คนจน
จะหมดไป?
สำรวจสาเหตุ "ความยากจน" ที่แตกต่างกันของคนแต่ละภาค
ไปต่อ...
1: ความจนคืออะไร?
คนจนจะหมดไป…
7 พ.ย. 2547
"ทักษิณ ชินวัตร แสดงความมั่นใจว่าอีก 4 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะไม่มีคนจนเหลืออยู่"
ตัวอย่างนโยบายแก้จน
บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค
บ้านเอื้ออาทร
กองทุนหมู่บ้าน
OTOP 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์
15 พ.ย. 2560
"สมคิดตั้งเป้าหมาย คนไทยทุกคนที่ยังมีความยากจนอยู่
จะต้องหายจนให้ได้ ในปีหน้า"
ตัวอย่างนโยบายแก้จน
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
6 พ.ค. 2565
"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ขีดเส้น ก.ย. 65 คนจนหมดไป"
ตัวอย่างนโยบายแก้จน
ข้าราชการรับผิดชอบ 1 ครัวเรือนยากจน
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
…แล้วรัฐบาลแต่ละยุค
แก้จนได้จริงหรือเปล่า?…
สัดส่วน % คนจนปี 2547 - 2562
อ้างอิงจากสัดส่วนคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่า 5.5 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 200 บาทต่อวัน (สำรวจโดย World Bank)
เส้นความยากจน (Poverty Line)
เป็นเส้นที่สภาพัฒน์ใช้วัดระดับ
ความจน
ของคนในประเทศ หมายความว่า ใครก็ตามที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นนี้ จะถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ยากจนนั่นเอง
ปี 2563 เส้นความยากจนของไทย
อยู่ที่
2,762 บาทต่อคน/เดือน

และมีคนไทยที่รายได้ต่ำกว่าเส้นนี้ถึง 4.8 ล้านคน...
เส้นความยากจนประเทศไทยปี 2543 - 2563


แนวโน้มจำนวนคนจนในประเทศไทย 2549 - 2563

“เส้นความยากจน”
อย่างเดียว อาจไม่สะท้อนความจริงได้ทั้งหมด เพราะความจนมีหลายมิติ


TPMAP หรือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า
ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เรามองเห็นปัจจัยอื่นที่มีผลต่อความยากจนด้วย

เลื่อนเพื่อสำรวจ
สุขภาพ
กินอาหารถูกสุขอนามัย ปลอดภัย มียาสามัญประจำบ้านใช้ ฯลฯ
ความเป็นอยู่
ที่อยู่อาศัยมั่นคง ถูกสุขอนามัย มีน้ำใช้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค ฯลฯ
การศึกษา
ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า อ่านเขียนภาษาไทย คิดเลขอย่างง่ายได้ ฯลฯ
รายได้
ประชาชนอายุ
15 - 59 ปี มีงานทำและมีรายได้ ฯลฯ
การเข้าถึง
บริการรัฐ
ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน หรือรัฐ ฯลฯ
หลายคนคงโล่งใจ
ที่มีรายได้เหนือ
เส้นความยากจน
แต่เดี๋ยวก่อน!!..
ลองสำรวจดูว่าคุณเข้าข่ายเกณฑ์ข้อใดต่อไปนี้บ้าง
เลือกข้อที่ตรงกับคุณ
ไปต่อ...
2: สำรวจสาเหตุความจน
เปิดสาเหตุความจน
ของคนแต่ละภูมิภาค
ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็มีโอกาสเสี่ยงจนไม่ต่างกันหากเรามองปัจจัยรายภาค สาเหตุความยากจนจะชัดเจนขึ้น
ลองเลือกดูพื้นที่ที่สนใจ
ภาคอีสาน
ดินไม่ดี น้ำมีปัญหา
ภาคเหนือ
ขาดที่ดินทำกิน
ภาคใต้
การประมง
3 จังหวัดชายแดนใต้
ความรุนแรงในพื้นที่
ภาคตะวันออก
รายได้ไม่สอดคล้องค่าครองชีพ
ภาคกลาง
แข่งขันสูง โอกาสไม่เท่ากัน
กรุงเทพฯ
ท้องถิ่นอ่อนแอ

ไปต่อ...
ภาคอีสาน
 
ดินไม่ดี น้ำมีปัญหา
นอกจาก ดิน ฟ้า อากาศ และความแห้งแล้ง สาเหตุความยากจนในภูมิภาคนี้ยังมาจากนโยบายภาครัฐ
สำหรับพื้นที่ภาคอีสาน แม้ 60% จะเป็นพื้นที่การเกษตร แต่กลับมีแค่ 10% อยู่ในเขตชลประทาน ทำให้เกษตรกรเกินครึ่งของอีสานต้องหวังพึ่งพาฝนตามฤดูกาลที่ไม่แน่นอน ประกอบกับดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายและเค็ม ไม่ตอบโจทย์การทำเกษตรกรรม

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจน
หมายเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจนอื่น ๆ ของแต่ละภูมิภาคอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้โดยมาจากหลากหลายแหล่งอ้างอิง ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะไม่สามารถมอง ภาพปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างภาคได้
เลื่อนเพื่อสำรวจ
ครอบครัว
หลายครอบครัวในอีสาน มีสมาชิกที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากคนอื่น
<svg>
ยิ่งกว่านั้น หลายครอบครัวยังมีโอกาสเสี่ยงจนสูง ทั้งจากการสูญเสียหัวหน้าครอบครัว หรือสมาชิกที่หารายได้หลัก
ที่ดินทำกิน
แม้ว่าคนอีสานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตามชนบทจะมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง แต่ด้วยฟ้า ฝนที่ไม่แน่นอน ดินขาดคุณภาพ รวมถึงความแล้ง ก็เป็นปัจจัยที่ต่อให้มีไร่นา แต่ก็ไม่สามารถการันตีผลผลิตได้อยู่ดี
หนี้สิน
จากการสำรวจปี 2560 พบว่า 70% ของครอบครัวอีสาน มีปัญหาหนี้สินเฉลี่ยอยู่ที่ 180,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งหยิบยืมจากหลายแหล่ง
<SVG>
นอกจากนี้ การขาดแคลนต้นทุนด้านการศึกษา ก็เป็นอีกปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้ จากการสำรวจพบว่า ภาระหนี้ 14% มาจากการกู้ยืมเงินเพื่อการเรียน หรือฝึกทักษะบางอย่าง และ 52% ของคนอีสาน ยังตอบแบบสำรวจว่า พวกเขาประสบความยากลำบากในการหาเงินเพื่อส่งลูกหลานเข้าเรียน
นโยบาย
คนอีสานโดยทั่วไปรับรู้การมีอยู่ของนโยบายสำคัญต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าเกณฑ์ได้รับการช่วยเหลือจากนโยบาย ขณะที่บางส่วนเข้าไม่ถึง เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โครงการกู้ยืมเพื่อการศึกษา โครงการกู้ยืมสำหรับ SME ฯลฯ
ไปต่อ...
ภาคเหนือ
 
ขาดที่ดินทำกิน
สาเหตุความจนที่เด่นชัดที่สุดสำหรับคนเหนือ คือ การขาดแคลนที่ดินทำกิน ทั้งครอบครัวยากจน ไม่มีมรดกตกทอด, เคยมีแต่ถูกยึดไปหมด รวมถึงการประกาศเขตอนุรักษ์ทับที่ทำกินของชาวบ้าน เหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของความยากจน
โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ครอบครัวยากจนในภาคเหนือมีที่ดินถือครองลดลงเรื่อย ๆ ก็มาจากหลายสาเหตุ เช่น

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจน
หมายเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจนอื่น ๆ ของแต่ละภูมิภาคอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้โดยมาจากหลากหลายแหล่งอ้างอิง ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะไม่สามารถมอง ภาพปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างภาคได้
เลื่อนเพื่อสำรวจ
ครอบครัว
ครอบครัวยากจนในภาคเหนือ 564 ครัวเรือนที่มีการสำรวจ มีภาระต้องดูแลสมาชิกครอบครัว
<svg>
ที่ดินทำกิน
คนเหนือมีที่ดินทำกินค่อนข้างน้อย เพราะมักมีเรื่องให้จำเป็นต้องสูญเสียที่ดินอยู่เสมอ
นอกจากนี้ การมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้จำนวนมาก มีผลต่อการถือครองที่ดิน เพราะวิถีที่ไม่ต้องการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตัวเอง
<svg>
สำหรับกลุ่มคนจนที่ยังพอมีที่ดินอยู่บ้าง ก็ถือครองเฉลี่ยอยู่ที่ 4.4 ไร่
หนี้สิน
จากการสำรวจปี 2564 53% ของครอบครัวชาวเหนือ มีปัญหาเรื่องหนี้สิน โดยขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 154,064 บาทต่อครัวเรือน โดยแบ่งประเภทตามเจ้าหนี้ได้เป็น
<SVG>
ยิ่งกว่านั้น หลายครอบครัวยังมีโอกาสเสี่ยงจนสูง ทั้งจากการสูญเสียหัวหน้าครอบครัวหรือสมาชิกที่หารายได้หลัก
ไปต่อ...
ภาคใต้
 
การประมง
แม้จะเป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ แต่ข้อมูลปี 2563 พบว่าคนยากจนในภาคใต้ 11 จังหวัด (ไม่รวม 3 จังหวัดชายแดนใต้) มีมากถึง 51.2% ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการประมง
ภาคการประมงมีความเสี่ยงต่อความยากจนสูง ทั้งจากปัจจัยการลดลงของทรัพยากรทางทะเลและภัยธรรมชาติ รวมถึงนโยบายของรัฐ ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ขณะที่ชาวประมงส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพสำรองอื่น ๆ
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจน
หมายเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจนอื่น ๆ ของแต่ละภูมิภาคอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้โดยมาจากหลากหลายแหล่งอ้างอิง ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะไม่สามารถมอง ภาพปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างภาคได้
เลื่อนเพื่อสำรวจ
ครอบครัว
จากการสำรวจ 326 ครอบครัวในภาคใต้ พบปัจจัยมากมายที่ทำให้พวกเขาเสี่ยงจน
<56.5% มีหัวหน้าครอบครัวอายุเกิน 50 ปี 64.1% ไม่มีการคุมกำเนิด ทำให้มีลูกที่ต้องเลี้ยงดูเฉลี่ยถึง 5 คน 36.5% ต้องดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วยเรื้อรัง>
ที่ดินทำกิน
จากครัวเรือนยากจนทั้งหมด 326 ครัวเรือน
75.8% เป็นเจ้าของบ้านที่ตัวเองอาศัยอยู่ 58.0% เป็นครัวเรือนไม่มีที่ดินในการครอบครอง
และครอบครัวที่พอมีที่ดินให้ครอบครอง ก็จะมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 ไร่
หนี้สิน
การสำรวจในปี 2562 พบว่า 66.6% ของครัวเรือนยากจนในภาคใต้ มีภาระหนี้สิน และมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 150,128.09 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งมาจากแหล่งกู้ยืมต่าง ๆ
36.3% ธกส. 22.8% เพื่อนบ้าน 15.9% พ่อค้า
ไปต่อ...
3 จังหวัดชายแดนใต้
 
ความรุนแรงในพื้นที่
ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ความยากจนในพื้นที่ ทำให้เกิดภาวะชงักงันในทุกมิติ สูญเสียโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้าน
จากการสำรวจปี 2563 พบว่า คนจนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) มีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง (48.8%) ของจำนวนคนยากจนทั้งหมดในภาคใต้ และมีจำนวนเพิ่มขึ้น 23.5% เมื่อเทียบกับปี 2562
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจน
หมายเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจนอื่น ๆ ของแต่ละภูมิภาคอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้โดยมาจากหลากหลายแหล่งอ้างอิง ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะไม่สามารถมอง ภาพปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างภาคได้
นโยบาย
นโยบายแก้จนที่ผ่านมา ไม่อาจตอบโจทย์พื้นที่นี้ได้อีกต่อไป สังเกตได้จากสัดส่วนคนยากจนที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐอาจต้องจัดทำนโยบายที่สอดคล้องไปกับบริบทปัญหาความรุนแรงในพื้นที่
ไปต่อ...
ภาคตะวันออก
 
รายได้ไม่สอดคล้องค่าครองชีพ
การทุ่มทุนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อแปลงโฉมภูมิภาคนี้ให้กลายเป็นย่านอุตสาหกรรม แม้ตัวเลขทางเศรษฐกิจจะสูง แต่ไม่ได้หมายความว่าฐานะประชาชนจะดีตามได้ด้วย เพราะในขณะที่รายได้เพิ่มสูงขึ้น รายจ่ายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ แรงงานย้ายถิ่น หรือประชากรแฝง ที่ถือเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ กลับถูกมองเป็นผู้สร้างปัญหาให้กับเมือง เมื่อพวกเขาไม่สามารถมีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมืองได้ ทำให้กลายเป็นหนึ่งในชุมชนเมืองแบบ “ชุมชนแออัด” ในภาคตะวันออก หรือ “คนจนเมือง”
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจน
หมายเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจนอื่น ๆ ของแต่ละภูมิภาคอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้โดยมาจากหลากหลายแหล่งอ้างอิง ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะไม่สามารถมอง ภาพปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างภาคได้
เลื่อนเพื่อสำรวจ
ครอบครัว
ครอบครัวยากจนในบางจังหวัด เช่น สระแก้ว มีอัตราผู้เป็นภาระ (Dependency Ratio) ค่อนข้างสูง เช่น ในจำนวน 91 ครัวเรือน ซึ่งมีสมาชิกเฉลี่ยอยู่ที่ 4.64 คน มีอัตราผู้เป็นภาระ (Dependency Ratio) อยู่ที่ 59.47% หรือ
หมายความว่า ประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 - 64 ปี) จำนวน 100 คน ต้องดูแลตัวเอง และเด็ก/คนชราอีกประมาณ 59 คน
ที่ดินทำกิน
ครอบครัวยากจนที่สำรวจ เกินครึ่ง (71.43%) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ขณะที่อีก 28.57% มีที่ดินทำกินเฉลี่ยอยู่ที่ 25.91 ไร่
และยังพบว่าสัดส่วนการถือครองที่ดินไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยการถือครองที่ดินในกลุ่มประชากรยากจน 84.62% ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2.20% มีที่ดินเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ 13.19% ถือครองที่ดินลดลง จากสาเหตุเหล่านี้
42.86% ขายที่ดิน 35.71% นำไปใช้หนี้ 21.43% อื่น ๆ
*สาเหตุอื่น ๆ ส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับการใช้พื้นที่ป่าสงวนซึ่งถูกระงับในภายหลัง และบางครัวเรือนอาจมีที่ดินลดลงด้วยหลากหลายสาเหตุ
แรงงานย้ายถิ่น
ลักษณะการอยู่อาศัยของคนจนเมืองในภาคตะวันออก กว่าครึ่งเป็นแรงงานย้ายถิ่นจากภูมิลำเนาเดิม ถึงร้อยละ 50.3 มาจากภาคอีสานมากที่สุด รองลงมาคือมาจากภูมิภาคเดียวกัน และภาคเหนือ ตามลำดับ
การเกิดขึ้นของแรงงานภาคการเกษตร จากอุตสาหกรรมน้ำตาลและประมง และการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากการขยายตัวของบังกะโล โรงเแรม และบาร์ ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้แรงงานย้ายถิ่นในภาคตะวันออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่มาของการตั้งชุมชนที่อยู่อาศัยในลักษณะ "ชุมชนแออัด"
ทศวรรษที่ 2530 โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) ยังเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนอย่างรวดเร็ว จากการเวนคืนที่ดินในเขตพัฒนาอุตสาหกรรม หรือต้องตกอยู่ในวงล้อมการขยายตัวของเมืองอุตสาหกรรม ต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม
การพัฒนาที่มองไม่เห็นคนจนในช่วง 8 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้คนจนและแรงงานย้ายถิ่นจำนวนมากไม่สามารถขยับฐานะหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แม้บางคนอาจขูดรีดตัวเองเพื่อส่งเงินให้ครอบครัวมีชีวิตที่ดีขึ้นได้
ไปต่อ...
ภาคกลาง
 
แข่งขันสูง โอกาสไม่เท่ากัน
ภาพความยากจนในภาคกลาง โดยรวมแล้วเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งหมุนรอบและเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัวที่มี “ทุน” อยู่แล้ว ได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากสังคม
ขณะเดียวกัน ครอบครัวที่ “ทุน” น้อย เช่น ไม่มีที่ดินทำกิน หรือ หัวหน้าครอบครัวมีข้อจำกัด ฯลฯ ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการเหล่านี้ และกลายเป็นครัวเรือนยากจนไปในท้ายที่สุด
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจน
หมายเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจนอื่น ๆ ของแต่ละภูมิภาคอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้โดยมาจากหลากหลายแหล่งอ้างอิง ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะไม่สามารถมอง ภาพปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างภาคได้
เลื่อนเพื่อสำรวจ
ครอบครัว
ครอบครัวยากจนในบางจังหวัด เช่น ชัยนาท สระบุรี กาญจนบุรี มีอัตราผู้เป็นภาระ (Dependency Ratio) ค่อนข้างสูง เช่น ในจำนวน 263 ครัวเรือน ซึ่งมีสมาชิกเฉลี่ยอยู่ที่ 4.29 คน มีอัตราผู้เป็นภาระ (Dependency Ratio) อยู่ที่ 59.55% หรือ
หมายความว่า ประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 - 64 ปี) จำนวน 100 คน ต้องดูแลตัวเอง และเด็ก/คนชราอีกประมาณ 60 คน
ที่ดินทำกิน
ครอบครัวยากจนที่สำรวจ เกินครึ่ง (70.72%) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ขณะที่อีก 29.28% มีที่ดินทำกินเฉลี่ยอยู่ที่ 13.64 ไร่
และยังพบว่าสัดส่วนการถือครองที่ดินไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยการถือครองที่ดินในกลุ่มประชากรยากจน 78.71% ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2.28% มีที่ดินเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ 19.01% ถือครองที่ดินลดลง จากสาเหตุเหล่านี้
41.82% ขายที่ดิน 18.18% นำไปใช้หนี้ 3.64% ถูกโกง 36.36% อื่น ๆ
*สาเหตุอื่น ๆ ส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับการใช้พื้นที่ป่าสงวนซึ่งถูกระงับในภายหลัง และบางครัวเรือนอาจมีที่ดินลดลงด้วยหลากหลายสาเหตุ
ไปต่อ...
กรุงเทพมหานคร
 
ท้องถิ่นอ่อนแอ
แม้ดูเหมือนเป็นเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ แต่โครงสร้างอำนาจของ กทม. กลับไม่สอดคล้องกับการเติบโตของกรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหลวง ทำให้คนกรุงเทพฯ ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาได้อย่างที่ควรจะเป็น จึงทำให้มีปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจน
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจน
หมายเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจนอื่น ๆ ของแต่ละภูมิภาคอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้โดยมาจากหลากหลายแหล่งอ้างอิง ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะไม่สามารถมอง ภาพปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างภาคได้
เลื่อนเพื่อสำรวจ
ที่ดินทำกิน
การมีที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง จากการเช่าที่ไม่มีมาตรฐานและอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐ รวมถึงที่ทำกินที่หมายถึง "ที่ทำมาหากิน" อย่างพื้นที่ค้าขายและพื้นที่การเกษตร ก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างรายได้ โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร ที่เจ้าของที่ดินหลายรายจำเป็นต้องขายที่ดินให้กลุ่มทุนกว้านซื้อ แต่เพราะขาดความรู้ในการประกอบอาชีพอื่น เมื่อไม่มีที่ดินประชาชนกลุ่มนี้จึงเสี่ยงต่อความยากจน
ผังเมือง
การวางผังเมืองของกรุงเทพฯ เป็นอำนาจของกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้มีโอกาสเสี่ยงจน เช่น ไม่มีมาตรการชดเชยความเสียหายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการวางผังเมืองไม่เหมาะสม หรือผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ต้องเสี่ยงต่อการไม่ได้รับการพัฒนา หรือประชาชนขาดอำนาจต่อรองกับกลุ่มทุนที่เป็นเจ้าของพื้นที่อุตสาหกรรมที่อาจสร้างผลกระทบต่อที่อยู่อาศัย โดยไม่มีพื้นที่กันชน (Buffer Zone)
การเข้าถึงบริการรัฐ
ชาว กทม. ไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลสำคัญบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตนได้ เช่น ข้อมูลสารเคมีที่โรงงานอุตสาหกรรมใกล้บ้านใช้ ฯลฯ ประชาชนจึงไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าป้องกันอันตรายจากสารเคมีหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นแล้วผลกระทบต่อความเป็นอยู่ได้
วิถีชีวิตและวัฒนธรรม
กรุงเทพฯ มีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในสิทธิทางวัฒนธรรม หมายถึง ประชาชนไม่มีสิทธิ์กำหนดวิถีชีวิตของตัวเอง เห็นได้ชัดเจนจากช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ประชาชนในชุมชนเก่าแก่จำนวนมากถูกขับออกจากพื้นที่อยู่อาศัยของตัวเอง โดยโครงการพัฒนาคมนาคมและเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐ
คุณภาพชีวิตและ
สิ่งแวดล้อมที่ดี
คนกรุงเทพฯ เข้าไม่ถึงข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตัวเอง ในบางชุมชนยังถูกกีดกันจากการมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ชุมชนแออัด หรือชุมชนที่ต้องอยู่อาศัยใกล้กันโซนจัดการขยะ อีกทั้งไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้
ระบบสุขภาพ
ระบบสาธารณสุขในกรุงเทพฯ ยังมีช่องว่างการดำเนินงานค่อนข้างมากและขาดการบริหารจัดการที่ดี จากเจ้าภาพหลัก 2 หน่วยงาน คือ กระทรวงสาธารณสุข และ กทม.
"คนที่จนกว่ามักมีปัญหาสุขภาพและเจ็บป่วยมากกว่า ทำให้มีความต้องการบริการสาธารณสุขมากกว่า" แต่ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการที่ผ่านมา กลับพบว่ากลุ่มคนที่จนที่สุดมีอัตราเข้ารับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ที่มาจากหลายสาเหตุทำให้เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน เช่น ต้องเดินทางไปรับการรักษาที่หน่วยบริการที่ตั้งอยู่ไกลจากที่พัก ขาดทุนทรัพย์ หรือไม่มีเวลา เพราะการเข้ารับบริการต้องลางานและทำให้ขาดรายได้
ไปต่อ...
จากที่อ่านมาทั้งหมด
เราคงพอเห็นภาพแล้วว่า
เราจนเพราะอะไร?
สรุปสาเหตุความยากจน 2 รูปแบบ
จน เพราะเงื่อนไขส่วนบุคคล
ไม่ว่าจะเป็น….
ปัญหาปัจจัยการผลิต
เช่น ภาคอีสาน ที่แม้จะมีที่ดินทำกิน แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ฟ้าฝนไม่เป็นใจ ดินขาดคุณภาพ หรือภาวะแล้ง ทำให้ไม่สามารถการันตีผลผลิตได้
ขาดการพัฒนาทักษะจำเป็น
ซึ่งหมายถึงทักษะเพื่อการพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้ของตัวเอง หรือการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การบริหารจัดการ หรือด้านเทคโนโลยี ทำให้ไม่สามารถหลุดจากวัฏจักรของความยากจนได้ เพราะไม่มีแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผลผลิตของตัวเอง
พฤติกรรมส่วนบุคคล
เช่น การเกี่ยวดองกับอบายมุข หรือการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความยากจน
ขาดความรู้เรื่องสิทธิและกฎหมาย
สำหรับคนจนเมืองส่วนใหญ่ มักเป็นแรงงานที่ถูกกดค่าแรง ตัดเงินเดือน รวมถึงขาดความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพอื่น ๆ ทำให้ตัวเลือกในการประกอบอาชีพค่อนข้างจำกัด
จน เพราะรัฐ
ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม
ของปัจเจกบุคคล
การเมืองและนโยบายที่
ไม่มีประสิทธิภาพ
ประเทศไทยยังมีการปกครองที่อำนาจทางการเมืองส่วนใหญ่ ตกอยู่ในการควบคุมของชนชั้นนำ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า ส่งผลให้รูปแบบนโยบายการพัฒนาที่ออกมา เอื้อให้รายได้ของประเทศตกอยู่กับกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ขณะที่นโยบายแก้ปัญหาความยากจนกลับล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การกระจายงบประมาณที่เหลื่อมล้ำในแต่ละพื้นที่ หรือโครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม เหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของปัญหาความยากจน
การกระจายอำนาจทาง
เศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียม
ประเทศไทยมีโครงสร้างระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) ระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยม กล่าวคือ ในขณะที่ประชาชนมีเสรีภาพในการเข้าถึงทรัพยากรส่วนใหญ่ รัฐก็มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลผ่านการประกอบวิสาหกิจบางประเภท เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมถึงความยากจน แต่ในความเป็นจริง วิสาหกิจของรัฐไทยกลับกลายเป็นเครื่องมือเอื้อผลประโยชน์ในชนชั้นนำและพวกพ้อง ส่งผลให้ปัญหาความยากจนไม่ได้รับการแก้ไข
ขยันแทบตาย
ทำไมไม่รวยสักที
นโยบายและการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นองค์ประกอบที่เป็นต้นตอปัญหาความเหลื่อมล้ำ
จากการสำรวจช่วงปี 2552 - 2564
พบว่า การจัดสรรงบประมาณของรัฐไทย
มีลักษณะแบบรวมศูนย์อำนาจ โดยกระจุก ตัวอยู่ที่ศูนย์กลางและกรุงเทพฯ
งบประมาณเฉลี่ยต่อหัวประชากร
(2552 - 2562)
เลื่อนเพื่อสำรวจ
ภาคอีสาน
ภาคเหนือ
ภาคใต้
3 จังหวัดชายแดนใต้
ภาคตะวันออก
ภาคกลาง
มี 45 จังหวัดที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (7,349 บาท/คน)
จังหวัดที่ได้รับงบประมาณน้อยที่สุด ห่างจากค่าเฉลี่ย 4 เท่า และห่างจากจังหวัดที่ได้งบประมาณมากที่สุด ถึงเกือบ 40 เท่า
การจัดสรรงบฯ รายจังหวัด จะพิจารณาจากเกณฑ์และตัวแปรต่าง ๆ เช่น จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่ สัดส่วนคนจน และประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน ฯลฯ

‘รศ. ตระกูล มีชัย‘ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มองว่า แม้มีเกณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นธรรม แต่น้ำหนักของเกณฑ์อาจไม่สัมพันธ์กับความจำเป็นใช้งบฯ แต่ละจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาความยากจน อีกทั้งยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำระหว่างจังหวัด โดยเฉพาะงบฯ กรมหรือกระทรวงที่ทุ่มลงไปในจังหวัดที่มีศักยภาพดึงงบฯ ผ่านนักการเมือง ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่มากกว่างบฯ รายจังหวัดหลายเท่าตัว
ไปต่อ...
3: แนวทางแก้จน
3 แนวคิด 
แก้ปัญหาความจน
พุ่งเป้า (Targeting)
แนวคิดแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเลือกพุ่งเป้าไปที่ประชากรที่มีความจำเป็นหรือขาดแคลนเท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยเกณฑ์คัดเลือกบางอย่าง เช่น ระดับรายได้ ฯลฯ

ตัวอย่างประเทศที่มีนโยบายรับมือความยากจนตามแนวคิดนี้ ได้แก่ รัฐที่มีสวัสดิการในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย (บัตรคนจน) ฯลฯ
ถ้วนหน้า (Universal)
แนวคิดแก้ไขปัญหาความยากจน โดยครอบคลุมประชากรทุกคนในสังคมหรือในกลุ่มเป้าหมายของนโยบาย เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ ฯลฯ ตัวอย่างประเทศที่มีนโยบายรับมือความยากจนตามแนวคิดนี้ ได้แก่ รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democratic Welfare State) เช่น สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ฯลฯ
รายสาขา (Sectoral)
แนวคิดแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยนโยบายที่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้คนบางกลุ่มหรือเศรษฐกิจบางสาขา เช่น เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว แรงงานในอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ เป็นต้น

ตัวอย่างประเทศที่มีนโยบายรับมือความยากจนตามแนวคิดนี้ ได้แก่ ไทย (นโยบายจำนำข้าว ประกันราคาข้าว) ฯลฯ หรือ ประเทศที่มีระบบบำนาญอาชีพ (Occupational Pension) เช่น เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร ฯลฯ
เมื่อนโยบายแก้จนของรัฐไทย
ยังไม่ตอบโจทย์
จะมีทางออกอย่างไร
ได้บ้าง?
ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
หลายประเทศ/เขตปกครอง มีตัวเลข GDP เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าสนใจ
สะท้อนถึงการเริ่มก้าวผ่านปัญหาความยากจนได้บ้างแล้ว
ต่างประเทศมีแนวทางแก้ไข
ปัญหาความยากจนอย่างไร?
คลิกเลือกประเทศ/เขตปกครองที่สนใจ…
เกาหลีใต้
การบริหารรัฐกิจ
ที่มีประสิทธิภาพ
จีน
นโยบายแก้จน
แบบพุ่งเป้า
ไต้หวัน
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาสังคม และอื่น ๆ
เกาหลีใต้
การบริหารรัฐกิจที่มี
ประสิทธิภาพ
GDP เกาหลีใต้ปี 2563 เติมโตราว 25 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2523
(สรุปอย่างคร่าว โดยยังไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อ)
เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตขึ้นด้วยการบริหารรัฐกิจที่มีประสิทธิภาพ นับต้้งแต่ 1960 โดยความพิเศษคือสามารถลด
ความยากจนสัมบูรณ์ (Absolute Poverty)
 ได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่พึ่งนโยบายแก้จนจากภาครัฐเลย จนธนาคารโลก (World Bank) ยกให้เป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจน โดยอาศัยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
ส่วนใหญ่เกาหลีใต้มีแนวทางรับมือปัญหาความยากจนแบบรายสาขา (Sectoral)
จีน
นโยบายแก้จนแบบพุ่งเป้า
GDP จีนปี 2563 เติบโตกว่า 70 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2523
(สรุปอย่างคร่าว โดยยังไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อ)
หลังเข้าร่วมองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2001 ความยากจนของจีนก็ลดลงอย่างมาก โดยมีแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนโดยเฉพาะ เช่น สังคมมั่งคั่งปานกลาง (Moderately Prosperous Society หรือ Xiaokang Society) ในสมัยประธานาธิบดี เจียงเจ๋อหมิน และประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ที่เน้นการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม และสมัยประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ในปี 2014 มีเป้าหมายยกระดับชีวิตประชากรในแถบชนบท 70 ล้านคน ให้พ้นเส้นความยากจนภายใน 6 ปี
นโยบายนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิดแบบพุ่งเป้า (Targeting)
ไต้หวัน
ความพยายามของภาครัฐ ประชาสังคม และอื่น ๆ
GDP ไต้หวันปี 2563 เติบโตกว่า 70 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2523
(สรุปอย่างคร่าว โดยยังไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อ)
ไต้หวัน มีสัดส่วนคนยากจนต่ำ สืบเนื่องจากความพยายามของภาครัฐร่วมกับภาคประชาสังคม มูลนิธิ เอกชน และสถาบันทางการศึกษา ที่ให้ความสำคัญกับความยากจนและร่วมกันแก้ไขปัญหา อาทิ ย้อนไปในปี 1998 รัฐบาลได้ลงทุนเม็ดเงินกว่า 5.08 พันล้านเหรียญฯ ในโครงการสวัสดิการเพื่อสังคม
นโยบายนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิดแบบพุ่งเป้า (Targeting)
นโยบายแก้จนเกิดขึ้นภายใต้ 3 หลักคิด คือ แบบพุ่งเป้า ถ้วนหน้า และรายสาขา ซึ่งมองวิธีรับมือกับความยากจนที่ต่างกันออกไป

สำหรับประเทศไทย หลายนโยบายพัฒนามาจาก 3 หลักคิดนี้ และสะท้อนได้ว่าผู้นำแต่ละยุคสมัย มีมุมมองต่อการแก้ปัญหาความยากจนอย่างไร
แนวคิดใด รัฐบาลไหนเริ่ม?
พุ่งเป้า (Targeting)
undefined นโยบาย
ถ้วนหน้า (Universal)
undefined นโยบาย
รายสาขา (Sectoral)
undefined นโยบาย
บทสรุป
นโยบายแก้จนหลายนโยบายยังคงดำเนินต่อเนื่อง แต่หลายนโยบายยุติเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล โดยไม่มีการรายงานผลความสำเร็จว่าสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ตามเป้าหมายหรือไม่?

ทุกประเทศไม่สามารถทำให้คนจนหมดไปได้ แต่หลายประเทศสามารถลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ให้คนจนมีหลักประกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

แล้วคุณคิดว่าการแก้ปัญหาความยากจนในไทย ไปถึงไหนแล้ว?
แชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ มาร่วมสำรวจจักรวาลความยากจน


ทำความรู้จัก “รัฐสวัสดิการ”
ทางเลือกแก้ปัญหาความยากจน
อ้างอิง