ก่อการครู สู้เพื่อเด็ก

เปิด 8 คอร์สออนไลน์ ส่งต่อการเรียนรู้เเละการดูเเลให้แก่กันยุคโควิด-19 ระดมทุน ช่วยนักเรียนที่เดือดร้อน

“องค์ความรู้” ที่เล่าเรียนมาในวิชา “ความเป็นครู” ไม่กี่ปีมานี้ หลายอย่างใช้ไม่ได้แล้วกับการเรียนรู้ยุคนี้ เห็นชัดจากการระบาดโควิด-19 ที่บทบาท “ความเป็นครู” ของหลาย ๆ คน เปลี่ยนไปเป็นนักดูแลหัวใจ ให้คำปรึกษา ออกแบบการเรียนรู้รับสถานการณ์ที่อาจไม่ได้อยู่ในห้องเรียนอีกแล้ว

“ก่อการครู” เครือข่ายซึ่งรวมนักปฏิบัติการด้านการเรียนรู้ ที่เชื่อว่า “ครู” คือ หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการศึกษา ส่วนหนึ่งกำลังเผชิญความทุกข์เเละความหนักใจเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเฉพาะปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษาที่มีทั้งแบบชั่วคราว และมีแนวโน้มหลุดไปถาวร 

จากการรายงานสถานการณ์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้เด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษาไปแล้ว 6,000 คน โดยคาดว่าจะมีนักเรียน ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาภายในปี 2564 ถึง 65,000 คน สอดคล้องกับเสียงสะท้อนของครูที่กำลังพยายามยื้อลูกศิษย์เอาไว้

ความทุกข์ของเพื่อนครูในเครือข่าย ทำให้ “ก่อการครู” เปิดโครงการเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกิจภายใต้ชื่อ “โครงการก่อการครูสู้เพื่อเด็ก : ส่งต่อการเรียนรู้และการดูแลให้แก่กัน” ระดมทุนเพื่อการศึกษา ผ่านการเปิดตลาดวิชาออนไลน์เพื่อยกระดับการเรียนรู้ ให้สังคมในเดือน ก.ย. – ต.ค. นี้

The Active พาสำรวจวิชาเรียนก่อนคลิกใบสมัคร


1. ดูเเลใจในวิกฤต

วิชา “ดูแลใจในวิกฤต”
วันเสาร์ที่ 18 – วันอาทิตย์ที่ 19 ก.ย. 2564

ทำให้เรามีคุณภาพของการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจขั้นพื้นฐาน ก่อนที่คุณจะมอบความรักความกรุณาให้คนอื่น เราจะต้องกลับมารักตัวเอง กลับมาหาสมดุลภายใน ให้มีแกนใจที่มั่นคง


2. ถอดรหัสมายาคติเเละวาทกรรมการศึกษา

วิชา “ถอดรหัสมายาคติและวาทกรรมการศึกษา”
วันเสาร์ที่ 18 – วันอาทิตย์ที่ 19 ก.ย. 2564

ศึกษาความหมายของวาทกรรม และการนำแนวคิดวาทกรรมมาใช้ในการวิเคราะห์ประเด็นทางการศึกษาในสังคมไทย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของวาทกรรมที่มีต่อวิธีคิด วิถีปฏิบัติ ไปจนถึงการกำหนดนโยบายของรัฐ และการจัดการในระบบการศึกษา ฝึกทดลองวิเคราะห์ถอดรหัสวาทกรรมในประเด็นทางการศึกษาต่าง ๆ


3. ห้องเรียนสร้างสรรค์ผ่านจอ เชื่อมโลกจริง

วิชา “ห้องเรียนสร้างสรรค์ ผ่านจอ เชื่อมโลกจริง”
วันเสาร์ที่ 25 – วันอาทิตย์ที่ 26 ก.ย. 2564

เรียนแล้วได้อะไร : แนวทางการออกแบบชั้นเรียน “ผ่านจอเชื่อมสู่โลกจริง” เพื่อให้การเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียนแม้จะเจอกันผ่านจอ-ทางไกล

จุดเด่น :
1.พี่น้องครูจะได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง เช่น ร่วมเล่นในห้องเรียนสาธิต-ทดลองออกแบบและดำเนินกิจกรรมสาธิตด้วยตนเอง-และการนำไปขยายผลต่อหลังงาน 2 สัปดาห์
2. เรียนแล้วหมดแรง สนุกแบบเอาจริง มันส์แต่เหนื่อยตลอด 9.00-15.00 ถ้าไม่พร้อมยังไม่ต้องมา


4. ศิลปะภาวนา

วิชา “ศิลปะภาวนา”
วันพุธที่ 6 – วันพฤหัสบดีที่ 7 ต.ค. 2564

การทำงานศิลปะที่ไม่ได้เน้นผลงาน แต่พาการกระทำและหัวใจของเรากลับมาหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ศิลปะจะปลุกความงามและความหวังในหัวใจ ภาวนาจะสร้างคุณถาพใหม่ในจิตวิญญาณ


5. ตั้งแกนใหม่ให้ใจนิ่ง

วิชา “ตั้งแกนใหม่ให้ใจนิ่ง”
วันเสาร์ที่ 9 – วันอาทิตย์ที่ 10 ต.ค. 2564

เป้าหมาย ครูกลับมาเรียนรู้ วิธีจัดการจิตใจตนเอง ตั้งแกนใจ ให้สงบ นิ่ง ตั้งหลักด้วยกิจกรรม ปรับสมดุลชีวิต ปรับอารมณ์ ความคิด ตั้งเป้าหมาย คุณค่าในตนเอง และมีความยืดหยุ่น (resilience) ใช้แนวทางจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) มีความสุขกับชีวิต และการเป็นครูในชีวิตวิถีใหม่ กิจกรรมเป็นแบบ authentic online learning workshop นอกจากได้ประโยชน์กับตนเองแล้ว สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนได้


6. ครูหัวใจใหม่สื่อสารอย่างไรเข้าถึงใจศิษย์

วิชา “ครูหัวใจใหม่ : สื่อสารอย่างไรเข้าถึงใจศิษย์”
วันเสาร์ที่ 9 ต.ค. 2564

เรียนรู้เกี่ยวกับการเชื่อมโยงกับศิษย์ในฐานะครูผู้สอน
การสื่อสารเชิงบวก ที่เชื่อมความสัมพันธ์ศิษย์ครู
สั่ง ชม ตำหนิ อย่างไรให้เกิดการพัฒนาของสมองตามหลัก growth mindset


7. ครูนักเล่าเรื่อง

วิชา “ครูนักเล่าเรื่อง”
วันเสาร์ที่ 16 – วันอาทิตย์ที่ 17 ต.ค. 2564

ห้องเรียนนี้จะพัฒนาและดึงศักยภาพการเป็นนักเล่าเรื่องของครูทุกคนผ่านทักษะและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ในการพูด-คุย-เล่น ให้เป็นห้องเรียนมีชีวิตชีวา การฝึกฝนเสียง และสร้างสรรค์เสียงให้น่าฟังและทำได้หลายแบบ สนุกสนานกับการตีความและใช้เสียงไปกับคาร์แรกเตอร์และตัวบทที่แตกต่างกัน การฝึกด้นสด (improvisation) การพูดอย่างจริงใจและเข้าใจในเนื้อหา การใช้เรื่องเล่าเพื่อเอาห้องเรียนให้อยู่หมัด และการวิเคราะห์เขาวิเคราะห์เราเพื่อมัดใจผู้เรียน


8. ทักษะการโค้ชขั้นพื้นฐาน

วิชา “ทักษะการโค้ชขั้นพื้นฐาน”
วันเสาร์ที่ 23 – วันอาทิตย์ที่ 24 ต.ค. 2564

ผู้เรียนจะได้รับการเรียนรู้และการฝึกฝนทักษะการโค้ชเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการปฏิบัติ และกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การตั้งคำถามทรงพลัง การฟังสามระดับ การปรับใช้ GROW Model ในฐานะแผนที่ของการโค้ช ชุดทักษะพื้นฐานของการโค้ช 14 ทักษะ เรียนแล้วสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำงาน การเสริมพลังและพัฒนาศักยภาพให้แก่ตนเองและผู้อื่น

สำหรับผู้สนใจคลิกใบสมัครที่ https://bit.ly/3khx2e2 ค่าเรียนได้ถูกลดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ จากราคาเต็ม 3,500 บาท เหลือ 1,999 บาท สำหรับคนทำงาน NGO อาสาสมัคร และคุณครูในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลดเหลือ 999 บาท เรียนจบมีประกาศนียบัตรให้ผู้เข้าร่วม รายได้ทั้งหมด จะถูกนำไปช่วยเหลือนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เฟซบุ๊กเพจ ก่อการครู หรือผู้ประสานงานเฉพาะกิจ นายกฤษฎากรณ์ แก้วสำราญ (โดนัท) โทรศัพท์ 087-772-2991 อีเมล project.bbl@lsed.tu.ac.th , นางสาวทุเรียน ชื่นแสงจันทร์ โทรศัพท์ 096-241-6239

Author

Alternative Text
AUTHOR

ศศิธร สุขบท

มนุษย์ช่างฝัน ชอบสร้างสรรค์ข่าวเชิงบวก มีพรรคพวกชื่อจินตนาการ แสนสุขกับงานขับเคลื่อนสังคม