40 (2)
ที่มา : อธิภัทร มุทิตาเจริญ (2565) และ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2566)

มีนโยบายลดหย่อนภาษีมากเกินไป ทำให้รัฐสูญเสียรายได้

ปัจจุบันมีรายการลดหย่อนถึง 21 รายการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่เคยมี 11 รายการ ทำให้หากผู้เสียภาษีไทยมีเงินได้พึงประเมิน 100 บาท จะลดหย่อนได้ 19 บาทโดยเฉลี่ย

ในปี 2560 ไทยสูญเสียรายได้จากจากการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ

-110,000 ล้านบาท

แม้บางการลดหย่อนจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น SSF, RMF รวมถึงประกันชีวิต แต่ต้องเป็นผู้มีรายได้มากพอจึงจะใช้สิทธิลดหย่อนเหล่านี้ได้ ซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำในการให้สิทธินี้

ที่มา : อธิภัทร มุทิตาเจริญ (2565)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องเข้าระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล

ธุรกิจไม่ยอมเข้าระบบภาษีเงินได้ฯ

ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ และธุรกิจพลาดโอกาสสำคัญ เช่น การเข้าถึงแหล่งทุน การทำธุรกิจกับบริษัทขนาดใหญ่หรือภาครัฐ รวมไปถึงการได้รับความช่วยเหลือต่าง ๆ จากรัฐ

ขนาดเศรษฐกิจนอกระบบภาษี ปี 2561 (% ต่อ GDP)

ที่มา : World Bank Informal Economy Database (2023)

สัดส่วนธุรกิจนอกระบบภาษีเงินได้ของไทย ปี 2562

ที่มา : อธิภัทร มุทิตาเจริญ (2565)

ธุรกิจไม่ยอมโต หรือ รายงานรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง

ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ธุรกิจที่มีรายรับไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับสิทธิประโยชน์ SMEs

SMEs

  • ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก
  • เสียภาษี 15% สำหรับกำไรสุทธิช่วง 3 แสน - 3 ล้านบาท

ธุรกิจทั่วไป

เสียภาษี 20% ทุกช่วงกำไร

สิทธิประโยชน์ SMEs ทำให้ธุรกิจมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการมีรายรับเกิน 30 ล้านบาท
เปรียบเทียบจำนวนธุรกิจที่ระดับรายรับต่าง ๆ ช่วงก่อนและหลังมีสิทธิประโยชน์

ที่มา : อธิภัทร มุทิตาเจริญ (2565)

นโยบายให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ทำให้รัฐสูญเสียรายได้

การให้สิทธิประโยชน์ เช่น ไม่เก็บภาษีกับธุรกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (Tax Holiday) เป็นหนึ่งในวิธีดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็ทำให้รัฐสูญเสียรายได้

รายได้ทางภาษีที่รัฐสูญเสียไปจากสิทธิประโยชน์ BOI* (ล้านบาท)
  • *BOI = สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment of Thailand)
  • *ประมาณการรายได้ที่เสียไปโดยสำนักเศรษฐกิจการคลัง

ที่มา : อธิภัทร มุทิตาเจริญ (2565)

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในการริเริ่มมาตรการทางภาษีเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

แต่ก็ยังเป็นประเด็นถกเถียงหลาย ๆ เรื่อง

ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax)

เริ่มปี 2558

เก็บจากผู้ที่ได้รับมรดกมูลค่ารวมเกิน 100 ล้านบาท โดยจัดเก็บในอัตราสูงสุด 10% ในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท เช่น ถ้าได้รับมรดก 110 ล้านบาท จะเริ่มเก็บภาษี 10% ในส่วน 10 ล้านที่เกินมา เท่ากับต้องเสียภาษี 1 ล้านบาท โดยทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก คือ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ เงินฝาก ยานพาหนะ และทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ หากมีการประกาศเพิ่มเติมในอนาคต

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax)

เริ่มปี 2562

เป็นภาษีที่เก็บรายปี โดยคิดมูลค่าจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีอัตราแตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์

ภาษีธุรกรรมทางการเงิน (Financial Transaction Tax)

ได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534

เป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax) เก็บจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10% ของมูลค่าที่ขาย

ภาษีผลได้จากทุน (Capital Gains Tax)

ยังไม่มีการจัดเก็บ

เป็นภาษีที่เก็บจากส่วนต่างราคาในการขายหุ้น โดยคิดเฉพาะส่วนที่กำไร

ภาษีความมั่งคั่งสุทธิ (Net Wealth Tax)

ยังไม่มีการจัดเก็บ

เรียกเก็บจากมูลค่าสุทธิของแต่ละบุคคล โดยมูลค่าสุทธิคือส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์และหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นเงินสด เงินฝากในธนาคาร หุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินส่วนบุคคลอื่น ๆ

ภาษีลาภลอย (Windfall Tax)

ยังไม่มีการจัดเก็บ

มีแนวคิดการจัดเก็บภาษีว่า เมื่อการพัฒนาของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือโครงสร้างคมนาคมพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ทางด่วน สนามบิน ฯลฯ ทำให้ที่ดินบริเวณใกล้เคียง มีมูลค่าสูงขึ้น ถือเป็นการได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนของรัฐรูปแบบหนึ่ง

กรณีของไทย “ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ” เสนอจัดเก็บภาษีลาภลอยกับเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์

คุณเคยจ่ายภาษีอะไรบ้าง

เลือกได้มากกว่า 1 ประเภท

ประเภทภาษีที่คุณจ่าย มีสัดส่วน 0.00% ของรายได้จากภาษีทั้งหมด ในปี 2565

“ทำอย่างไรให้คนไทยยินดีและเต็มใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบภาษี... รัฐต้องตระหนักว่าภาษีเป็นสัญญาทางสังคมอย่างหนึ่ง เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างคนยินดีจ่ายภาษีด้วยสัดส่วนที่เป็นธรรม กับการที่รัฐใช้จ่ายเม็ดเงินภาษีอย่างรับผิดชอบ”
รศ.อธิภัทร มุทิตาเจริญ
คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เก็บภาษีอย่างเป็นธรรมสำหรับทุกคน

โดยสรุปแล้ว ถ้ารัฐสามารถดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อขยายฐานภาษีและออกแบบให้มีการจัดเก็บอย่างเป็นธรรมได้มากขึ้น ประชาชนเองก็มีแรงจูงใจให้เข้าไปอยู่ในระบบมากขึ้น ไม่มีใครต้องแบกรับต้นทุนทางภาษีของประเทศ และรัฐก็จะมีรายได้เพียงพอต่อการสร้างบริการและสวัสดิการสาธารณะ

รัฐจะ ใช้ภาษี อย่างไร ให้ โปร่งใส และ มีประสิทธิภาพ ?

การจะได้มาซึ่งชีวิตดี ๆ นอกจากประชาชนต้องจ่ายภาษีให้รัฐมีเงินพอแล้ว รัฐก็ต้องใช้เงินให้โปร่งใสและมีประสิทธิภาพด้วย

แล้วรัฐไทย มีกระบวนการจัดสรรงบประมาณจากภาษีที่เราจ่าย ไปสู่การดำเนินนโยบายอย่างไรบ้าง

เข้าใจการใช้ภาษีผ่านกระบวนการจัดสรรงบประมาณ

ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก

1. จัดทำงบประมาณ

2. อนุมัติงบประมาณ

3. บริหารงบประมาณ

1. จัดทำงบประมาณ

1.1 กำหนดกรอบวงเงินงบประมาณ

โดย 4 หน่วยงาน

  • สำนักงบประมาณ
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • กระทรวงการคลัง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย

ตัวอย่างปี 2566

ที่มา : สำนักงบประมาณ
สำนักนายกรัฐมนตรี (2565)

ประมาณการ
รายได้ที่เป็นภาษีอากร
ภาษีที่เราจ่ายอยู่ตรงนี้ 2,254,312.5 ล้านบาท

ประมาณการ
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร
235,687.5 ล้านบาท

ประมาณการ
รายได้รวม
2,490,000 ล้านบาท

เงินกู้เพื่อชดเชยขาดดุล 695,000 ล้านบาท

งบประมาณรายรับ
ปี 2566
3,185,000 ล้านบาท

1.2 กรอบวงเงินฯ ที่ผ่านการพิจารณา

โดย 4 หน่วยงาน

(คลิกรูปเพื่อดูชื่อ)

งบประมาณรายจ่าย
ปี 2566
3,185,000 ล้านบาท

1.3 หน่วยรับงบประมาณทำรายละเอียดโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ 6 ด้าน

เพื่อส่งไปให้สำนักงบประมาณพิจารณา หากหน่วยงานของบฯ มาเกินกว่าที่จะได้รับการจัดสรรจะถูกส่งกลับไปให้จัดลำดับความสำคัญใหม่

หมายเหตุ :
โดยปกติ ‘ค่าใช้จ่ายบุคลากร’ จะถูกจำแนกอยู่ตามแผนยุทธศาสตร์แต่ละด้าน

  • แผนฯ = แผนยุทธศาสตร์
  • สีเทา= รายการค่าดำเนินการภาครัฐ
คลิกดูว่าแผนยุทธศาสตร์ไหนได้งบฯ เยอะ

1.4 พิจารณาวงเงินให้กระทรวงต่าง ๆ

โดย 1 หน่วยงาน

(คลิกรูปเพื่อดูชื่อ)

คลิกดูว่ากระทรวงไหนได้งบฯ เยอะ

1.5 ส่งให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ

สำนักงบประมาณจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ และส่งให้ ครม. อนุมัติ เมื่ออนุมัติแล้ว จะจัดพิมพ์ออกมาเป็นเล่ม เพื่อส่งต่อให้รัฐสภา พิจารณาต่อไป

2. อนุมัติงบประมาณ

2.1สส. พิจารณา

พิจารณา 3 วาระ กรอบเวลา 105 วัน


วาระ 1 รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ

ผลการลงมติ ปี 2566
เห็นชอบ 278
ไม่เห็นชอบ 194

วาระ 2

ชั้นกรรมาธิการพิจารณารายมาตรา โดย สส. จะแปรญัตติปรับลดและเพิ่มงบประมาณได้ในขั้นตอนนี้

วาระ 3 ลงมติเห็นชอบ

ผลการลงมติ ปี 2566
เห็นชอบ 258
ไม่เห็นชอบ 180

2.2สว. พิจารณา

พิจารณา เห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ภายใน 20 วัน นับตั้งแต่ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ มาถึงวุฒิสภา โดยไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้

*กรณีที่ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ไม่ผ่านการพิจารณาของ สส. หรือ สว. จะนำไปสู่การยุบสภาหรือการลาออกของนายกรัฐมนตรี

3. บริหารงบประมาณ

3.1หน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติราชการและแผนการใช้จ่ายเงินส่งให้สำนักงบประมาณ

  • ในกรณีที่เป็นงบฯ บุคลากร เช่น เงินเดือน และงบฯ ดำเนินงาน เช่น ค่าสาธารณูโภค สำนักงบฯ จะอนุมัติได้เลย
  • ถ้าเป็นงบฯ อื่น ๆ เช่น งบฯ ก่อสร้าง ค่าครุภัณฑ์ จะมีการตรวจสอบความเหมาะสมของราคาอย่างละเอียดก่อนอนุมัติ

3.2สำนักงบประมาณเห็นชอบและจัดสรรงบฯ ให้หน่วยงาน

ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการเบิกเงิน

3.3หน่วยงานเบิกเงิน

นำใบอนุมัติเงินไปเบิกจากกรมบัญชีกลาง

3.4หน่วยงานใช้จ่ายงบฯ

ก่อหนี้ผูกพันแผนงาน/โครงการ ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยหน่วยงานจะถูกสุ่มตรวจสอบการใช้จ่ายโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

“ใช้งบประมาณอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ที่จะจูงใจให้ประชาชนเสียภาษี... 1. ทำให้เห็นผล อยู่ใกล้ตัวประชาชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
2. แก้ด้วยความโปร่งใส ที่ผ่านมากระบวนการพิจารณาการใช้งบฯ ของภาครัฐยังมีอุปสรรคเรื่องความไม่โปร่งใส เป็นกล่องดำที่ไม่มีใครรู้ และ
3. การมีส่วนร่วม ที่อาจนำไปสู่การจัดทำงบฯ แบบมีส่วนร่วม หรือ Participatory Budgeting”
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
ประธานคณะกรรมาธิการ
ศึกษาการจัดทำและติดตาม
การบริหารงบประมาณ
สภาผู้แทนราษฎร

จะรู้ได้อย่างไรว่าภาษีเราถูกใช้อย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันยังคงมีอุปสรรคหลายอย่าง ที่ทำให้การใช้งบประมาณยังขาดประสิทธิภาพ รวมถึงการติดตามและตรวจสอบงบประมาณ เป็นเรื่องยากสำหรับประชาชนเจ้าของภาษีอย่างเราทุกคน

การจัดสรรงบฯ ไม่มีประสิทธิภาพ

งบฯ รายจ่ายประจำสูง ในขณะที่งบฯ ลงทุนต่ำ กระทบต่อโอกาสการพัฒนาประเทศ

*สัดส่วนงบฯ ลงทุนปี 2563 = 20.5%, ปี 2564 = 19.8%, ปี 2565 = 19.7% และ ปี 2566 = 21.8%

ที่มา : งบประมาณฉบับประชาชน ฉบับ 2563 - 2566

ตัวชี้วัดการใช้งบฯ ไม่มีประสิทธิภาพ

ผลสัมฤทธิ์หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ ยังไม่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเป็นการตั้งตัวชี้วัดในรูปแบบ “ทำอะไรไปบ้าง” มากกว่า “ทำแล้วประชาชนได้ประโยชน์อะไร”

ที่มา : เอกสารงบฯ ฉบับที่ 3 ประจําปี พ.ศ. 2566 เล่มที่ 10

กระบวนการพิจารณางบฯ ในบางขั้นตอนไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ

แม้การพิจารณางบฯ จะเป็นไปตามลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาประเทศ แต่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบกระบวนการตัดสินใจพิจารณาของหน่วยงานได้

การเปิดเผยข้อมูลเข้าถึงยาก

1. รูปแบบเอกสารงบประมาณแบบ PDF ไม่เอื้อให้ประชาชนติดตาม ตรวจสอบ หรือมีส่วนร่วม เพราะไม่สามารถประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (machine-readable) ได้

2. แม้มีการเปิดเผยกระบวนการพิจารณางบประมาณ (งบประมาณฉบับประชาชน) แต่ยังไม่มีการเปิดเผยว่าความคืบหน้าการใช้งบฯ ในแต่ละโครงการเป็นอย่างไร

ประชาชนไม่สามารถเชื่อมโยงภาษีที่จ่าย กับผลลัพธ์ที่ได้จากภาษีแต่ละประเภท

“ภาษี” ใครจ่าย ใครใช้ ใครเจริญ?

คนบางกลุ่มอาจรู้สึกไม่เป็นธรรมเพราะต้องจ่ายภาษีมากกว่าคนอื่น และคนจำนวนไม่น้อยไม่เชื่อว่าภาษีที่จ่ายไปนั้น รัฐจะนำมาใช้ทำนโยบายหรือจัดสวัสดิการได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม

หากรัฐสามารถออกแบบนโยบายเพื่อเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม และใช้ภาษีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็อาจช่วยให้คนไทย เต็มใจจ่ายภาษี ด้วยความเชื่อว่าชีวิตจะดีและประเทศจะเจริญจากภาษีทุกบาทที่เราจ่ายไป

ร่วมพัฒนาโดย punchup
แชร์

ทำความรู้จัก “รัฐสวัสดิการ”

รัฐสวัสดิการ — ทางเลือกสู่การสร้างคนให้เท่ากันในสังคม?

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • Andersson, Tommy and Lars Ehlers (2014). Budget balance, fairness, and minimal manipulability. (link)
  • Athiphat Muthitacharoen & Archawa Paweenawat (2023). The Double-Edged Sword: Unintended Consequences of SME Promotion Policy. (link)
  • Gaijin in Japan. Furusato nozei: จ่ายภาษีไป ได้ของกลับมา. (link)
  • Global VAT Compliance (2023). World VAT/GST rates 2023. (link)
  • The 101.World (2566ก). เราเรียนรู้อะไรบ้างจากประวัติศาสตร์การเก็บภาษีความมั่งคั่ง? (link)
  • The 101.World (2566ข). รัฐไทยรายได้ภาษีน้อย เก็บเพิ่มไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจจะพัง. (link)
  • The 101.World (2565). ส่องงบลงทุน 434,400 ล้านบาท ปี 2566: ลงทุนอะไรบ้าง? ตอบโจทย์ความท้าทายของไทยหรือไม่? (link)
  • The 101.World (2561). ปฏิรูประบบภาษีไทย กับ อธิภัทร มุทิตาเจริญ. (link)
  • The 101.World (2560). ดวงมณี เลาวกุล : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความฝันที่(ไม่)เป็นจริง? (link)
  • UNU-WIDER (2022). Government Revenue Dataset 2022: General Government (October Update). (link)
  • World Bank Group (2023). THAILAND PUBLIC REVENUE AND SPENDING ASSESSMENT, PROMOTING AN INCLUSIVE AND SUSTAINABLE FUTURE. (link)
  • World Bank Informal Economy Database (2023). Informal Economy Data. (link)
  • กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ข). “ไขปัญหาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2560”. (link)
  • กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ฆ). คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (2) แห่งประมวลรัษฎากร. (link)
  • กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ง). คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. (link)
  • กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ค). ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2560. (link)
  • กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ฉ). ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง? (link)
  • กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ก). คู่มือภาษีสำหรับผู้ประกอบการ. (link)
  • กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (จ). นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้. (link)
  • กรุงเทพธุรกิจ (2566). นักวิชาการชี้ภาษีที่ดินจำเป็น แนะ 'ชัชชาติ' เพิ่มภาษี แก้ปัญหารายได้ กทม.ลด (link)
  • เกรียงชัย ปึงประวัติ (2555). กระบวนการกำหนดงบประมาณในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. (link)
  • คณะก้าวหน้า (2565). “บาดแผลของคนจน” : มายาคติเกี่ยวกับภาษีของคนรวยและคนจน. (link)
  • ฐากูร จุลินทร (2564). ปัญหาโครงสร้างทางภาษีที่สำคัญของไทย สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (link)
  • ธรรมนิติ (2562). 5 อาชีพไหนบ้าง … ที่ได้รับการยกเว้นภาษีประเภทรายได้พึงประเมิน. (link)
  • ภัทรพงศ์ วิศิษฏ์พิทยา และ จิรศักดิ์ รอดจันทร์ (2559). การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีการรับมรดก : ศึกษากรณีการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและการบังคับใช้กฎหมาย ตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี. (link)
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. (link)
  • ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง Thai Civil Rights and Investigative Journalism (TCIJ) (2566). ผลสำรวจพบคนไทย 37.5% ไม่อยากเสียภาษี เพราะ 'เงินไม่พอ-หวั่นรัฐนำไปจัดสวัสดิการไม่ทั่วถึง'. (link)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล. (link)
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. ดุลการคลังจามระบบกระแสเงินสด. (link)
  • สมชัย จิตสุชน (2566). Political Earmark VAT Tax ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้คนจนได้มากกว่าเสีย. (link)
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561. (link)
  • สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (2565ก). ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566. (link)
  • สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (2565ข). งบประมาณ ฉบับประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. (link)
  • สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (2564). งบประมาณ ฉบับประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. (link)
  • สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (2563). งบประมาณ ฉบับประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. (link)
  • สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (2562). งบประมาณ ฉบับประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. (link)
  • สำนักงบประมาณ (2553) หลักการจำแนกประเภทรายจ่าย ตามงบประมาณ (ฉบับปรับปรุง). (link)
  • สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (2566). ภาษีไปไหน. (link)
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. สาระสำคัญ... พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง. (link)
  • สำนักงานงบประมาณของรัฐสภา (2566). วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2566. (link)
  • สำนักงานงบประมาณของรัฐสภา (2563ก). รายงานการวิเคราะห์ของสำนักงบประมาณของรัฐสภา ฉบับที่ 3/2563 การจัดเก็บและประมาณการรายได้ของรัฐบาล (link)
  • สำนักงานงบประมาณของรัฐสภา (2563ข). คู่มือ การติดตามประเมินผฃการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติ. (link)
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน Board of Investment (2565). การใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล. (link)
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน Board of Investment (ก). พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520. (link)
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน Board of Investment (ข). “การขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล”. (link)
  • สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561. (link)
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สถิติแรงงาน (link)
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สถิติแรงงาน จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามสถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2555 - 2565. (link)
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2566). บทความ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : แหล่งรายได้รัฐ และเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ” ในรายงานภาวะสังคมไทยรายไตรมาส 4-2565. (link)
  • อธิภัทร มุทิตาเจริญ (2565). สร้างความแข็งแกร่งให้ระบบภาษีไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • FINNOMENA (2566). ลดหย่อนภาษี ปี 2566: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว! (link)
  • iTAX. ภาษีการรับมรดก (link)
  • โพสต์ทูเดย์ (2566). ดศ. กางเหตุผล คนไทยกว่า 37% ไม่พร้อมจ่าย ‘ภาษี’ จากผลสำรวจด้านสวัสดิการรัฐ (link)

ขอบคุณ

  • รศ.อธิภัทร มุทิตาเจริญ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ผศ.ศิกานต์ อิสสระชัยยศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร
  • พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • ธิปไตร แสละวงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)